คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกรียงชัย จึงจตุรพิธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองชั่วคราวเพิกถอนสิทธิบัตร: ศาลไม่อนุญาตหากกระทบสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตรและเป็นบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผานจานสำหรับรถไถนาที่จำเลยออกให้บริษัท ด. และโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ผลิตและจัดจำหน่ายผานจานโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด ดังนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์เนื่องจากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างพิจารณาคดี แต่ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือนร้อนคือบริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ทั้งสี่ให้กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าเป็นเพราะจำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวอ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือห้ามโจทก์ทั้งสี่นั้น การที่จำเลยออกสิทธิบัตรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งสี่มิได้อ้างว่าจำเลยร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามโจทก์ซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด และในเบื้องต้นบริษัท ด. เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ ขาย เสนอขาย ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 63 ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ คำร้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องโจทก์ทั้งสี่โดยมิได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ไม่ใช่บุคคลภายนอก และต้องเคารพสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตร
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองโจทก์เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี แต่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือดร้อนคือ บริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่จำเลย ศาลจึงมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึงบริษัท ด. หาได้ไม่ การที่จำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัท ด. อ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือบังคับมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกสิทธิบัตร ทั้งจำเลยไม่ได้ร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ส่วนการที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทำการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด. ศาลก็มิอาจสั่งได้เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนสิทธิบัตร บริษัท ด. ย่อมมีสิทธิห้ามมิให้บุคคลอื่นทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้ ศาลจะอนุญาตให้โจทก์กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทน ไม่ใช่ผู้เสียหาย
โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ป. ให้จัดเก็บค่าตอบแทนการนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผู้ที่ประสงค์จะนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยนำเอาเพลง "รักสาวผมแดง" อันเป็นงานดนตรีกรรมซึ่ง ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ออกให้ปรากฏซึ่งดนตรีและคำร้องที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ภายในห้องคาราโอเกะในร้าน ป. กุ้งเผาของจำเลยเพื่อให้บริการอันเป็นการนำงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น จากการบรรยายฟ้องและหนังสือมอบอำนาจเห็นได้ชัดว่าโจทก์เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้สิทธิในลิขสิทธิ์และดำเนินคดีแก่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเพลง "รักสาวผมแดง" หรือในงานโสตทัศนวัสดุ ที่บันทึกเสียงดนตรีและคำร้องเพลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามตนเอง ทั้งการกระทำของจำเลยที่นำเพลงดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดียาเสพติด: ข้อมูลผู้ซื้อไม่เพียงพอต่อการลดโทษ และเหตุตั้งครรภ์ไม่สมเหตุผลเพียงพอต่อการรอลงโทษ
แม้จำเลยได้ให้การในชั้นสอบสวนว่า จำเลยซื้อฝิ่นมาจาก น. ตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวขยายผลจับกุมบุคคลที่จำเลยกล่าวอ้างได้หรือไม่อย่างไร คำให้การของจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 200
การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นเพียงการวินิจฉัยมูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลยพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่าจำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยมิชอบ ก่อความเสียหายแก่ผู้เสียหาย มีความผิดตาม ม.157, 200
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แม้สินค้าต่างชนิดกัน หากทำให้สาธารณชนสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามภาพถ่ายรวม 10 รูปมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยไม่มีตัวอักษรอยู่ด้วย และเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยมีอักษรไทยคำว่า "ตราเสือ" และอักษรโรมันคำว่า "TIGER" อยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 10 เครื่องหมายจึงมีลักษณะเด่นอยู่ที่ภาพเสือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" เพื่อแสดงว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า "ไทเกอร์" แม้จะไม่มีภาพเสือ หรือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" อยู่ด้วย แต่คำว่า "ไทเกอร์" ก็เป็นคำอ่านในภาษาอังกฤษของคำว่า "TIGER" จึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คดีเยาวชน: การพิจารณาอัตราโทษตามฟ้อง มิใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมิได้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ก็ตาม จำเลยยังมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้องว่าต้องห้ามหรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยมิได้กระทำผิดอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84
of 34