พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่ หากมีลักษณะคล้ายกับที่เปิดเผยก่อนยื่นคำขอ ย่อมถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์
แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรมีลักษณะที่แท้จริงเป็นหลอดดูดชนิดยืดหดได้ โดยมีส่วนปลายตัดเฉียงเช่นเดียวกับหลอดดูด ซึ่งโจทก์เป็นผู้ผลิต แสดงว่าลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยมีความคล้ายกันกับของโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าหลอดดูดของจำเลยไม่มีลักษณะเป็นหลอดหลบซ่อนอยู่ข้างในอย่างหลอดดูดของโจทก์ หากมีลักษณะเหมือนพู่กันทาปากซึ่งเวลาใช้งานจะถอดส่วนหัวนำมาเสียบด้านล่างก็ตาม แต่การพิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์วัตถุมุ่งเน้นที่รูปทรงหรือแบบที่ปรากฏให้เห็นภายนอก โดยไม่คำนึงถึงวิธีการใช้หรือเทคนิคการใช้งานของวัตถุ ซึ่งแบบผลิตภัณฑ์วัตถุที่จะถือว่ามีความใหม่นั้นต้องมีความแตกต่างชัดเจนมากเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ เมื่อปรากฏว่าหลอดดูดของจำเลยตามภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 6 มีรูปทรงภายนอกคล้ายกันกับหลอดดูดของโจทก์ ทั้งยังมีรูปทรงภายนอกคล้ายกับภาพหลอดดูดที่ได้มีการขอจดสิทธิบัตรไว้นอกราชอาณาจักรอีกหลายประเทศ แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรจึงมีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ข้ออ้างเกี่ยวกับลักษณะหลอดดูดของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคการใช้งานไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการตรวจสอบความใหม่ในกรณีนี้
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8066/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระบุเวลาเกิดเหตุชัดเจน และไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุขหากกฎหมายได้ระบุประเภทของยาเสพติดไว้แล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ระบุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าเกิดการกระทำความผิดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ชัดแจ้งและทำให้จำเลยเข้าใจได้ดียิ่งกว่าบรรยายว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนเสียอีก จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาแห้งอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายซึ่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (5) ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องการระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 อีก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาแห้งอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายซึ่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (5) ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องการระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวกับการบังคับคดี: เจ้าหนี้อื่นต้องดำเนินการยึดทรัพย์จากศาลที่ออกหมายยึดชั่วคราว
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราวเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิดและพยานหลักฐานต้องสอดคล้องกัน
หนังสือขอแจ้งความร้องทุกข์กรณีมีการละเมิดลิขสิทธิ์มีข้อความปรากฏอยู่ว่า "... บริษัท อ. ได้รับความเสียหาย โดยปรากฏพบผู้กระทำความผิดดังกล่าว ณ สถานที่ดังนี้... (7) อำเภอกุยบุรี... จึงขอร้องทุกข์ต่อท่านเพื่อโปรดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย..." ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมมีความประสงค์ที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา: ศาลฎีกายกฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ แม้เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงข้อเท็จจริงมีใจความว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งแม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เนื่องจากโจทก์จำเลยนำสืบมีสาระตรงกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายรู้จักกับจำเลยจากการแนะนำของนางสาว ศ. ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เสียหาย เพราะจำเลยต้องการร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย และในวันเกิดเหตุผู้เสียหายกับนางสาว ศ. พากันไปบ้านจำเลย โดยผู้เสียหายทราบแต่แรกแล้วว่าการไปบ้านจำเลยเพราะจำเลยประสงค์จะขอร่วมประเวณี เมื่อมีโอกาสอยู่ด้วยกันสองคนขณะนางสาว ศ. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านจำเลยไป จำเลยบอกให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็ถอดเอง หลังจากร่วมประเวณีแล้วผู้เสียหายก็ยอมรับเงินจากจำเลยโดยไม่ได้แสดงอาการปฏิเสธ และเมื่อนางสาว ศ. กลับมารับผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้ขัดขวาง กอปรกับขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี มีการศึกษาถึงระดับมัธยมและไม่ถึงกับไร้เดียงสา เพราะผู้เสียหายได้ยอมรับในการเบิกความตอบคำถามค้านว่า ผู้เสียหายเคยร่วมประเวณีกับชายอื่นมาก่อน แสดงว่าขณะผู้เสียหายอยู่ที่บ้านจำเลย ผู้เสียหายมีความอิสระในการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ในความควบคุมของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการตัดอำนาจการปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย จึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ดังนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้แม้ว่าความผิดฐานนี้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7716/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่และมิได้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป การฉีดพลาสติกขึ้นรูปไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่
อนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ใช้ชื่อและแสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียว โดยมีคำอธิบายส่วนภูมิหลังว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยลดความเสียหายจากขั้นตอนของการต่อชิ้นส่วน หากผู้ประกอบไม่ชำนาญพอ และอื่นๆ โดยมีข้อถือสิทธิในวิธีการประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะซึ่งทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวและมีบทสรุปว่า โต๊ะมีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะที่ขึ้นรูปครั้งเดียว ความสำคัญของอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นเรื่องของกรรมวิธีการประดิษฐ์เมื่อชุดขาโต๊ะตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยทำการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวตรงกับฟ้องโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 นว วรรคสองแล้ว
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622-7623/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการครอบครองยาเสพติด ฟ้องซ้อน และการจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษ
การที่จำเลยที่ 5 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มาส่งให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างทางถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและยึดเมทแอมเฟตามีนได้เสียก่อน จำเลยที่ 4 ยังไม่ได้รับมอบการครอบครองเมทแอมเฟตามีนจากผู้ขาย จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 4 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการขนส่งเมทแอมเฟตามีนเพื่อให้ถึงปลายทาง และการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 ขณะกระทำความผิดเนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยที่ 5 อยู่ระหว่างถูกจับกุมและการจับกุมยังไม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 86 เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว เมื่อข้อแตกต่างมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7585/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การฟ้องเรียกหนี้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จำนวนเงินดอกเบี้ยในฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลปรับปรุงได้ และอายุความดอกเบี้ย
ตามคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ย แม้จำนวนเงินค่าดอกเบี้ยจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็เป็นเรื่องการเรียกดอกเบี้ยผิดพลาดเท่านั้น ศาลย่อมจะคิดคำนวนให้ถูกต้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ จำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด เมื่อใด และจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว กับคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการชำระหนี้โดยหักเงินจากผู้จ่ายเงินของจำเลย ศาลไม่อาจบังคับได้หากบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา
ในสัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยยินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินหักเงินได้รายเดือนของจำเลยตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระส่งชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตั้งแต่มาตรา 271 ถึงมาตรา 323 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์กับจำเลยจะตกลงกันให้บังคับคดีโดยวิธีการอย่างอื่นไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์มีสิทธิขอรับเงินได้รายเดือนจากผู้มีอำนาจจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมจนกว่าจะครบถ้วนนั้น เท่ากับยินยอมให้โจทก์ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้มีอำนาจหักเงินรายได้ของจำเลยได้โดยไม่ต้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและไม่ต้องดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลย จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจสั่งให้ได้
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำเลยหลอกลวง ส. ผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงอันควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยประสงค์จะขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 119511 ให้ผู้เสียหายโดยมีเงื่อนไขว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด" ย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว