พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข่าวข้อเท็จจริงที่สืบได้โดยสุจริตเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่น ๆ มากการซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริง ๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใครขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติส่อไปในทางทุจริตถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อความต่อสาธารณชนโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเองและสหกรณ์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์ โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่นๆ มาก การซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริงๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใคร ขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้ เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ส่อไปในทางทุจริต.ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและผลกระทบต่อชื่อเสียง การแก้ไขข่าว และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงจากสื่อสิ่งพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการหมิ่นประมาทไม่เชื่อมโยงกับการค้าขาย - การพิสูจน์ความเสียหายเป็นหน้าที่โจทก์
การที่จำเลยด่าบุตรโจทก์อันมีความหมายทำนองว่า โจทก์และบุพการีเป็นคนสำส่อน มีบุตรกับชายอื่นซึ่งมิใช่สามีของตนนั้น เป็นความเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงและตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับการค้าขายของโจทก์ โจทก์จะอ้างว่าประชาชนดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากรายได้จากการค้าขายของโจทก์ตกต่ำลงหลังเกิดเหตุได้ไม่ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุมาก
ในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เป็นฝ่ายที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าตนได้เสียหายจริงตามจำนวนที่ฟ้องเรียกร้องจากจำเลย
ในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เป็นฝ่ายที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าตนได้เสียหายจริงตามจำนวนที่ฟ้องเรียกร้องจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการหมิ่นประมาททางวาจา ไม่เชื่อมโยงกับการค้าขาย การพิสูจน์ความเสียหายเป็นหน้าที่ของโจทก์
การที่จำเลยด่าบุตรโจทก์อันมีความหมายทำนองว่า โจทก์และบุพการีเป็นคนสำส่อน มีบุตรกับชายอื่นซึ่งมิใช่สามีของตนนั้น เป็นความเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงและตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับการค้าขายของโจทก์ โจทก์จะอ้างว่าประชาชนดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากรายได้จากการค้าขายของโจทก์ตกต่ำลงหลังเกิดเหตุหาได้ไม่เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุมาก
ในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เป็นฝ่ายที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าตนได้เสียหายจริงตามจำนวนที่ฟ้องเรียกร้องจากจำเลย
ในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เป็นฝ่ายที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าตนได้เสียหายจริงตามจำนวนที่ฟ้องเรียกร้องจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-764/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้เรื่องโมฆะของสัญญาจำนอง และสิทธิในการนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์การชำระหนี้
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนอง จำเลยต่อสู้ว่าสัญญาจำนองทำกันหลอก ๆไม่มีการชำระเงินกันจริง เท่ากับปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ชอบที่จำเลยจะนำสืบให้ได้ความจริงตามข้อต่อสู้ของตน ไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามโจทก์เกี่ยวกับรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายเงินให้ไปล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่คู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบกันต่อไป
การนำคดีมาฟ้องศาลขอให้บังคับผู้จำนองใช้หนี้ตามสัญญาจำนอง เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้รับจำนองที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับจำนองใช้สิทธินี้โดยไม่สุจริต หรือโดยประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จำนองโดยมิชอบแต่อย่างใด ผู้รับจำนองก็ไม่ต้องรับผิด
การนำคดีมาฟ้องศาลขอให้บังคับผู้จำนองใช้หนี้ตามสัญญาจำนอง เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้รับจำนองที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับจำนองใช้สิทธินี้โดยไม่สุจริต หรือโดยประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จำนองโดยมิชอบแต่อย่างใด ผู้รับจำนองก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-764/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องสัญญาจำนองหลอกลวงและการพิสูจน์มูลหนี้: สิทธิในการนำสืบและขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนอง จำเลยต่อสู้ว่าสัญญาจำนองทำกันหลอก ๆ ไม่มีการชำระเงินกันจริง เท่ากับปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ชอบที่จำเลยจะนำสืบให้ได้ความจริงตามข้อต่อสู้ของตน ไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามโจทก์เกี่ยวกับรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายเงินให้ไปล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่คู่ความมีสิทธิ์ที่จะนำสืบกันต่อไป
การนำคดีมาฟ้องศาลขอให้บังคับผู้จำนองใช้หนี้ตามสัญญาจำนอง เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของผู้รับจำนองที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับจำนองใช้สิทธิ์นี้โดยไม่สุจริตหรือโดยประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จำนองโดยมิชอบแต่อย่างใด ผู้รับจำนองก็ไม่ต้องรับผิด
การนำคดีมาฟ้องศาลขอให้บังคับผู้จำนองใช้หนี้ตามสัญญาจำนอง เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของผู้รับจำนองที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับจำนองใช้สิทธิ์นี้โดยไม่สุจริตหรือโดยประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จำนองโดยมิชอบแต่อย่างใด ผู้รับจำนองก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเจ้าพนักงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือเป็นการละเมิด หากข้อความนั้นเป็นความจริงและสุจริต
จำเลยยื่นคำร้องทุกข์ไปยังผู้บังคับบัญชากลางโจทก์ กล่าวหาว่าโจทก์กลั่นแกล้งให้จำเลยได้รับความเดือดร้อน โดยบรรยายรายละเอียดด้วยว่า โจทก์กระทำอย่างใดต่อจำเลยบ้าง แล้วขอให้สั่งสอบสวนพฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อจำเลยนั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าพฤติการณ์ตามที่จำเลยร้องเรียนไปนั้นเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยจริง จำเลยกล่าวไปโดยไม่มีข้อความที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนความจริง แม้ผลของการสอบสวนโจทก์จะปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำการไปตามหน้าที่ราชการแล้ว โจทก์ก็จะอ้างว่าคำร้องของจำเลยที่ว่าโจทก์กลั่นแกล้งนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเจ้าหน้าที่โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้การสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่
จำเลยยื่นคำร้องทุกข์ไปยังผู้บังคับบัญชาของโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์กลั่นแกล้งให้จำเลยได้รับความเดือดร้อน โดยบรรยายรายละเอียดด้วยว่าโจทก์กระทำอย่างใดต่อจำเลยบ้าง แล้วขอให้สั่งสอบสวนพฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อจำเลยนั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าพฤติการณ์ตามที่จำเลยร้องเรียนไปนั้นเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยจริงจำเลยกล่าวไปโดยไม่มีข้อความที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนความจริง แม้ผลของการสอบสวนโจทก์จะปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการไปตามหน้าที่ราชการแล้ว โจทก์ก็จะอ้างว่าคำร้องของจำเลยที่ว่าโจทก์กลั่นแกล้งนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดโจทก์