พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ให้ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากคดีนี้ได้พ้นระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีประมาท และการบวกโทษคดีที่รอการลงโทษ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์บวกโทษคดีก่อน
แม้คดีนี้ศาลจะลงโทษจำคุกจำเลย แต่เป็นความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่จะนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมิได้ตรวจรถตามระเบียบก่อนจดทะเบียน
ในคำฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยโดยมิได้ระบุว่าฟ้องนายทะเบียนขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี แต่ฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มีหน้าที่ดำเนินการรับจดทะเบียน โอนทางทะเบียน และจดแจ้งการโอนทางทะเบียนลงในใบคู่มือจดทะเบียน ทั้งโจทก์ยังมีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งยกเลิกการจดแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ของจำเลย และให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ กับให้จำเลยคืนใบคู่มือจดทะเบียนแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องตัวเจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งได้โดยไม่จำต้องฟ้องหน่วยงานต้นสังกัด
ในวันที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาท โจทก์มิได้นำรถยนต์พิพาทไปด้วย จึงไม่มีการตรวจรถตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2531 การโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อของโจทก์จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบ อันเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 49 และ 50
ในวันที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาท โจทก์มิได้นำรถยนต์พิพาทไปด้วย จึงไม่มีการตรวจรถตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2531 การโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อของโจทก์จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบ อันเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 49 และ 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม กรณีใบรับรองตรวจสภาพรถที่ไม่ใช่เอกสารราชการตามกฎหมาย
ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกมอบให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อตรวจสภาพรถยนต์และออกใบรับรองเพื่อเป็นหลักฐานว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว พนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ออกใบรับรองมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ใบรับรองที่ออกโดยพนักงานของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) การที่จำเลยทำใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ปลอมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งเพื่อใช้ประกอบการเสียภาษีประจำปี จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 มิใช่มาตรา 265 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้, การปรับดอกเบี้ยหลังผิดนัด, และเบี้ยปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย
เบี้ยปรับคือสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แต่ตามหนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยทั้งสองยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราใหม่ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยโจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้า นอกจากนั้นจำเลยทั้งสองยังได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินมีใจความว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญากู้เงินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี โดยให้ถือบันทึกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าในระยะเวลา 3 ปีแรก นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินและเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลา 3 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยโจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้า ซึ่งเมื่อพิจารณาบัญชีเงินกู้ จะเห็นว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี โจทก์ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี และ 6 ต่อปี ตามลำดับ โดยมิได้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ถือเป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในระยะเริ่มแรกก็ดี และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี และ 6 ต่อปี หลังจากล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ และเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา โจทก์จึงทำการปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมาดังกล่าว โจทก์เรียกจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นอัตราตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญากู้เงินแต่อย่างใด อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองตามบัญชีเงินกู้ จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และการประเมินค่าขาดไร้อุปการะ
ในวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ มาตรา 25 บัญญัติว่า กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม และมาตรา 26 บัญญัติว่า กระทรวงศึกษาธิการมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (11) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้ (3) กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น... วรรคสอง บัญญัติว่า ให้...ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น... วรรคสอง บัญญัติว่า ให้...ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (3) มีฐานะเป็นกรม และหมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือทบวง ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น จากบทกฎหมายที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นส่วนราชการซึ่งขึ้นตรงต่อจำเลย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของจำเลย ดังนั้น การกระทำของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก็เสมือนเป็นตัวแทนของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเรียกสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมาเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: การกระทำของส่วนราชการย่อมเป็นตัวแทนของกระทรวง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นนิติบุคคลเป็นส่วนราชการซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการจำเลยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของจำเลย ดังนั้น การกระทำของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก็เสมือนเป็นตัวแทนของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดในการกระทำละเมิดของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ โดยไม่จำต้องเรียกสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมาเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับบำเหน็จตกทอด: ต้องได้รับการอุปการะตลอดมา และความตายทำให้เดือดร้อนจริง จึงมีสิทธิ
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4 ที่กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมา โดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" มีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้ตายตลอดเวลา และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดามารดาตั้งแต่เกิดตลอดมาโดยอาศัยรวมอยู่กับพี่คนอื่น ๆ หลังจากบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ก็คงอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว แม้ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลทำให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดามารดาตั้งแต่เกิดตลอดมาโดยอาศัยรวมอยู่กับพี่คนอื่น ๆ หลังจากบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ก็คงอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว แม้ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลทำให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับบำเหน็จตกทอดต้องปรากฏการช่วยเหลือเกื้อกูลและเดือดร้อนจากการขาดอุปการะ
ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 4 ได้กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะให้หมายความว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมาโดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่เป็นหลักดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตลอดมาคือ ร. แม้ต่อมาศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ร. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ขาดความช่วยเหลือในส่วนของ พ. ไปบ้างเท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ พ. ผู้ตาย ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับบัตรเครดิต: การชำระหนี้บางส่วนไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกเก็บเบี้ยปรับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้สงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับเฉพาะกรณีลูกหนี้ยอมชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้วเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้วเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงกรณีที่ลูกหนี้ขอชำระหนี้บางส่วน การที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามเช็คมิใช่เป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับในเวลาที่รับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระ โจทก์ก็ไม่หมดสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองตามเงื่อนไขที่ระบุในใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกบัตรเครดิต โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเบี้ยปรับดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้