คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย พรหมศร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10766/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทกฎหมายและอำนาจศาลในการลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไข การรับสารภาพและเหตุบรรเทาโทษ
พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ซึ่งมาตรา 61 เดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นบทความผิดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษมาตรา 73 (เดิม) ได้แก้ไขและมีบทบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 73/2 ซึ่งมีโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 (เดิม) การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 โดยมิได้ขอมาตรา 73/2 (ที่แก้ไขใหม่) มาด้วย เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไป ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่เกินคำขอ
คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องมิใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังยุติได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเป็นอย่างไรและจำเลยจำนนต่อพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรือไม่ คำรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10765/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยตามกฎหมายทางหลวงที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์มิได้อ้างบทบัญญัติใหม่ แต่ศาลมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างบทมาตราซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว แต่มิได้อ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ยังคงถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9620/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจรต้องพิสูจน์เจตนา 'รู้' ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด การครอบครองทรัพย์เพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐานรับของโจรนั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ได้รับทรัพย์นั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากกระทำผิด ไม่ใช่ว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 ต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 รับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานรับของโจรนั้น จำเลยที่ 2 กระทำการใดหรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่เป็นการรู้เห็นเป็นใจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 แม้ผู้เสียหายพยานโจทก์เบิกความยืนยันเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ภายหลังจากที่รถจักรยานยนต์ถูกคนร้ายลักไป ผู้เสียหายเห็นจำเลยที่ 2 ครอบครองขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ ก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเท่าที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์ของกลางร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9057/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทกฎหมายอาญาเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกเกินกำหนด และอำนาจศาลในการลงโทษตามกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติทางหลวงฉบับเดิมและฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ยังบัญญัติเป็นบทความผิดห้ามการใช้ยานพาหนะบนทางหลวง โดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าผู้อำนวยการทางหลวงได้ประกาศกำหนดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 บัญญัติเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 30 เป็นมาตรา 73/2 ดังนั้น การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษหนักกว่ากฎหมายเดิม การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม โดยมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แล้ว แม้โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 73/2 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี และมาตรา 221 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8650/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักฐานการซื้อขายที่ไม่น่าเชื่อถือ และการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรม
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะกำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจ่ายค่าทดแทนเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ว่า "...ต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และความในวรรคสองยังกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนด้วยว่า "การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพ และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน" แต่การได้มาโดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์รวมทั้งความเสียหายของผู้ถูกเวนคืนนั้น จะต้องเป็นการได้มาโดยการซื้อขายกันจริงๆ ด้วยความสุจริต และผู้ถูกเวนคืนได้รับความเสียหายอย่างแท้จริงด้วย จึงจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาทและผู้รับพินัยกรรม ไม่เข้าข่ายอายุความมรดก
ก่อน ช. กับ ห. จะมาอยู่กินกันฉันสามีภริยาต่างมีบุตรมาก่อนแล้ว โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งของ ช. จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ส่วนจำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ห. ซึ่งยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ให้แก่จำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย จึงมิใช่คดีมรดก จะนำอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้หาได้ไม่
ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย หลังจาก ห. ถึงแก่กรรมจำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ตามพินัยกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสิทธิในที่ดินระหว่างทายาทและผู้รับพินัยกรรม ไม่ถือเป็นคดีมรดก
โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งของ ช. จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ส่วนจำเลยเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ม. ซึ่งยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยตามพินัยกรรม การที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย จึงมิใช่คดีมรดก ไม่อาจนำอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้ได้
ม. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ให้จำเลยหลังจาก ม. ถึงแก่กรรม จำเลยยังไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดก อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง และผลของการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ในครั้งแรกที่มีการรังวัดการเวนคืนที่ดินและคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตารางละ 35,000 บาท โจทก์พอใจและไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาล ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้ต้องเวนคืนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้น เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินในเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์จะอ้างความเสียหายจากเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่มาเป็นเหตุอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินจากการเวนคืนโดยการดำเนินการของจำเลยในครั้งแรกที่โจทก์พอใจไปแล้วด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การโอนสิทธิ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง และความรับผิดของผู้สลักหลัง
เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918, 989 โจทก์ผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในมูลหนี้ตามตั๋วเงินคือเช็คไม่อาจต่อสู้ผู้ทรงคือโจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ จ. ผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้ จ. โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการเล่นแชร์ระหว่างกัน คำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับ จ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ฉะนั้นจำเลยจะยกความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานซัดทอดร่วมกับคำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์เครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่บนรถไถนาอันเป็นเครื่องกลของผู้เสียหายที่มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมทำนาในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) (12) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) (10) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 212 ประกอบมาตรา 225
of 15