คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย พรหมศร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711-6712/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในร้าน
จำเลยทั้งสองทำร้ายผู้เสียหายในขณะนั่งอยู่ในร้านที่เกิดเหตุแล้วตามมาทำร้ายผู้เสียหายที่หน้าร้านโดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งสองมาก่อน ทั้งจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายพูดกับจำเลยที่ 1 ในทำนองว่า อย่ามองหน้าเดี๋ยวจะมีปัญหาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในร้านที่เกิดเหตุ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองเข้าทำร้ายผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการตระเตรียมการมาก่อน แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้กระทำต่อผู้เสียหายในทันทีทันใดแต่เมื่อผู้เสียหายเผลอ จำเลยที่ 1 จึงเข้าเตะที่ต้นคอด้านหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายอันเป็นการกระทำหลังจากผู้เสียหายต่อว่าจำเลยที่ 1 ในเวลาต่อเนื่องกันยังไม่ขาดตอน ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษความผิดต่อเด็ก: พิจารณาบทหนักสุดและผลการยอมความของผู้เสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ทั้งสามฐานความผิดเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และการฎีกาในคดีอาญา: การจำกัดสิทธิในการโต้แย้งข้อเท็จจริงเดิม และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยหลังลดโทษแล้ว 6 เดือน เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์มาทุกข้อและศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และปัญหาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการชอบหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินค่าเช่าซื้อรถแท็กซี่: ผู้เก็บเงินมีหน้าที่ส่งมอบเงินให้เจ้าของกิจการ แม้เงินนั้นไม่ใช่ของตัวเอง
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถแท็กซี่ มีเจ้าของรถแท็กซี่นำรถมาร่วมกิจการกับโจทก์โดยใช้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถและมอบให้โจทก์นำรถแท็กซี่ออกให้เช่าซื้อ แต่สัญญาเช่าซื้อทำกันระหว่างเจ้าของรถแท็กซี่กับผู้เช่าซื้อ กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายวัน ในการนี้ โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าเช่าซื้อแทน จำเลยที่ 1 เก็บค่าเช่าซื้อไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ เบียดบังเอาเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แทนโจทก์ไปโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอก และแม้เงินดังกล่าวจะมิใช่ของโจทก์ แต่โจทก์ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของรถหลังจากหักค่าใช้จ่ายของโจทก์แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะและคุณสมบัติผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก แม้ผู้ร้องจะไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ร้องนำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกย่อมทำให้เป็นที่หวาดระแวงแก่ผู้คัดค้านและทายาทอื่นในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเกินคำขอฟ้อง: ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษนอกฟ้องโจทก์เป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน และฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธฯ มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และตาม ป.อ. มาตรา 80, 288,371 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 ก็มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องอันฟ้องอันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 376 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก อันเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาที่ดินเพื่อจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามแนวสายส่งไฟฟ้า และดอกเบี้ยค่าทดแทน
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" จึงเป็นกรณีที่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำกรณีผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาปรับใช้บังคับมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินในวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 แต่โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามวันที่จำเลยที่ 1 กำหนด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินดังกล่าวไปวางหรือฝากไว้โดยพลัน ถือได้ว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ต้องวางหรือฝากเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2539 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การแสดงเจตนาโดยปริยายจากแผนผังที่ดินและการรักษาสาธารณูปโภค
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกแบ่งแยกและออกโฉนดที่ดินมาแต่แรก อันเป็นสิทธิของผู้จัดสรรที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ แต่ในเมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้แสดงออกโดยปริยายตามแผนผังที่ดินในแผ่นพับโฆษณาแล้วว่าที่ดินทุกแปลงที่จัดสรรรวมทั้งที่ดินพิพาทมีถนนผ่านหน้าที่ดิน อันเป็นสาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรโดยผลของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โดยหาจำต้องจดทะเบียนไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามรับโอนที่ดินพิพาทต่อมาภาระจำยอมในที่ดินพิพาทยังคงอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามที่จะต้องรักษาสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมให้คงสภาพตลอดไปการที่มีการสร้างโรงรถในที่ดินพิพาทไม่ว่าจำเลยทั้งสามจะเป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด และการฟ้องขับไล่กรณีครบกำหนดสัญญาเช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารจากโจทก์โดยสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ผู้เช่ายอมให้โจทก์เป็นคณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาดและผู้เช่าต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็็นกรณีที่ระบุถึงปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเหตุครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า มิใช่เป็นกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
เมื่อสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้สัญญาเช่าเป็นอันระงับลงโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองแผงที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานกระทำละเมิด แต่ตามสัญญาเช่าไม่มีข้อความใดกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่าในกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่า จึงไม่กำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า แต่ค่าเสียหายในมูลละเมิดดังกล่าวที่เกิดก่อนวันฟ้องคดีย้อนขึ้นไปเกิน 1 ปี เป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
of 15