พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กโดยใช้อาวุธ: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษฐานใช้อาวุธ
ก่อนจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยนำอาวุธมีดที่ติดตัวออกมาวางบริเวณเสื่อที่จัดเตรียมไว้แล้วจึงกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมิได้ยืนยันว่าจำเลยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเรา เมื่อจำเลยสำเร็จความใคร่แล้ว จำเลยนำอาวุธมีดมาถือไว้และข่มขู่ผู้เสียหายมิให้บอกแก่ผู้อื่นว่าถูกจำเลยกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการใช้อาวุธมีดหลังจากที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยยังไม่อาจรับฟังให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม คงรับฟังให้เป็นยุติได้แต่เพียงว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากผู้เยาว์และพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้กระทำในคราวเดียวกัน
ความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ ถือได้ว่ามีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนที่ดินถูกจำกัดจากสายส่งไฟฟ้า และอำนาจจำเลยในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยกำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินพิพาท ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถูกเขตเดินสายไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็น ส.เจ้าของที่ดินเดิมในขณะที่จำเลยดำเนินการสำรวจ หรือจะเป็นโจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่รวมถึงการถูกตัดรอนสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าวด้วย และเมื่อโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดให้ ไม่ว่าโจทก์จะรับหรือไม่รับเงินที่จำเลยฝากไว้กับธนาคารออมสิน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารออมสินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 30 ทวิ ประกอบมาตรา 30 วรรคสาม ทั้งกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติขั้นตอนให้โจทก์มีหน้าที่ต้องโต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก่อนฟ้องคดีในกรณีที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดต่อคณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มได้ ประกอบกับจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นว่ามากเกินไปหรือไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมแก่สังคมอย่างไร จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดิน: คำนวณตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงตามธนาคารออมสิน ไม่ใช้อัตราคงที่ 12 เดือน
ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า จะต้องคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. ที่ธนาคาร อ. มีการประกาศเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงทุกครั้งไป หาใช่ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันเริ่มต้นคิดคำนวณเป็นหลักตลอดระยะเวลา 12 เดือน เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบในส่วนต่างของดอกเบี้ยอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ควรกำหนดตามหลักเกณฑ์เดียวกับ พ.ร.บ.เวนคืนฯ และดอกเบี้ยนับจากวันที่วางเงิน
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ (มาตรา 30 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินโดยมิได้บัญญัติรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ดังนั้น การที่จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ก็ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงิน วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2542 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุให้ไปรับวันใด แต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 วันดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 เป็นต้นไป
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงิน วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2542 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุให้ไปรับวันใด แต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 วันดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การพิจารณาคดีอาญา และการยกฟ้องในบางข้อหา
ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่าข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้ว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลยและตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้ว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหารับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหารับของโจรเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีอาญา และการพิจารณาโทษกรรมต่างกัน ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นความชัดเจนคำรับสารภาพและโทษกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และฐานรับของโจรซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่และการลงโทษจำเลยในความผิดทางหลวง การอ้างบทบัญญัติเดิมผิดพลาด
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61, 73 แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 25 และมาตรา 29 โดยมาตรา 61 ทั้ง พ.ร.บ.ทางหลวงฉบับเดิมและฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ยังบัญญัติเป็นบทความผิดห้ามการใช้ยานพาหนะบนทางหลวง โดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าผู้อำนวยการทางหลวงได้ประกาศกำหนดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 บัญญัติเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 30 เป็นมาตรา 73/2 ดังนั้นการกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่มาตรา 73/2 กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษซึ่งหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 ของกฎหมายเดิม การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจ้างทำของ: พิจารณาจากสัญญาเกิดที่ไหน และเรียกค่าเสียหายหรือค่าจ้าง
แม้จำเลยจะสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยใช้ใบสั่งซื้อ แต่โจทก์ก็ต้องใช้แม่พิมพ์ของจำเลยในการผลิตสินค้า หาใช่โจทก์ผลิตสินค้าเพื่อขายให้จำเลยโดยตรงไม่ จึงเป็นการจ้างทำของไม่ใช่ซื้อขาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993-3994/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาต้องพิจารณาทุนทรัพย์รายคดี และการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญา
คดี 2 เรื่อง ได้พิจารณาพิพากษารวมกัน ต้องพิจารณาทุนทรัพย์เป็นรายคดีมิใช่ถือทุนทรัพย์ 2 คดี มารวมกันคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ เมื่อคดีสำนวนหลังมีทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์เพียง 42,168.49 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในสำนวนหลังด้วยจึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในสำนวนหลังชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด และสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้วศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยได้
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุใบเสร็จรับเงินท้ายฎีกาเป็นพยานและไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด และสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้วศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยได้
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุใบเสร็จรับเงินท้ายฎีกาเป็นพยานและไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้