พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนที่ดินถูกจำกัดจากสายส่งไฟฟ้า และอำนาจจำเลยในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยกำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินพิพาท ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถูกเขตเดินสายไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็น ส.เจ้าของที่ดินเดิมในขณะที่จำเลยดำเนินการสำรวจ หรือจะเป็นโจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่รวมถึงการถูกตัดรอนสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าวด้วย และเมื่อโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดให้ ไม่ว่าโจทก์จะรับหรือไม่รับเงินที่จำเลยฝากไว้กับธนาคารออมสิน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารออมสินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 30 ทวิ ประกอบมาตรา 30 วรรคสาม ทั้งกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติขั้นตอนให้โจทก์มีหน้าที่ต้องโต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก่อนฟ้องคดีในกรณีที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดต่อคณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มได้ ประกอบกับจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นว่ามากเกินไปหรือไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมแก่สังคมอย่างไร จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8357/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม/ผู้จัดการมรดก และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นที่คู่ความยกขึ้น
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของโจทก์ร่วมแล้วทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมและในฐานะมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยการผูกคอตาย ไม่ได้ตายเพราะถูกจำเลยทั้งสองกับพวกทำร้ายตามฟ้อง ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ผู้บุพการีจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ในการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดฐานบุกรุกที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี่โทษหนักสุด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6505/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีออกโฉนดที่ดิน: การแบ่งอำนาจระหว่างเจ้าพนักงานที่ดินและผู้ว่าราชการจังหวัดตาม ป.ที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นจำเลยที่ 2 กับฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นจำเลยที่ 4 และฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยที่ 5 ให้ร่วมกันออกโฉนดที่ดินเนื้อที่ 62 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา แต่การออกโฉนดที่ดินนั้นหากที่ดินมีเนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หากเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ จะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด (จำเลยที่ 2) และผู้ว่าราชการจังหวัด (จำเลยที่ 4) ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้รับผิดในฐานะส่วนตัว สำหรับจำเลยที่ 5 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นการกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และที่ 4 จำเลยที่ 5 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีจำเลยไม่สามารถวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล เนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตอุทธรณ์อย่างคนอนาถาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย และศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมออกไปหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงสุดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินของศาลอุทธรณ์ต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6096/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและการเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารของผู้ให้กู้ เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ฯ ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่เรียกจากลูกค้า และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและจะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศไม่ได้นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ฯ เท่านั้น ไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฯ ประกาศเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จึงเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อกับธนาคารเท่านั้น ไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นกรณีธนาคารพาณิชย์ที่เมื่อประกาศแล้วมีผลเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายและตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในระยะเริ่มแรกเพียงอัตราร้อยละ 14 ต่อปี และปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งโดยคิดอัตราต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา และเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ได้กลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป การที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงิน โดยมิได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ก่อน จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
สัญญากู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีที่ผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิด
สัญญากู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีที่ผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมดำเนินคดีแทนผู้ตาย, อายุความ และความชอบด้วยกฎหมายในการอนุญาตให้ดำเนินคดี
โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบิดาเด็กหญิง ร. มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ก็โดยฐานะเป็นผู้จัดการแทนเด็กหญิง ร. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาล โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงแก่ความตาย ส. ภริยาโจทก์ร่วมที่ 2 หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่ 2 ตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กหญิง ร. ผู้ตายเท่านั้น โจทก์ร่วมที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยตรง ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. เข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ทนายความกระทำโดยไม่ปรึกษาจำเลย ก็ไม่เป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ หากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใดก็ชอบที่ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของจำเลยตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์และการชำระหนี้โดยการส่งมอบสินค้า
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยทำกันก่อนมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 456 ฉบับใหม่ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 เดิม ก่อนมีการแก้ไข เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าอะไหล่รถยนต์ให้แก่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าอะไหล่รถยนต์แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม (เดิม)
จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว แม้ไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่ระยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว แม้ไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่ระยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้คู่ความก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด สำหรับคดีนี้ปรากฏว่า เมื่อผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า "สั่งในอุทธรณ์แล้ว" และมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์คำสั่งและเห็นว่ากรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาพิจารณาสั่ง" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้เพิกถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก เพราะเห็นว่าผู้คัดค้านจะต้องยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่แบบคดีมีข้อพิพาทก็หาเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใดไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านให้ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความ หรือเอกสารอื่นๆ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ อย่างเคร่งครัด
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รับอุทธรณ์คำสั่งและเห็นว่ากรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาพิจารณาคำสั่ง" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านจะต้องยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่แบบคดีมีข้อพิพาทก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวได้