พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตร
บริษัทโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดของจำเลยโดยศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 245 วรรคสอง ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดียาเสพติดประเภท 2 (โคคาอีน) ต้องพิจารณาปริมาณสารบริสุทธิ์เพื่อใช้บทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ยกเว้นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคคาอีนจำนวน 3 ซอง น้ำหนัก 2.36 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ปรากฏว่ามีการคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใดก็ตาม แต่ต้องถือว่าโคคาอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการพิสูจน์ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยพยานหลักฐาน
ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ ค. มอบอำนาจช่วงให้ ท. มีอำนาจร้องทุกข์แทนมีข้อความว่า เพื่อให้มีอำนาจดำเนินการแทน "ผู้มอบอำนาจ" ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับหนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นระหว่างผู้เสียหายกับ ค. แล้ว ก็ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่า ผู้เสียหายเป็น "ผู้มอบอำนาจ" และ ค. เป็น "ผู้รับมอบอำนาจ" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้เสียหายได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่ จึงต้องพิจารณาทั้งหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงประกอบกันมิใช่พิจารณาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับเดียว เมื่อ ท. แจ้งความร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย มิใช่ร้องทุกข์แทน ค. เป็นการส่วนตัว การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ของผู้เสียหายจึงชอบด้วยกฎมหาย และถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันจนสับสน แม้มีรูปถ้วยและตัวอักษร ศาลยืนยกฟ้อง
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างประกอบด้วยรูปถ้วยและตัวอักษร แต่ลักษณะรูปถ้วยแตกต่างกัน กล่าวคือ รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนหูมีลักษณะโปร่งเป็นรูปโค้งงอจับได้ ขาของถ้วยเป็นแนวตรง และฐานของถ้วยมีลักษณะเป็นรูปวงกลม แต่รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนหูจะมีลักษณะทึบคล้ายสามเหลี่ยม ขาของถ้วยสั้นและฐานของถ้วยมีขนาดใหญ่ แตกต่างกับของโจทก์ที่ฐานของถ้วยมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้เมื่อดูในภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรโรมันคำว่า Golden Cup เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่ารูปถ้วย ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเน้นที่รูปถ้วยมากกว่าตัวอักษรเพราะรูปถ้วยมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่าตัวอักษร ตัวอักษร A.P.P. ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับคำว่า "Golden Cup" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งการเขียนและการอ่านออกเสียง คำว่า Golden Cup แปลว่า ถ้วยทอง ในขณะที่ตัวอักษร A.P.P. แปลความหมายไม่ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิได้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - การแจ้งหนังสือ - ขอบเขตการวินิจฉัย - ค่าทนายความ
การยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีการส่งหนังสือบอกกล่าวแจ้งคำชี้ขาดไปถึงผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 30 มิใช่นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาด
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวน 1,069,967.49 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ ส่วนอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 จำนวน 1,542,263.52 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ เหตุที่จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดวินิจฉัยมากกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ร้องเรียกร้องเนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยถึงระยะเวลาชำระต่างกัน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้คัดค้านจะต้องชำระให้แก่ผู้ร้องทั้งหมดจะเท่ากันคือคิดตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านผิดนัดจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดระบุไว้ในสัญญากู้เงินอยู่แล้ว แม้ผู้ร้องมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านมาในคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง อนุญาโตตุลาการก็กำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้ได้ไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ส่วนคำชี้ขาดวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก็อยู่ในขอบเขตของคำร้องเสนอข้อพิพาท คำชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเช่นกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 34 (4)
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวน 1,069,967.49 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ ส่วนอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 จำนวน 1,542,263.52 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ เหตุที่จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดวินิจฉัยมากกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ร้องเรียกร้องเนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยถึงระยะเวลาชำระต่างกัน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้คัดค้านจะต้องชำระให้แก่ผู้ร้องทั้งหมดจะเท่ากันคือคิดตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านผิดนัดจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดระบุไว้ในสัญญากู้เงินอยู่แล้ว แม้ผู้ร้องมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านมาในคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง อนุญาโตตุลาการก็กำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้ได้ไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ส่วนคำชี้ขาดวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก็อยู่ในขอบเขตของคำร้องเสนอข้อพิพาท คำชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเช่นกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 34 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากโจทก์ฟ้องโดยไม่ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการก่อน
สัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คู่สัญญาตกลงกันให้ระงับข้อพิพาทโดยใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
การที่จำเลยมิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายระบุถึงการระงับข้อพิพาทว่าให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาจะมิได้ไต่สวนปัญหาเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้โดยตรง แต่ก็ได้ทำการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวก่อนชี้สองสถาน และในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้ศาลรับฟังได้ว่ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาเพียงพอที่ศาลจะไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลมิได้มีคำสั่งดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยมิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายระบุถึงการระงับข้อพิพาทว่าให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาจะมิได้ไต่สวนปัญหาเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้โดยตรง แต่ก็ได้ทำการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวก่อนชี้สองสถาน และในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้ศาลรับฟังได้ว่ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาเพียงพอที่ศาลจะไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลมิได้มีคำสั่งดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเกินคำขอ และการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษในคดียาเสพติด
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4, 7, 8, 26, 76 โดยมิได้ระบุมาตรา 76/1 มาด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพซึ่งเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ และถือว่าโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 76/1 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้นเกินคำขอไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าต่อเนื่อง, กรรมเดียว, ไตร่ตรองไว้ก่อน: การแทงผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน
จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ เมื่อรถจักรยานยนต์ล้มผู้เสียหายลุกขึ้นวิ่งหนีไป จำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ที่จะต้องการฆ่าผู้ตาย แต่เหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายที่มากับผู้ตายก่อนเนื่องจากเสียหายเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์โดยมีผู้ตายนั่งซ้อนท้าย จำเลยประสงค์จะให้รถจักรยานยนต์หยุดเพื่อจะได้มีโอกาสแทงทำร้ายผู้ตายได้ต่อไป โดยที่ผู้ตายไม่สามารถซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนี จึงเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยประสงค์จะแทงทำร้ายทั้งผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน แม้จะเป็นการกระทำสองหนและต่อบุคคลสองคนก็อยู่ในเจตนาอันเดียวกันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว