พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6766/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลจากผู้ต้องหาช่วยคลี่คลายคดียาเสพติด ศาลลดโทษตามเหตุผลพิเศษ
เมื่อถูกจับกุมแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมว่า จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวน 140,000 บาท จาก จ. เพื่อไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากประเทศเพื่อนบ้านนำมาส่งมอบให้ที่บ้านของ จ. จึงมีการสอบสวนขยายผล จนในที่สุดสามารถติดตามไปจับกุม จ. จ. ไม่ยอมให้จับกุมแต่ได้ดื่มน้ำยาซักผ้าจนถึงแก่ความตายไปเสียก่อน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน กรณีมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มตรา 100/2
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพข้อหานำเข้าเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน แต่จำเลยที่ 1 กลับให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา จนเมื่อสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 จึงขอถอนคำให้การเดิมเป็นรับสารภาพในข้อนี้ด้วย คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงพอเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ที่ศาลลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสามจึงเหมาะสมแล้ว
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพข้อหานำเข้าเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน แต่จำเลยที่ 1 กลับให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา จนเมื่อสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 จึงขอถอนคำให้การเดิมเป็นรับสารภาพในข้อนี้ด้วย คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงพอเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ที่ศาลลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสามจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงขัดกับการรับสารภาพ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดียาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ อันถือได้ว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องยาเสพติด: ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการลดโทษตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่คนละตลอดชีวิต จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา นอกจากวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำเลยทั้งสี่กระทงละ 25 ปี รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 50 ปี ก็มิใช่การพิพากษายืน คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสี่มีสิทธิฎีกาได้ แต่ก็ต้องฎีกาในปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ และปัญหาเรื่องขอให้ลงโทษสถานเบาซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และจำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับสารภาพถือว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การริบของกลาง และการบวกโทษคดีเก่า การพิจารณาโทษที่เหมาะสม
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 116 บัญญัติว่า "บรรดาวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น" เมื่อคีตามีนถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทั้งที่เป็นบทเฉพาะและบททั่วไปมีความสอดคล้องต้องกัน แสดงให้เห็นว่ามีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ริบคีตามีนของกลางด้วยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการริบของกลางตามกฎหมาย
ความผิดฐานมี 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสอง (2) ที่แก้ไขใหม่ แตกต่างจากกฎหมายเดิมในมาตรา 15 วรรคสอง เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ สำหรับความผิดฐานจำหน่าย 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน บทความผิดสำหรับความผิดทั้งสองฐานจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้เป็นการมิชอบ คดีนี้ 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม ความผิดทั้งสองฐานต้องด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา 66 วรรคสอง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกรณีโทษจำคุกเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ส่วนโทษปรับตามกฎหมายเดิมมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยเช่นกัน เพราะในขณะจำเลยกระทำ ความผิดแม้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะมีโทษจำคุกและปรับด้วย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า เมื่อไม่ลงโทษปรับย่อมไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 บัญญัติว่า "?ให้ริบเสียทั้งสิ้น" และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น?" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลาง แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องแล้วว่า เจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยไว้นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่พิพากษาเป็นต้นไป แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้
ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยเช่นกัน เพราะในขณะจำเลยกระทำ ความผิดแม้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะมีโทษจำคุกและปรับด้วย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า เมื่อไม่ลงโทษปรับย่อมไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 บัญญัติว่า "?ให้ริบเสียทั้งสิ้น" และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น?" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลาง แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องแล้วว่า เจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยไว้นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่พิพากษาเป็นต้นไป แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6391/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การตรวจค้นและรับซื้อทรัพย์สินที่ได้จากการลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับทรัพย์สินที่ถูกขโมย
การที่จำเลยที่ 1 รับอยู่แล้วว่าของกลางถูกยึดจากบ้านจำเลยที่ 1 ตามบันทึกการตรวจค้นก็ปรากฏมีลายมือชื่อผู้ครอบครองบ้านลงรับรองไว้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย โดยมิได้มีการบังคับขู่เข็ญ เหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ซัดทอดว่าลักเอาทรัพย์ไปขายให้แก่จำเลยที่ 1 การไปตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นเรื่องของการกลั่นแกล้ง ส่วนการตรวจค้นจะมิชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นการค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นเรื่องจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดขับรถเสพยาเสพติด: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและบทลงโทษที่เหมาะสม
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ และฉบับที่ 135ฯ ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทเอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทเอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยกับมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ จำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้ต่อมามี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 6)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 43 ทวิ และมาตรา 157 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4)ฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน และมี พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8)ฯ มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 127 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4)ฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย แต่ก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 26 ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ เป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวน, การรับฟังพยาน, และการโต้แย้งพยานหลักฐานในคดีอาญา
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบคำวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยคดีอาญา และสิทธิจำเลยในการซักค้านพยาน
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสั่งจองรถ: การคืนรถยนต์และเงินมัดจำเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย
โจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยได้วางเงินมัดจำเป็นเช็คจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งได้ตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ยกเลิกการสั่งจองและจำเลยได้คืนเงินมัดจำที่ได้รับไว้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้ว แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญาการจองรถที่มีอยู่ต่อกันนั้นโดยปริยาย กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง