พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความครบถ้วนขององค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การแสดงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมหลังคดีถึงที่สุด และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงที่สุดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอีกว่า โจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจะให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมอย่างไรจึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบังคับคดีให้แก่โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ซึ่งตามคำร้องดังกล่าวของโจทก์เป็นคำร้องที่ยื่นในชั้นบังคับคดี คู่ความย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ ไม่อยู่บังคับของมาตรา 138
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6821/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: ไม่เริ่มนับหากถูกควบคุมในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมและควบคุมในคดีอื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาคดีนี้ให้จำเลยทราบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมในคดีนี้ การนับระยะเวลาเพื่อฟ้องคดีตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ยังไม่เกิดขึ้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศไม่ได้รับการคุ้มครองในไทย หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากต่างประเทศจึงไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดในไทย
สิทธิบัตรที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ต้องเป็นสิทธิบัตรที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พร้อมทั้งเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านการตรวจสอบว่ามีลักษณะครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว อธิบดีจึงจะออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอตามมตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว สิทธิบัตรที่ออกโดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจึงจะได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรไทยตามทฤษฎีสากลในเรื่องหลักดินแดนซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรจะบังคับใช้สิทธิของตนได้เฉพาะแต่ภายในเขตอำนาจอธิปไตยของประเทศที่ออกสิทธิบัตรนั้นเท่านั้นไม่อาจบังคับใช้สิทธิของตนต่อการกระทำละเมิดเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของประเทศนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจต่อเนื่องครบถ้วนทุกทอด
แม้โจทก์จะมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท จ. ผู้เสียหาย มาเป็นหลักฐานว่าผู้เสียหายมอบอำนาจทอดที่ 1 ให้ ค. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงในทอดที่ 2 ให้บริษัท พ. ดำเนินคดีแทน กับระบุให้บริษัท พ. มอบอำนาจช่วงในทอดที่ 3 ให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนได้ กับมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท พ. มาเป็นหลักฐานว่าบริษัท พ. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 3 ให้ ณ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแทนผู้เสียหายได้ก็ตาม แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จาก ค. ว่า ค. ได้มอบอำนาจให้บริษัท พ. หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดดำเนินคดีนี้แทนผู้เสียหาย แม้โจทก์จะมี ณ. มาให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนว่า ตนได้รับมอบอำนาจจากบริษัท พ. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ค. ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของผู้มอบอำนาจในทอดที่ 3 เท่านั้นไม่ใช่หลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้ว่า ค. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 2 ให้แก่บริษัท พ. ดำเนินคดีนี้แทน ดังนั้น ณ. ซึ่งได้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัท พ. จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบ อันเป็นผลให้การฟ้องคดีของโจทก์ไม่ชอบไปด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง, 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยในการพิจารณาคดีหย่าสำหรับคนต่างชาติ และเหตุหย่าตามกฎหมายไทย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ ซึ่งหมายความว่ากฎหมายของประเทศตามสัญชาติคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างต้องมีบทบัญญัติกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหย่าหรือเหตุหย่าไว้ ศาลไทยจึงจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้หย่าขาดจากกันได้ มิใช่ต้องเป็นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นคนสัญชาติอเมริกัน ตามกฎหมายของรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเงื่อนไขการหย่าไว้และบทบัญญัติของกฎหมายของประเทศไทยก็ระบุเงื่อนไขการฟ้องหย่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถูกจำกัด
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาชิงทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับโดยเห็นว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83, 339 วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี จำคุก 4 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี ข้อหาชิงทรัพย์ให้ยก กรณีจึงเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124" เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยคดีของโจทก์จึงยุติไปตามคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจแก้ไขโทษของศาลฎีกา
บทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต และลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่วางโทษปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: การแจ้งเบาะแสไม่ถึงขั้นลดโทษขั้นต่ำ และการแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลเบาะแสถึงเฮโรอีนของกลางซึ่งพยานโจทก์ไม่มีผู้ใดรู้เห็นและทราบมาก่อน ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาตรวจค้นจนกระทั่งพบเฮโรอีนของกลางเพียงประมาณครึ่งชั่วโมง ลักษณะการซุกซ่อนเฮโรอีนของกลางภายในห้องพักของจำเลยที่ 1 ย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถค้นพบได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการแจ้งเบาะแสของจำเลยที่ 1 ไม่อาจนับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้สมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
ตามบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษปรับได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษปรับได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลช่วยเหลือคดีช่วยลดโทษจำคุกในคดียาเสพติด
ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน และรายละเอียดอื่น ๆ ของ ช. ผู้ที่ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสามขนยาเสพติดให้โทษของกลางไปส่งให้แก่ลูกค้า เมื่อพนักงานสอบสวนให้ดูรูปถ่ายของ ส. จำเลยทั้งสามยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับ ข. จริง จนเป็นเหตุให้มีการออกหมายจับ ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวน จึงเห็นสมควรวางโทษต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 เมื่อเหตุที่ศาลฎีกาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนฎีกาซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225