คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 423

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการอายัดเช็ค การฟ้องร้อง และค่าเสียหายทางละเมิด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายถ้วยแก้วขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงชอบแล้ว จำเลยผิดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศเพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวพาดพิงเพื่อปกป้องตนเองจากความไม่เป็นธรรมจากการช่วยเหลือผู้กระทำผิด ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์มีส่วนทำให้ข้อเท็จจริงในกรณีพิพาทระหว่างจำเลยกับ ห.บิดเบือน จนเป็นเหตุให้จำเลยถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษโดยไม่เป็นธรรมจำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า เหตุที่จำเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นเพราะการกระทำของโจทก์ การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสอบสวนโดยกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ดังข้อความตามฟ้องจึงเป็นการไขข่าวซึ่งมีส่วนเป็นความจริงและจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนและส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไขข่าวโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนและส่วนได้เสีย ไม่เป็นละเมิด แม้ข้อความบางส่วนบิดเบือนข้อเท็จจริง
โจทก์มีส่วนทำให้ข้อเท็จจริงในกรณีพิพาทระหว่างจำเลยกับ ห. บิดเบือน จนเป็นเหตุให้จำเลยถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษโดยไม่เป็นธรรม จำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า เหตุที่จำเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นเพราะการกระทำของโจทก์ การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสอบสวนโดยกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ดังข้อความตามฟ้อง จึงเป็นการไขข่าวซึ่งมีส่วนเป็นความจริงและจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนและส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไขข่าวความจริงเพื่อป้องกันตนและส่วนได้เสีย ไม่เป็นละเมิด
โจทก์มีส่วนทำให้ข้อเท็จจริงในกรณีพิพาทระหว่างจำเลยกับ ห. บิดเบือน จนเป็นเหตุให้จำเลยถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษโดยไม่เป็นธรรม จำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า เหตุที่จำเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นเพราะการกระทำของโจทก์ การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสอบสวนโดยกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ดังข้อความตามฟ้อง จึงเป็นการไขข่าวซึ่งมีส่วนเป็นความจริงและจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนและส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและการพิจารณาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณาแต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้ เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาคและคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานจากสำนวนคดีอาญาในคดีแพ่ง และการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตโดยไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่7 เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณา แต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค และคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาและแพ่งโดยสุจริตจากข้อพิรุธในการซื้อขาย และการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันตนเอง ไม่เป็นการละเมิด
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากโจทก์ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงว่าหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกมัดจำคืน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินที่โจทก์สร้างอาคารชุดนั้นไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ นอกจากนี้พฤติการณ์การก่อสร้างอาคารของโจทก์ยังมีข้อพิรุธอื่น ๆ ที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าโจทก์ฉ้อโกงจำเลย ดังนี้ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตจำเลยหาได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงนั้นเป็นการโต้ตอบโจทก์เนื่องจากโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งทวงเงินค่างวดและริบมัดจำด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาและแพ่งโดยสุจริตจากข้อพิรุธในการซื้อขาย และการให้ข่าวเพื่อป้องกันตนเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จากโจทก์ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงว่าหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกมัดจำคืน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินที่โจทก์สร้างอาคารชุดนั้นไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ นอกจากนี้พฤติการณ์การก่อสร้างอาคารของโจทก์ยังมีข้อพิรุธอื่น ๆ ที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าโจทก์ฉ้อโกงจำเลย ดังนี้ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตจำเลยหาได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงนั้นเป็นการโต้ตอบ โจทก์ เนื่องจากโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งทวงเงินค่างวดและริบมัดจำด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสิทธิ์รัฐสภาและการคุ้มครองการถ่ายทอดเสียงการประชุม กรณีกล่าวหาผู้อื่นเสียหาย
จำเลยที่1เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวอภิปรายในการประชุม ร่วมกัน ของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย มีข้อความพาดพิงมาถึงโจทก์ว่าหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นข้อความฝ่าฝืน ต่อความจริง ซึ่งจำเลยที่1ไม่รู้แน่จริงขึ้นมายืนยันฉะนั้นข้อความที่จำเลยที่1 กล่าวหาโจทก์ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์แต่คำกล่าวอภิปราย ของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวถ้อยคำไปในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการพิจารณางบประมาณรายจ่าย ของรัฐโดยตรงจำเลยที่ 1 ย่อมได้ รับเอกสิทธิ์ ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้อง ว่ากล่าวในทางใดมิได้ เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครอง โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521 มาตรา 114 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาดังกล่าว เป็นการถ่ายทอดเสียงทันทีทันใดจากการประชุมจึงมิใช่เป็นการโฆษณา รายงานการประชุมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114วรรคสอง ย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายดังกล่าว ได้กระทำตามคำสั่งของประธานรัฐสภาและตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามลำดับขั้นตอนทุกประการการกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายแม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 กล่าวอภิปรายจะเป็นที่เสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ก็ได้รับนิรโทษกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรกหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่ (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสิทธิ์รัฐสภาและการคุ้มครองจากการฟ้องละเมิด กรณีอภิปรายและถ่ายทอดเสียงในที่ประชุม
จำเลยที่1 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวอภิปรายในการประชุม ร่วมกัน ของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย มีข้อความพาดพิงมาถึงโจทก์ว่าหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นข้อความฝ่าฝืน ต่อความจริง ซึ่ง จำเลยที่1 ไม่รู้แน่จริงขึ้นมายืนยัน ฉะนั้น ข้อความที่จำเลยที่1 กล่าวหาโจทก์ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชื่อเสียง เกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์ แต่คำกล่าวอภิปราย ของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวถ้อยคำไปใน ทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการ พิจารณางบประมาณรายจ่าย ของรัฐโดยตรง จำเลยที่ 1 ย่อมได้ รับเอกสิทธิ์ ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้อง ว่ากล่าวในทาง ใดมิได้ เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครอง โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาดังกล่าว เป็นการถ่ายทอดเสียงทันทีทันใดจากการประชุม จึงมิใช่เป็นการโฆษณา รายงานการประชุม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114 วรรคสอง ย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายดังกล่าว ได้กระทำตามคำสั่งของประธานรัฐสภาและตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามลำดับขั้นตอนทุกประการ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายแม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 กล่าวอภิปรายจะเป็นที่เสียหาย แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ได้รับนิรโทษกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรก หาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2528)
of 10