คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัช ชลวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษฐานฉ้อโกงจัดหางาน แม้ไม่เข้าฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าชดใช้
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดอื่นฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้แม้จำเลยมิได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,80
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่จำเป็นต้องอาศัยความผิดฐานอื่น และศาลมีอำนาจสั่งคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด แม้จำเลยมิได้กระทำผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง , 82 ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้สั่งในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนโดยมิได้แก้บทลงโทษและกำหนดโทษ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้คืนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อของกลางแก่เจ้าของก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดสัญญา: ผู้ให้เช่าซื้อต้องส่งมอบทะเบียนรถยนต์ และผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเป็นผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ย่อมมีหน้าที่ต้องส่งมอบสำเนาทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ผู้เช่าซื้อ เพราะสำเนาทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์เป็นสาระสำคัญในการใช้รถ จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อโดยรถยนต์ไม่มีสภาพเหมาะสมจะใช้งานได้ตามประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาเช่าซื้อ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 ประกอบมาตรา 549 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างเหตุอันเกิดจากบริษัท น. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ยังไม่โอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยไม่ได้ เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและไม่ชำระค่าเช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่สามารถจัดการแก้ไขให้รถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่ในสภาพใช้งานได้ตามประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ถือได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องส่งมอบรถยนต์คืนจำเลยก่อน เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 นั้นเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาในกรณีที่ไม่มีการผิดสัญญา ฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาเลิกสัญญาโดยชอบแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โดยโจทก์ต้องคืนรถยนต์พิพาทให้จำเลยและต้องใช้เงินตามค่าแห่งการใช้สอยรถยนต์พิพาทให้จำเลยด้วย ส่วนจำเลยก็ต้องคืนค่าเช่าซื้อแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาจัดหางานให้คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดทั้งสองฐานจึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดสองฐานนี้อีกไม่ได้ และเมื่อฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การตัดสิทธิทายาท, และผลกระทบของพยานในพินัยกรรมต่อผู้รับผลประโยชน์
พินัยกรรมใช้กระดาษที่มีตราครุฑและมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ดีดเป็นส่วนใหญ่ กรอกข้อความด้วยลายมือเขียนเฉพาะบ้านเลขที่ วันเดือนปี อายุของเจ้ามรดกทั้งสอง และรายชื่อผู้รับพินัยกรรม มีลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดกทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าพินัยกรรมได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีขณะที่ทำ ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน และพยานลงลายมือชื่อไว้ครบถ้วนจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656
ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ระบุชื่อทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้ว ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การที่ ท. คู่สมรสของ ม. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม เป็นเหตุให้ ม. ไม่อาจเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ เพราะข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของ ม.เป็นโมฆะ แต่ไม่มีกฎหมายห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำเบิกความของ ท. และ น. เป็นพยานแต่อย่างใด และข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ รถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ ต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ การที่ ส. ขับรถยนต์บรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์บรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ ความเสียหายที่เกิดเพราะรถยนต์บรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกแก๊สคันเกิดเหตุมาใช้ หากจะถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่นำรถยนต์บรรทุกแก๊สคันดังกล่าวออกมาใช้งานจนกระทั่งถึงวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เสียหาย แม้จะเป็นการผิดกฎหมายในส่วนของการนำรถยนต์บรรทุกแก๊สมาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนา, ซ่อนเร้นศพ, และการลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
ความผิดฐานซ่อนเร้นศพตาม ป.อ. มาตรา 199 เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) และมาตรา 339 วรรคท้าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า การกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 เป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) และมาตรา 339 วรรคท้าย จึงไม่ถูกต้อง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) และมาตรา 339 วรรคท้าย เป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) ระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียวจึงเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดตามมาตรา 339 วรรคท้าย ระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต จึงต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า ความผิดทั้งสองบท มีระวางโทษสูงสุดเท่ากัน จึงให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ เป็นคนละกรรมกัน แม้ศาลยกฟ้องฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ หลุดไปด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งยังได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้ได้เงินหรือทรัพย์สินจากคนหางานนั้น เป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน: การแยกพิจารณาความผิดอันยอมความได้และไม่ยอมความได้
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นั้น ไม่ทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วยเพราะความผิดตามมาตรา 91 ตรี มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการที่ไปหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศซึ่งเป็นเท็จจนเป็นเหตุให้ได้เงินและทรัพย์สินจากคนหางาน จึงเป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
of 14