คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย พรหมศร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6787/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังชี้สองสถาน และสิทธิในการฟ้องใหม่ โดยไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ห้ามโจทก์ถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถาน โดยบังคับศาลเพียงว่า ห้ามไม่ให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถานและจำเลยทั้งสองคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้และ ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ศาลจึงไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างไปแก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาเป็นคดีใหม่เป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องได้ด้วย ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนแต่อย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำโดยไม่สุจริตถือเป็นการละเมิด ผู้ฟ้องต้องชดใช้ค่าเสียหายค่าทนายความ
ในคดีก่อนที่จำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดิน ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง แต่จำเลยทั้งสามกลับนำคดีมาฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน และแบ่งแยกโฉนดที่ดินในส่วนที่จำเลยทั้งสามอ้างว่าเป็นของตนอีก ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสามไม่มีสิทธินำประเด็นที่ถึงที่สุดดังกล่าวมาฟ้องโจทก์แล้ว การที่จำเลยทั้งสามยังมาฟ้องโจทก์ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันถึงที่สุดไปแล้วนั้นมาฟ้องโจทก์อีกอันเป็นการฟ้องซ้ำ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และค่าว่าจ้างทนายความเข้าต่อสู้คดีกับจำเลยทั้งสามในเหตุที่จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ไม่ให้เสียไป จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสามกระทำการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำโดยรู้เห็นเป็นใจและจงใจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการกระทำละเมิด
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธินำประเด็นที่ถึงที่สุดในคดีแรกมาฟ้องโจทก์ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วยังนำคดีมาฟ้องโจทก์ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีก เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายกระทำละเมิดต่อโจทก์และค่าว่าจ้างทนายความเข้าต่อสู้คดีกับจำเลยในเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ไม่ให้เสียไปจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องเวลากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยให้การรับสารภาพไม่ชัดเจน ศาลต้องใช้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาจำเลยว่า จำเลยปลอมเอกสารและนำ เอกสารปลอมไปลักทรัพย์ของนายจ้าง โดยเหตุเกิดเมื่อระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงอันเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ยืนยันการกระทำความผิดของจำเลยว่าเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือเกิดในเวลากลางคืน อันเป็นเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้จำเลยต้องได้รับโทษหนักขึ้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงก็คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยลักทรัพย์นายจ้างตามฟ้องเท่านั้น แต่ไม่อาจจะรับฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลากลางวันหรือกลางคืน ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การรับสารภาพในส่วนนี้โดยชัดแจ้ง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้ คงฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางวันเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดียาเสพติด จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด แม้จำเลยรับสารภาพ
ความใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่พิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ในคดีที่มีอัตราโทษสูงนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องฟังพยานโจทก์ให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงเสียก่อน โจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบยืนยันว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นจริง มิใช่เป็นเพียงการรับสมอ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดนั้นแทนบุคคลอื่นการนำพยานบุคคลซึ่งรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยหรือพยานบุคคลที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอันจะแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้หรือเสแสร้งเพื่อให้ผู้กระทำความผิดอื่นพ้นผิด คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างส่งเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.11 ต่อศาล แต่พยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อโจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเลย ลำพังเพียงพยานเอกสารดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง แต่ได้ความตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานอีก 2 ปากแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก ดังกล่าว โดยเห็นว่าจำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก เป็นผู้จับกุม มีข้อความตามเอกสารหมาย จ.9 ถึง จ.11 แล้ว การที่ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ จึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ เมื่อพยานโจทก์ปากผู้จับกุมเป็นพยานที่สำคัญและจำเป็นเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานโจทก์ไปจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4591/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของกองปราบปรามและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 ประกอบประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2515 และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 ซึ่งใช้บังคับขณะที่มีการสอบสวนคดีนี้ ได้กำหนดอำนาจของกองปราบปรามไว้ว่า "กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร" พ. เป็นพนักงานสอบสวนประจำแผนก 4 กองกำกับการ 2 กองปราบปราม ย่อมมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดคดีอาญาทั้งปวงได้ทั่วราชอาณาจักร ทั้งปรากฏว่า พ. ยังได้ขออนุญาตดำเนินคดีนี้ต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว เมื่อ พ. แจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 177, 180, 267 และ 268 แล้วทำการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าว การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดและการบังคับคดีตามคำพิพากษา: การวัดแนวเขตทางพิพาท
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินกับจำเลยซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกัน จำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหายผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดในคดีบังคับคดี และการบังคับคดีตามแนวเขตที่ดินที่ระบุในคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกันจำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหาย ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษทางอาญา กรณีผู้ต้องโทษเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดมาก่อน
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ แม้พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยจะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้ว แต่ปัญหาว่าเมื่อมีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่จะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงผลของคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าพลาด การลงโทษฐานพยายามฆ่า และการแก้ไขบทลงโทษที่ศาลอุทธรณ์
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่หน้าร้านอาหารที่เกิดเหตุและใช้อาวุธปืนยิงใส่ผู้เสียหายที่ 2 ที่อยู่บริเวณหน้าร้าน กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งลักษณะบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกยิงบริเวณหัวไหล่ บ่งชี้ว่าเป็นการยิงไปยังส่วนบนของร่างกายซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ อันถือเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า เมื่อการกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 และกระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 3 ที่บริเวณไหปลาร้า ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 3 เช่นเดียวกันตาม ป.อ มาตรา 60 แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 3 ด้วย
of 15