คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกรียงชัย จึงจตุรพิธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาโอนสิทธิบัตร
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นสัญญาโอนขายสิทธิบัตร โดยมีข้อกำหนดว่าผู้โอนคือโจทก์ทั้งสี่ที่เป็นผู้ขายจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับโอนคือจำเลยด้วย จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่มีหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์ทั้งสี่ ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสี่รับว่ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยจริง และแจ้งให้จำเลยหักชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระแก่จำเลย ต่อมาจำเลยส่งใบหุ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ ย่อมแสดงว่าจำเลยยอมรับการชำระหนี้ค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยอมรับว่ายังไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่จำเลย โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการต้องพิจารณาก่อนประเด็นอื่น หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลเดิมเป็นโมฆะ
จำเลยให้การว่า โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเนื่องจากโจทก์ยังไม่ดำเนินการตามกระบวนการระงับข้อพิพาทของสัญญา เป็นการฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาว่าจ้างโจทก์ โจทก์ก็นำสืบยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทน ดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน ก็สั่งจำหน่ายคดีเสียเพื่อให้โจทก์ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2535 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการต้องพิจารณาก่อนประเด็นอื่น หากมีข้อสงสัยว่าใช้บังคับไม่ได้ ศาลต้องไต่สวนตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
คดีนี้โจทก์ก็ยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น ก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทนดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 (เดิม) มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อนก็สั่งจำหน่ายคดีเสียเพื่อให้โจทก์ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โดยศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องคดี อำนาจฟ้อง และความรับผิดของจำเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องพิจารณาข้อตกลงก่อนตัดสินเรื่องอื่น
จำเลยให้การข้อหนึ่งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเนื่องจากยังไม่ดำเนินการตามกระบวนการระงับข้อพิพาทของสัญญาและนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการอันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้าง ในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยก็ยังสืบพยานยืนยันข้อต่อสู้นี้ โดยโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนก็นำสืบรับว่ามีกระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญา และมีข้อตกลงว่าหากดำเนินการตามกระบวนการนั้นแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทได้ จะต้องนำข้อพิพาทเข้าสู่การระงับโดยอนุญาโตตุลาการ กล่าวคือ ยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทน ดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน ก็สั่งจำหน่ายคดีนี้เสียเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โดยศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องคดี อำนาจฟ้อง และความรับผิดของจำเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายกคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยให้ไปดำเนินการไต่สวน และมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8451/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์พจนานุกรม: จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย, จำเลยที่ 2 ไม่ร่วมกระทำละเมิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 20 ของราคาขาย เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าลิขสิทธิ์ไม่ครบถ้วน จึงเป็นการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่การละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 จัดทำไฟล์ข้อมูล ศัพทานุกรมและพจนานุกรมของโจทก์เพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ก็เบิกความปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 เพิ่มชื่อศัพทานุกรมและพจนานุกรมดังกล่าวลงในใบเสร็จรับเงินเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 จัดทำไฟล์ข้อมูลดังกล่าวและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศัพทานุกรมและพจนานุกรมทั้ง 2 ฉบับ ของโจทก์
แม้จะปรากฏว่าการออกเสียงเป็นคุณสมบัติพิเศษของเครื่องปาล์ม (เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา) บางรุ่น และการออกเสียงได้เกิดจากโปรแกรมเสียงสังเคราะห์ที่ออกเสียงได้ไม่จำกัดเฉพาะพจนานุกรมของโจทก์เท่านั้น แต่เมื่อการออกเสียงดังกล่าวเป็นการออกเสียงตามพจนานุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 นำพจนานุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์มาดัดแปลงใส่เสียงอ่านเป็น "ทอล์คกิ้ง ดิกชันนารี" โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานพจนุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์
ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยที่ 1 คงระบุเพียงว่า โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์และจำหน่ายบทประพันธ์พจนานุกรมของโจทก์ในสื่อชนิดไฟล์ข้อมูลรูปแบบที่แสดงผลในเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือเท่านั้น ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดัดแปลงได้ การที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงโดยการตัดประโยคตัวอย่างเดิมออกและมีการตั้งชื่อพจนานุกรมใหม่เป็น 5 ชื่อดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 จัดทำฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าวจำหน่ายทางเว็บไซต์โดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แม้ว่าตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ จะบัญญัติว่า "ผู้ดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ จะมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดังแปลง แต่การได้ลิขสิทธิ์นั้นต้องเข้าเงื่อนไขที่ว่า การดัดแปลงนั้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การดัดแปลงฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าวมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในการจัดทำฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำงานดังกล่าวไปจำหน่ายทางเว็บไซต์ จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 ให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องปาล์มสามารถอัพเกรดทางเว็บไซต์ได้ในราคาพิเศษโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 เปิดตัวโปรแกรมไทยแฮคสำหรับเครื่องปาล์มรุ่นทังสเตนที โดยลูกค้าที่ซื้อเครื่องดังกล่าวสามารถอัพเกรดทางเว็บไซต์ได้ในราคาพิเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเครื่องดังกล่าวรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งการอัพเกรดก็กระทำผ่านเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับประโยชน์คือจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์ นอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำข้อมูลจากพจนานุกรมของโจทก์มาทำซ้ำเป็นแผ่นซีดีขายหรือแจกแถมพร้อมเครื่องปาล์มของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนจำหน่ายและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: การบังคับใช้สัญญาและการระงับข้อพิพาท
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายสินค้ายาสูบประเภทบุหรี่ ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวมีกรรมการคนหนึ่งของจำเลยลงลายมือชื่อท้ายสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งปกติจะไม่มีผลผูกพันจำเลย แต่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยแล้ว จำเลยบอกเลิกสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์ก่อนครบกำหนด เนื่องจากจำเลยต้องการจำหน่ายสินค้าบุหรี่เอง และปรากฏจากคำร้องของจำเลยที่ให้จำหน่ายคดีนี้เพราะในสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวมีข้อตกลงให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ และจำเลยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่ออนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติให้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ซึ่งเท่ากับว่า จำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของกรรมการผู้มีอำนาจของตน สัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
แม้ในขณะทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าว ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมาย พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาใช้บังคับ แต่สิทธิในความลับทางการค้าก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยสัญญาระหว่างคู่สัญญา และโดยหลักละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 421 อยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิทางแพ่งอย่างหนึ่งที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ โจทก์กับจำเลยจึงสามารตกลงกันในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าในสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน แม้ฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทเข้าอนุญาโตตุลาการ ศาลสั่งจำหน่ายคดีได้
แม้ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายจะมีเพียง อ. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยลงลายมือชื่อท้ายสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับของบริษัท ซึ่งปกติจะไม่มีผลผูกพันจำเลยแต่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เองว่า หลังจากทำสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญากับจำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วนตลอดมา นอกจากนี้ จำเลยรวมทั้งโจทก์ต่างถือเอาสัญญานี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. กรรมการผู้มีอำนาจของตนแล้ว สัญญานี้จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยในฐานะคู่สัญญา สัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายมีข้อความระบุว่า ข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อสัญญานี้จะต้องตัดสินชี้ขาดภายใต้ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติ ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับข้อสัญญาในเรื่องข้อมูลการค้าของโจทก์ จึงต้องตัดสินชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการด้วย ไม่ชอบที่โจทก์จะนำมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาล
ก่อนหน้าการใช้บังคับ พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ สิทธิในความลับทางการค้าก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยสัญญาระหว่างคู่สัญญา และโดยหลักละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 421 อยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิทางแพ่งอย่างหนึ่งที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ โจทก์กับจำเลยจึงสามารถตกลงกันในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าลงในสัญญาดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเกี่ยวกับข้อมูลการค้าบุหรี่ของโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้ว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อตกลงดังกล่าวก่อน เป็นการผิดสัญญาและกฎหมายอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยประสงค์จะขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดก่อนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น ย่อมเป็นการยืนยันความต้องการดังกล่าวของจำเลย แม้จำเลยจะยื่นคำร้องช้ากว่าวันยื่นคำให้การ ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการเสียก่อนที่จะได้มีการพิจารณาคดีตามประเด็นข้อพิพาท ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่ผิดสถานที่ และการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ของตัวแทน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการและงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ และมีผลให้กระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย เรื่องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าให้แก่กรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งมีโจทก์เป็นนายหน้า จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: จำเลยต้องเป็นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่ผู้ยื่นคำขอเพิกถอน
การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 56 แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้อุทธรณ์โดยฟ้องผู้ใดเป็นจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ออกคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายบริการของโจทก์คือ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เมื่อตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์มีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษายกคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำขอบังคับฝ่ายบริหาร ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแต่มาฟ้องจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
of 34