พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
เมื่อปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งทนายความให้ตลอดมาจนกระทั่งสืบพยานจำเลยเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้แต่งตั้งทนายความให้จำเลย ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบกระบวนพิจารณานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ย
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ทั้งสองไม่ไปรับเงินดังกล่าว ฝ่ายจำเลยจึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปฝากธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 10 มิถุนาน 2540 แต่โจทก์ทั้งสองไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์ทั้งสองโดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 10 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 11 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2540 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2540 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินในวโรกาส 80 พรรษาฯ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ต้องโทษที่พ้นโทษก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ย่อมได้รับประโยชน์ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง และเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 คดีถึงที่สุด ต่อมามีการตรา พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลชั้นต้นงดเพิ่มโทษ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากคดีถึงที่สุดแล้วจะไม่ได้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 และในกรณีนี้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มต้นเมื่อพ้น 120 วันจากวันที่ทำสัญญาซื้อขาย
หลังจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ทั้งสองแล้ว จึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองตกลงยอมรับเงินดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลงยินยอมระหว่างผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - หนองคาย (เขตแดน) ตอนเลี่ยงเมืองนครราชสีมาฯ ฉบับลงวันที่ 1 เมษายน 2540 อันถือว่าวันที่ทำสัญญาซื้อขายคือวันที่ 1 เมษายน 2540 ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับจากวันที่ต้องวางเงิน ไม่ใช่เมื่อมีการจ่ายจริง
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม เมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2540 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 10 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 11 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวาเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินนั้นตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2540 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เริ่มนับเมื่อองค์กรทราบการละเมิดและผู้กระทำผิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มีผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์เป็นเจ้าของสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าที่ถูกจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์เกี่ยวรั้งและเฉี่ยวชนเสียหาย เมื่อ ท. นิติกร กองคดี ฝ่ายกฎหมายของโจทก์เสนอขออนุมัติดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยทั้งสาม และผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการแทนผู้ว่าการอนุมัติให้ดำเนินการตามเสนอในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 อันเป็นวันฟ้องยังไม่พ้น 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 การที่นายตรวจเวรของโจทก์ ได้ร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจในวันเกิดเหตุ และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ตรวจสอบทราบว่ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเป็นของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ต่อมาผู้อำนวยการกองคดีของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแล้วจำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2543 เพื่อเจรจาค่าเสียหายนั้นก็เป็นเพียงการปฏิบัติไปตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปตามลำดับขั้นตอน ก่อนเสนอเรื่องไปถึงผู้ว่าการหรือผู้ปฏิบัติการแทนในฐานะผู้แทนของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9883/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 11 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 11 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 12 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครอง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีของโจทก์อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมหรือไม่ โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น จำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดฐานนี้แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอีกฐานหนึ่งด้วยเพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นที่มีใบอนุญาตแล้ว และความผิดฐานพาอาวุธปืน การจำกัดความรับผิดและโทษที่เหมาะสม
จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดฐานนี้แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอีกฐานหนึ่งด้วยเพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างกันซึ่งต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้และกระสุนปืน 3 นัด อันเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาจากฎีกาของจำเลยประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้ความจากการไต่สวนแล้วว่า อาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางให้แก่มารดาจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงในชั้นนี้จึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนเช่นนี้แล้วจึงฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยต่อไปอีกไม่ได้เพราะเห็นได้ชัดว่าคำให้การสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยได้กระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้และกระสุนปืน 3 นัด อันเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาจากฎีกาของจำเลยประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้ความจากการไต่สวนแล้วว่า อาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางให้แก่มารดาจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงในชั้นนี้จึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนเช่นนี้แล้วจึงฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยต่อไปอีกไม่ได้เพราะเห็นได้ชัดว่าคำให้การสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยได้กระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225