คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกรียงชัย จึงจตุรพิธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: จำเลยต้องเป็นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่ผู้ยื่นคำขอเพิกถอน
การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 56 แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้อุทธรณ์โดยฟ้องผู้ใดเป็นจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ออกคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายบริการของโจทก์คือ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เมื่อตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์มีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษายกคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำขอบังคับฝ่ายบริหาร ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแต่มาฟ้องจำเลยจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามเช็ค: หนี้เดิมระงับ
เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัท ร. ผู้สลักหลังย่อมทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอันถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. และจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จะบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงก็ตาม เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมูลหนี้เดิมที่ลูกหนี้ทุกคนต้องร่วมรับผิด แต่สำหรับคดีนี้มูลหนี้เดิมตามเช็คพิพาทได้ระงับสิ้นไปแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำกับบริษัท ร. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้ร่วมคนอื่นในมูลหนี้เดียวกันย่อมระงับสิ้นไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช็ค: ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่เจ้าของอันแท้จริง ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมของธนาคาร ท. ให้แก่ ส. หรือผู้ถือ แม้เป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือ แต่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นคือผู้รับเงินตามเช็ค มิใช่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์ทั้งสองก็มิได้เป็นผู้ทรงเช็ค จึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1000 ที่จะมีอำนาจฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิดชดใช้เงินตามเช็ค ทั้งการที่จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคาร ท. ไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงิน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองในอันที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต้องไม่ซ้ำกับที่มีการเปิดเผยก่อนหน้า การเพิกถอนสิทธิบัตรและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้ผลิตรั้วตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปตามรูปแบบใหม่ออกจำหน่าย และอีกตอนหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังอยู่ขั้นทดลองกระบวนการผลิต โจทก์จึงยังมิได้รับความเสียหายไม่นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตร นั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบที่คู่ความรับกันได้ความว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ โดยกล่าวหาว่าโจทก์ผลิตสินค้าเลียนสินค้าของจำเลยที่จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลย เลขที่ 9914, 9915, 9922 และ 9923 กอปรกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในอีกตอนหนึ่งและที่โจทก์นำสืบยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหากเป็นจริงย่อมนับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดหลายบทเกี่ยวกับศุลกากรและยาสูบ ศาลต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดและแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 2 ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งบุหรี่ซิกาแรตของกลางที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร แล้วมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่จำนวนเดียวกันอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งยาสูบที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นบทหนักแล้ว ศาลย่อมไม่อาจริบบุหรี่ซิกาแรตของกลางเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 44 วรรคสอง ประกอบมาตรา 24 ได้ เพราะศาลไม่ได้ลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ด้วย ศาลย่อมริบตามกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9373/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าสถานีบริการที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามสัญญาให้เช่าสถานีบริการ คู่สัญญาตกลงกันว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด อันเป็นเหตุให้ ปตท. ได้รับความเสียหาย ปตท. จะมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา หากผู้เช่าเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามหรือปฏิบัติแล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง ปตท. มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ดังนั้น โจทก์ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาคือต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาหลังจากนั้นจึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้อง ในเอกสารหมาย จ.14 ก็ไม่มีข้อความให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา หนังสือที่มีไปถึงจำเลยเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลงในสัญญาให้เช่าสถานีบริการ ต้องถือว่าสัญญาให้เช่าสถานีบริการยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าปรับจากจำเลยทั้งสองโดยอาศัยสัญญาฉบับนี้ได้ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9054/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในการนำสืบหลักฐานความผิดฐานมีอาวุธปืน และการพิพากษาแก้โทษจำเลย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลจึงจะรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตดังกล่าว แม้จะปรากฏจากคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเยาวชนและ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 13 (4) บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่บุคคลจะบรรลุนิติภาวะนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้นั้นเสมอไป เพราะบุคคลอาจบรรลุนิติภาวะก่อนอายุ 20 ปี ได้ด้วยการสมรสด้วย ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองอายุไม่ถึง 20 ปี โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนด้วยเมื่อโจทก์ไม่นำสืบ จึงไม่สามารถลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371, 83 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8960/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายน้ำมัน: ศาลบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ แม้ไม่ได้วินิจฉัยทุกประเด็นที่คู่ความอ้าง
ประเด็นข้อพิพาทที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งจะต้องพิจารณาและชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งกรุงลอนดอน (London Court of International Arbitration) ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะวินิจฉัยในชั้นนี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาแต่เพียงพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำสืบตามข้อต่อสู้ว่ารับฟังไม่ได้ ทั้งที่ผู้ร้องนำสืบไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องเป็นนิติบุคคลจริงเพราะไม่แสดงหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ส่วนราชการซึ่งกำกับดูแลออกให้เป็นพยานหลักฐานนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเรื่องความเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถของคู่สัญญาตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คู่สัญญานั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (1) ซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่ผู้คัดค้าน และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบแสดงอย่างไรย่อมเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐานแต่อย่างใด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาของศาลฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) หรือไม่ อุทธรณ์ข้อนี้ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่ได้รับสำเนาคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการ จึงถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยข้อโต้แย้งทุกข้อทุกประเด็น เป็นคำพิพากษาที่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นคำคัดค้าน ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยเรื่องดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8583/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โดยมีพยานยืนยันถึงการกระทำของจำเลย
จำเลยดันรถจักรยานยนต์ไปชนกับรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งซ้อนมาจนล้มลง เพื่อให้พวกของจำเลยรุมทำร้ายผู้เสียหายจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7691/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผิดสัญญา การเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 6.1 กำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่งของสัญญานี้ เจ้าของโครงการอาจบอกเลิกสัญญานี้ในเวลาใดก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อได้ โดยบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ซื้อ และในกรณีดังกล่าวผู้ซื้อตกลงให้เจ้าของโครงการมีสิทธิริบเงินทั้งหมดที่ผู้ซื้อได้ชำระแล้ว" จำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2536 และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่ไปรับโอน จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามข้อกำหนดในสัญญาไปยังโจทก์ จำเลยกลับมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ห้องชุดของโจทก์พร้อมที่จะเข้าอยู่อาศัยได้แล้ว และต่อมาจำเลยได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ชี้แจ้งเรื่องอาคารชุดที่อยู่ในเขตปลอดภัยในราชการทหารว่ากำลังดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้างให้ถูกต้อง แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีผลใช้บังคับอยู่ ต่อมาวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 จำเลยขายห้องชุดพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา วันที่ 23 สิงหาคม 2543 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าห้องชุดที่โจทก์ชำระไปแล้วให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
of 34