คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 423

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต้องมีบุคคลที่สาม การสนทนาส่วนตัวไม่ถือเป็นการละเมิด
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 423 ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวต่อบุคคลที่สาม แต่การกล่าวหรือไขข่าวที่แพร่หลายได้ก็ต้องมีบุคคลที่สามอยู่ การพูดคนเดียวไม่มีคนได้ยินย่อมไม่เป็นการกล่าวให้แพร่หลาย ดังนั้นถ้ามีคนแอบฟังโดยคนพูดไม่รู้ การพูดดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. เป็นผู้เริ่มต้นการตั้งโปรแกรมสนทนาผ่านบัญชีเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้บริการส่งข้อความและข้อมูลมัลติมีเดียสนทนาโต้ตอบกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้าในระบบเพื่อพูดคุยกัน โปรแกรมสนทนาดังกล่าวเป็นแบบระบบปิดมีสมาชิกเพียง 3 คนคือจำเลยทั้งสองและ พ. บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูหรืออ่านข้อความสนทนาได้ การสนทนาดังกล่าวที่มีการพูดถึงโจทก์และพนักงานอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเป็นการกล่าวที่จำเลยทั้งสองและ พ. ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันสนทนาร่วมกันโดย พ. เข้าร่วมสนทนากับจำเลยทั้งสองหลายครั้ง จึงมิใช่เป็นการที่จำเลยทั้งสองกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ส่วนการที่โจทก์แอบดูและอ่านข้อความสนทนาและนำไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบเอง ย่อมไม่ทำให้การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลทั้งสามเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายให้บุคคลอื่นรับทราบได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากสื่อ การกำหนดค่าเสียหาย และขอบเขตความรับผิด
การที่ชายหญิงมีเพศสัมพันธ์กันโดยความยินยอมพร้อมใจในสถานที่อันมิดชิดและเหมาะสมเป็นวิถีชีวิตตามปกติของสังคมมนุษย์ และถือเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว ซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 ที่บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง" ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลงนั้นเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 123 กำหนดไว้ทั้งนี้เพื่อปกป้องสิทธิของตนจากการถูกละเมิด จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาเนื้อหาข่าวที่จำเลยทั้งสองนำมาลงพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์พบว่ามีขอบเขตที่กว้างกว่าการเสนอข่าวการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับหญิงคนรักซึ่งถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้มาเผยแพร่ซ้ำ ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสาธารณชน มีแต่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างมากขึ้น
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ตามมาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นอันเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดตามมาตรา 423 ได้ โจทก์คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเท่านั้น
การที่จำเลยทั้งสองไม่เคยเสนอข่าวในทางที่ทำให้โจทก์เสียหายมาก่อน เพิ่งมาเสนอข่าวหลังจากโจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่นำข่าวและภาพโจทก์มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักไปเผยแพร่ก่อนหน้านั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองยังมีจรรยาบรรณของผู้มีอาชีพสื่อมวลชนอยู่ ทั้งเนื้อข่าวบางส่วนน่าจะมีผลเป็นการปรามผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์อยู่หรือคิดจะกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้หยุดการกระทำหรือยกเลิกความคิดที่จะกระทำนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองถือว่าไม่ร้ายแรงมากนัก เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้หนึ่งที่กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น แม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ดี หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ดี ที่โจทก์อ้างมาในฎีกานั้นเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการที่จะควบคุมอำนาจรัฐและผดุงไว้ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นการทั่วไป มิใช่กฎหมายที่บัญญัติกำหนดความรับผิดของบุคคลในกรณีที่มีการกระทำละเมิดกันไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากข่าวเผยแพร่ ศาลลดค่าเสียหายเหมาะสมกับพฤติการณ์
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10448/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดด้วยการแพร่ข่าวเท็จใส่ร้ายโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการเงิน
ข้อความทั้งหมดตามบทความสรุปว่า โจทก์ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กำกับดูแลกรมศาสนา ทำงานไม่เป็น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย ท่าดีทีเหลว โอบอุ้มพระธัมมชโยเนื่องจากรับเงินสินบนจากพระธัมมชโย 150,000,000 บาท เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วมีลักษณะเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ซึ่งจำเลยทั้งสามก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ลักษณะของการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรม จำเลยทั้งสามจึงกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาเกินจริงของโรงพยาบาลละเมิดสิทธิและผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล, ป.พ.พ.
ข้อมูลเปรียบเทียบศักยภาพของจำเลยในใบแผ่นพับโฆษณา จำเลยแสดงผลการเปรียบเทียบให้เห็นว่าโรงพยาบาลของจำเลยดีกว่า น่าใช้บริการมากกว่า เพราะมีผู้ประกันตนที่รับได้จำนวนมากที่สุด สะดวกสบายกว่า มีจำนวนเครือข่ายหลายแห่งกว่ามีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยมากกว่าเพราะมีผู้เข้าร่วมโครงการประกันสังคมเป็นจำนวนมากกว่าใคร โรงพยาบาลของจำเลยใหญ่กว่าเพราะมีเตียงจำนวนมากกว่ามีความมั่นคงกว่าเพราะมีประกันอุบัติเหตุให้ด้วย การโฆษณาแผ่นพับของจำเลยดังกล่าวเป็นการจูงใจให้บุคคลมาใช้บริการของจำเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ โฆษณา หรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการของสถานพยาบาลหรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล" ดังนั้น การที่จำเลยระบุในแผ่นพับในช่องผู้ประกันตนที่รับได้ว่า โจทก์รับได้ 25,000 คน ช่องระยะเวลาเข้าร่วมโครงการประกันสังคมว่า โจทก์เพิ่งเริ่มเข้า ช่องขนาดโรงพยาบาลว่า โจทก์มี 150 เตียง ช่องประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคมว่าโจทก์ไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งความเป็นจริงทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า โจทก์มีจำนวนผู้ประกันตนที่รับได้ 50,000 คน โจทก์มีเตียง 400 เตียง และโจทก์เข้าร่วมโครงการประกันสังคมตั้งแต่ปี 2535 โจทก์จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการเป็นต้นมา จึงเป็นการที่จำเลยเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรงกับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลจำเลยมีศักยภาพดีกว่าโรงพยาบาลโจทก์เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่ามีประสบการณ์มากกว่า จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริงเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 และเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ คำว่า สิทธิ หมายความถึงประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ และจำเลยหรือบุคคลอื่นต้องเคารพหรือได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่สิทธิเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 423

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาครบทุกข้อหาในคำฟ้อง แม้โจทก์เน้นย้ำเฉพาะการไขข่าวแพร่หลาย มิใช่ถ้อยคำหยาบคาย
โจทก์บรรยายฟ้องโดยตอนแรกบรรยายถึงการที่จำเลยพูดกล่าวถ้อยคำซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ ส่วนตอนหลังบรรยายถึงการที่จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปเผยแพร่แล้วโจทก์สรุปว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความที่ทำให้โจทก์เสียหาย เห็นได้ว่าข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาละเมิดคือการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความของจำเลยอันทำให้โจทก์เสียหาย หาใช่การที่จำเลยพูดถ้อยคำหยาบคายต่อโจทก์ไม่ ทั้งทนายโจทก์ก็แถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามคำฟ้องรวม 4 ครั้ง ซึ่งการกระทำละเมิดของจำเลยตามที่ทนายโจทก์แถลงไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวกับการพูดถ้อยคำหยาบคายของจำเลยดังกล่าว การพูดถ้อยคำหยาบคายของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดต่อชื่อเสียงจากบทความข่าว การร่วมรับผิดของนายจ้างและบรรณาธิการ การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสามลงพิมพ์ข้อความเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงและมิใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางทำมาหาได้และทางเจริญในกิจการของโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ ส่วนการคิดคำนวณค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจำเลยที่ 2 มาแจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรในเครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวหาพัวพันยาเสพติด ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอนาคตทางการเมือง จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2485 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คำพิพากษา ส่วนอาญาย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46จำเลยไม่อาจโต้เถียงข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นอย่างอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความจริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจำเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง ศาลฎีกาจะฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทส่งผลต่อชื่อเสียงและอาชีพ: ประเมินค่าเสียหายจากความเสียหายต่อเกียรติคุณและรายได้
โจทก์เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างศาลแรงงาน กรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และโจทก์ยังมีอาชีพเป็นตัวแทนหาประกันชีวิตของบริษัท ท. แม้ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะไม่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งมิใช่เนื่องจากการหมิ่นประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์เคยได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวย่อมแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงดี ได้รับการยกย่องจากเพื่อนร่วมงานอย่างมาก นอกจากนั้นการที่โจทก์เป็นตัวแทนหาประกันชีวิต โจทก์จะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติเสียหาย จึงจะมีผู้เชื่อถือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านโจทก์ฉะนั้น การที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ในเรื่องที่แสดงว่าโจทก์ไม่ซื่อสัตย์ ย่อมต้องกระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์อันทำให้โจทก์เสียหาย
of 10