พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12569/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังคู่สมรสถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาคดี
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์สินถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณา การถึงแก่กรรมของคู่สมรสย่อมทำให้การสมรสสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 และต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายตามมาตรา 1625 ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์ต่อไป ศาลล่างยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และจำหน่ายคดี จึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12018/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติดและขอบเขตการลดโทษตามข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปราม รวมถึงการกักขังแทนค่าปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้คดีนี้เป็นคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ แต่หากจำเลยเห็นว่ามีข้อเท็จจริงใดที่จะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีของตนแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิขอสืบพยานได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ทั้งข้ออ้างของจำเลยว่าไม่มีโอกาสนำเสนอพยานหลักฐานเพราะศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ก็เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาอ้างในศาลฎีกา ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลล่าง จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียงหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แต่ตามหมายจำคุกและกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลย 2 ปี แทนค่าปรับ 300,000 บาท ซึ่งเป็นการมิชอบ การกักขังแทนค่าปรับถูกต้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียงหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แต่ตามหมายจำคุกและกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลย 2 ปี แทนค่าปรับ 300,000 บาท ซึ่งเป็นการมิชอบ การกักขังแทนค่าปรับถูกต้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: ความร่วมมือในการจัดการมรดก และเหตุผลในการถอน
ป.พ.พ. มาตรา 1716 บัญญัติว่า หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว และมาตรา 1728 (2) บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1716 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน คงมีแต่ฝ่ายผู้ร้องที่ขวนขวายจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกและติดต่อฝ่ายผู้คัดค้านเพียงฝ่ายเดียวแม้ผู้คัดค้านพอมีเหตุผลในข้อขัดข้อง โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ไปตามนัดเพื่อร่วมจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพราะเหตุติดไปท่องเที่ยวตามที่ได้ซื้อตั๋วทัวร์ไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อผู้คัดค้านตอบขัดข้องแล้ว ก็น่าจะเป็นฝ่ายกำหนดวันสะดวกแจ้งแก่ฝ่ายผู้ร้องบ้าง หาใช่ถือเป็นภาระหน้าที่ของผู้ร้องฝ่ายเดียวไม่ เพราะเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกันกระทำภารกิจให้ลุล่วง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อผู้ร้องได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตายเสนอศาลชั้นต้น ซึ่งผู้คัดค้านได้ไปขอถ่ายสำเนาแล้วคงค้านแต่เพียงทรัพย์สินรายการเดียวว่าไม่ใช่มรดกของผู้ตาย หากเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านและเบิกความรับว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดอยู่ในความครอบครองของผู้ร้อง กับตอบคำถามค้านทนายผู้ร้องโดยรับว่าผู้คัดค้านไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องกับกิจการร้านค้าของผู้ตายนับแต่ปี 2541 และผู้คัดค้านมีอายุถึง 80 ปี ในปี 2547 แล้วเช่นนี้ หากยังคงให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การจัดการมรดกจะยังคงมีปัญหาและไม่ลุล่วงตามที่ควรกรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ ต้องคืนค่าธรรมเนียม – ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งหมด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญาที่ไม่สมบูรณ์และข้อพิรุธในการให้กู้ยืมเงิน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งหมด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9001/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาที่มีโทษประหารชีวิต จำเป็นต้องตั้งทนายความให้จำเลย แม้จำเลยจะไม่ต้องการ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีไว้อย่างเต็มที่ แต่คดีนี้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วแต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดี จำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์เสร็จไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าทนายความของจำเลยเข้าร่วมในกระบวนพิจารณาในครั้งนั้นแต่อย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยจึงยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนนคดี อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การโต้เถียงดุลพินิจศาลอุทธรณ์ และการฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำนวนเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี เช่นเดียวกัน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ลงโทษสถาบเบานั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้นำข้อกฎหมายในมาตราที่พอจะเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มาพิจารณาลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่ากฎหมายที่พอจะเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวคือกฎหมายในเรื่องใด ฉบับใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ลงโทษสถาบเบานั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้นำข้อกฎหมายในมาตราที่พอจะเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มาพิจารณาลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่ากฎหมายที่พอจะเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวคือกฎหมายในเรื่องใด ฉบับใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, การลดโทษจำคุก, และการกักขังแทนค่าปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การฎีกาในปัญหาใดๆ ต่อศาลฎีกาย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี ต้องมีคำสั่งชัดเจน การเพิ่มเติมโทษโดยไม่ได้รับการอุทธรณ์เป็นโมฆะ
การกักขังแทนค่าปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อ 1 วัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ แม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไปก็ตาม คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ยาเสพติด ลดโทษจากคำรับสารภาพ
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยร่วมกับพวกนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225