พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองเอกสารทางการต่างประเทศ และการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดเพื่อเป็นคู่ความ
เอกสารคำแปลฉบับภาษาอังกฤษของใบมรณบัตรและใบสูติบัตรมีสำเนาเอกสารเป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้นแนบท้ายและมีตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตไทยประทับรับรอง ศาลจึงรับฟังข้อความในฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติถึงอายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทอ้างว่าเจ้ามรดกต้องรับผิดเพราะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ คดีย่อมอยู่ในบังคับอายุความมาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันแพงทำให้แหล่งเงินที่จำเลยขอกู้และหยิบยืมไม่มีเงินให้จำเลย จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาวางเป็นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาการค้าระหว่าประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเนื่องจากไม่มาศาล ถือว่าคดีถึงที่สุด และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องไกล่เกลี่ย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาว่า "นัดฟังคำพิพากษาฎีกาวันนี้ โจทก์ทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วแต่ไม่มาศาล จึงให้งดการอ่าน และถือว่าคำพิพากษาได้อ่านให้โจทก์ทั้งสามฟังตามกฎหมาย" กรณีดังกล่าวจึงถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างเหตุที่ไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะเจ็บป่วย ก็ไม่เป็นเหตุให้ต้องมีการนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์ที่ 1 ฟังใหม่ และถือว่าคดีถึงที่สุดในวันที่ถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไกล่เกลี่ยในวันถัดจากวันที่คดีถึงที่สุด จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาตามคำร้องของโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36-37/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: โจทก์พิสูจน์สิทธิในเครื่องหมายการค้า JET และรูปหัวสิงโตไม่ได้ แม้จำเลยขาดการต่ออายุ
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า JET และรูปหัวสิงโตประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งยกเลิกการอนุญาตการโอนนั้นยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สิทธิที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมมีอยู่ต่อกันตามสัญญาโอนเครื่องหมายการค้าเสียไป เพราะเหตุว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง และยังคงถือว่าจำเลยร่วมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี หากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปหัวสิงโตประดิษฐ์ ซึ่งการจดทะเบียนที่เมืองฮ่องกง โจทก์เป็นรายแรกที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า JET และรูปหัวสิงโตประดิษฐ์กับสินค้าบุหรี่หลังจากที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เมืองฮ่องกงแล้ว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพิกถอนก็เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยนิตินัย แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าต่อมาในภายหลัง จำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัยเนื่องจากการใช้ได้
จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า JET และรูปหัวสิงโตประดิษฐ์ในการจำหน่ายสินค้าบุหรี่ โดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าบุหรี่ดังกล่าวของโจทก์ ย่อมไม่อาจทำให้โจทก์ซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารดังกล่าวในประเทศไทยมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดการต่อทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก็ตาม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปหัวสิงโตประดิษฐ์ ซึ่งการจดทะเบียนที่เมืองฮ่องกง โจทก์เป็นรายแรกที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า JET และรูปหัวสิงโตประดิษฐ์กับสินค้าบุหรี่หลังจากที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เมืองฮ่องกงแล้ว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพิกถอนก็เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยนิตินัย แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าต่อมาในภายหลัง จำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัยเนื่องจากการใช้ได้
จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า JET และรูปหัวสิงโตประดิษฐ์ในการจำหน่ายสินค้าบุหรี่ โดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าบุหรี่ดังกล่าวของโจทก์ ย่อมไม่อาจทำให้โจทก์ซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารดังกล่าวในประเทศไทยมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดการต่อทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่คล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ใช่การสร้างสรรค์ใหม่
รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามสิทธิบัตรทั้ง 2 คำขอคล้ายกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เสาอากาศรับสัญญาณที่มีผู้อื่นเปิดเผยและเผยแพร่มาก่อน แม้รูปแบบปีกของจำเลยทำให้การรับสัญญาณดีขึ้นก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ มิใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 57 (1) (2) (3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องเพิกถอนหากไม่ใช่การออกแบบใหม่ & ไม่เสียหายจากการแสดงสิทธิบัตร
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลไว้ การจะนำคดีมาสู่ศาลจึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอรับสิทธิบัตร
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8721/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชาห่อเดียวไม่ถือเป็นผลิตกัญชา, ความผิดฐานครอบครอง-จำหน่ายเป็นกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่า จำเลยผลิตกัญชาโดยการแบ่งบรรจุออกเป็นห่อ ๆ แต่กลับบรรยายความต่อไปว่า จำเลยมีกัญชาแห้งไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 1 ห่อ น้ำหนัก 0.57 กรัม และที่เป็นห่อไม่ทราบจำนวนและน้ำหนัก และจำเลยจำหน่ายกัญชาแห้งที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 1 ห่อ ดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับบรรยายฟ้องตอนท้ายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดได้กัญชาแห้งที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อเป็นของกลาง แสดงว่านอกจากกัญชาแห้ง 1 ห่อ ที่เจ้าพนักงานยึดได้จากจำเลยแล้ว ไม่มีกัญชาจำนวนอื่นอีก ที่โจทก์อ้างในฎีกาว่า จำเลยจำหน่ายกัญชาแห้งให้สายลับ 1 ห่อ ทั้งยังรับว่าได้นำกัญชามาแบ่งใส่ห่อเพื่อจำหน่ายให้แก่เพื่อน ๆ ไม่ทราบจำนวนและน้ำหนักนั้น กลับปรากฏตามบันทึกการจับกุมที่แนบท้ายคำร้องขอฝากขังว่า จำเลยให้การว่ากัญชาของกลางเป็นของ ต. ซึ่งจำเลยได้แบ่งมาเพื่อจำหน่ายต่อ ดังนี้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่เมื่อกัญชาของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีเพียงห่อเดียวและจำเลยจำหน่ายให้สายลับไปทั้งหมดโดยไม่มีการแบ่งบรรจุเป็นจำนวนอื่นอีก การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยการแบ่งบรรจุ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ส่วนความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชานั้น เมื่อได้ความตามฟ้องว่าเป็นกัญชาจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นความผิดสองกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีเกินกำหนดตามวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้นๆ ได้ และมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักถามพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อไป
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง