พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากการประดิษฐ์มีอยู่แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร แม้ผู้ขอเป็นผู้เผยแพร่เอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้นั้น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ บัญญัติไว้ 2 อนุมาตรา รวมความว่า ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปัญหาความใหม่นั้น เมื่อพิจารณามาตรา 65 ทศ ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 6 และอีกหลายมาตราในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มาใช้บังคับกับหมวดว่าด้วยอนุสิทธิบัตรโดยอนุโลม โดยในมาตรา 6 วรรคแรก บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และในวรรคสองบัญญัติว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วให้หมายความถึงการประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ นอกจากนี้ ในมาตรา 6 วรรคท้าย บัญญัติความตอนหนึ่งว่า การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตรมิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์จำหน่ายเทปโฟมกาวสองหน้ามาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 แล้ว การประดิษฐ์ดังกล่าวของโจทก์จึงมีหรือใช้อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร และการที่โจทก์จำหน่ายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดย่อมเป็นการจำหน่ายแพร่หลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 วรรคสอง อนุมาตรา (1) ดังกล่าว และถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์ต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ ตามอนุมาตรา (2) ด้วย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่าการประดิษฐ์ของโจทก์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งมาก การประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถึงแม้โจทก์จะเป็นผู้ทำให้เทปโฟมกาวสองหน้านั้นมีหรือใช้แพร่หลาย และเป็นผู้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์นั้นเองดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกระทำเกินกว่ากำหนดเวลาสิบสองเดือนก่อนโจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตร กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 6 วรรคท้าย ที่จะไม่ถือว่าเป็นการทำให้แพร่หลายและเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดการประดิษฐ์ก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร เทปโฟมกาวสองหน้าซึ่งเป็นการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 แม้โจทก์ได้รับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ก็เป็นอนุสิทธิบัตรที่ได้ออกให้โดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามอนุสิทธิบัตร โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนสิทธิเด็ดขาดของโจทก์ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร และไม่อาจใช้มาตรการบังคับจำเลยทั้งสามตามสิทธิของอนุสิทธิบัตรนั้น ซึ่งศาลมีอำนาจยกความไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 65 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง: สัญญาขนส่งระหว่างประเทศ, การยอมรับเงื่อนไข, การรับช่วงสิทธิประกันภัย
บริษัท ก. โดยบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งมีข้อความกำหนดว่า เป็นการเข้าทำสัญญาตามเงื่อนไขด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และเงื่อนไขดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อความจำกัดความรับผิดว่าความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง เสียหาย ล่าช้า... ถูกจำกัดตามใบตราส่ง คือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่ง หรือ 9.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์ (20 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม) ที่ใบกำกับสินค้าระบุราคาสินค้าว่ามีมูลค่า 5,080 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่องมูลค่าการขนส่ง (Total Declared Value For Carriage) ระบุไว้เพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่าการขนส่งรายพิพาทนี้บริษัท ก. เจ้าของสินค้าได้มอบหมายให้บริษัท พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งแทน โดยมีพนักงานของบริษัทดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ส่ง ทั้งได้ความว่า มีประเพณีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศกำหนดไว้เช่นนั้น บริษัท ก. ได้ใช้บริการของจำเลยทั้งสองมาหลายครั้งจึงฟังได้ว่า บริษัท ก. ผู้ตราส่งยอมรับข้อตกลงตามเงื่อนไขข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 แล้ว จำเลยทั้งสองย่อมรับผิดต่อบริษัท ก. เป็นจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้หลังเสียชีวิต และความรับผิดของบริษัทประกัน
คดีอาญาที่พนักงานอัยการและโจทก์ซึ่งเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ทำมาหาได้จำกัดเฉพาะช่วงที่ผู้เสียหายยังมีชีวิต และการประเมินความรับผิดของจำเลยร่วม
ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง คือค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตาย แต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัด: จำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากสินค้าที่โจทก์ต้องขายราคาต่ำกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายขดม้วนโลหะรีดร้อนกับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ปริมาณ 10,000 เมตริกตัน ในราคา 2,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ กำหนดส่งสินค้าทางเรือในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2543 เป็นอย่างช้า ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2543 โจทก์ขนสินค้าเข้ามาในประเทศไทยพร้อมที่จะส่งมอบ วันที่ 7 กันยายน 2543 จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ว่า จำเลยทั้งสองประสบปัญหาทางการเงิน ขอเลื่อนการชำระเงินรวมทั้งบอกปัดในทำนองที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาด้วยการแจ้งให้โจทก์นำสินค้าไปขายให้แก่บุคคลอื่นก่อน โจทก์จึงขายสินค้าให้แก่บุคคลอื่นไปเพื่อบรรเทาความเสียหายได้เงินทั้งสิ้น 1,886,880 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้โจทก์ขาดทุน 413,120 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 แล้ว ไม่ได้เคลือบคลุมดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจัดทำเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายพิพาทกันไว้ สัญญาซื้อขายพิพาทจึงผูกพันคู่สัญญาและมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันทำสัญญา การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายพิพาทมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทด้วยการทำตั๋วแลกเงินและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายพิพาท
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายพิพาทโดยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ต้องขายสินค้าพิพาทให้แก่ผู้อื่นในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินที่โจทก์ควรจะได้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าว
ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ ส. ได้ความว่า พยานดังกล่าวทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่ติดต่อขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย พยานดังกล่าวให้การตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในเรื่องการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง การผิดสัญญาซื้อขายพิพาทของจำเลยทั้งสอง และความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การผิดสัญญาซื้อขายพิพาท พยานดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานโดยตรงจึงหาต้องห้ามมิให้รับฟังตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 เห็นว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งส่วนใหญ่เป็นต้นฉบับเอกสาร ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้คัดค้านสำเนาเอกสารฉบับใดของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างใด คงมีเพียงทนายจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าเอกสารหมาย จ. 20 ที่โจทก์นำส่งเป็นเพียงสำเนาเอกสารเท่านั้น เมื่อเอกสารหมาย จ. 20
ซึ่งมีถึง 63 แผ่นมีทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนา ทั้งเป็นเอกสารเกี่ยวกับค่าขนส่ง ค่าตรวจสอบสินค้า ค่านายหน้าและค่าระวางเรือ ซึ่งศาลมิได้นำเอกสารดังมากล่าวพิจารณาในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจัดทำเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายพิพาทกันไว้ สัญญาซื้อขายพิพาทจึงผูกพันคู่สัญญาและมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันทำสัญญา การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายพิพาทมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทด้วยการทำตั๋วแลกเงินและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายพิพาท
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายพิพาทโดยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ต้องขายสินค้าพิพาทให้แก่ผู้อื่นในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินที่โจทก์ควรจะได้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าว
ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ ส. ได้ความว่า พยานดังกล่าวทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่ติดต่อขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย พยานดังกล่าวให้การตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในเรื่องการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง การผิดสัญญาซื้อขายพิพาทของจำเลยทั้งสอง และความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การผิดสัญญาซื้อขายพิพาท พยานดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานโดยตรงจึงหาต้องห้ามมิให้รับฟังตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 เห็นว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งส่วนใหญ่เป็นต้นฉบับเอกสาร ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้คัดค้านสำเนาเอกสารฉบับใดของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างใด คงมีเพียงทนายจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าเอกสารหมาย จ. 20 ที่โจทก์นำส่งเป็นเพียงสำเนาเอกสารเท่านั้น เมื่อเอกสารหมาย จ. 20
ซึ่งมีถึง 63 แผ่นมีทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนา ทั้งเป็นเอกสารเกี่ยวกับค่าขนส่ง ค่าตรวจสอบสินค้า ค่านายหน้าและค่าระวางเรือ ซึ่งศาลมิได้นำเอกสารดังมากล่าวพิจารณาในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลสำคัญช่วยปราบปรามยาเสพติด: การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจับกุมผู้กระทำผิดมีผลต่อการลดโทษ
จำเลยที่ 2 ให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 รับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 3 และยืนยันภาพถ่ายของจำเลยที่ 3 ที่เจ้าพนักงานตำรวจนำมาให้ดู เป็นเหตุให้จับกุมจำเลยที่ 3 มาดำเนินคดีได้ นับว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ในชั้นสอบสวนนอกจากจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังให้การด้วยว่า ไม่เห็นการส่งมอบและผู้ที่ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยที่ 2 และไม่ทราบว่ามีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนกันอย่างไร ทั้งไม่รู้จักจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นชาวเขาเผ่าม้ง มีความรู้เพียงเขียนชื่อตนเองได้ แต่อ่านหนังสือไม่ออก และไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทยมากนัก ทำให้ไม่ค่อยได้ตอบคำถามของพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาเข้าใจภาษาไทยได้ดีกว่าจะเป็นคนตอบแทน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปรึกษากันเป็นภาษาม้งก่อนแล้วนั้น จำเลยที่ 1 มิได้มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว ทั้งยังขัดกับคำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจร่วมกับจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องให้โอกาสคู่ความคัดค้านคำร้องขอจำหน่ายคดีก่อนมีคำสั่ง
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่า คำขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น ก่อนที่จะไต่สวนหรือมีคำสั่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะให้โอกาสโจทก์คัดค้านคำร้องดังกล่าวของจำเลยก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) โดยมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องให้โอกาสคู่ความคัดค้านก่อนมีคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่า คำขอดังกล่าวอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น ก่อนที่จะไต่สวนหรือมีคำสั่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะให้โอกาสโจทก์คัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) โดยมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องเช่นว่านั้นแก่โจทก์ล่วงหน้า หากจะคัดค้านประการใดให้ยื่นเข้ามาภายในเวลาที่กำหนด การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพียงแต่หมายแจ้งวันนัดพร้อมไปยังโจทก์จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านคำร้องดังกล่าวของจำเลยได้ทันเพราะเพิ่งได้รับสำเนาคำร้องในวันนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนแล้วได้ความว่า ไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับจดทะเบียนบริษัทร้างเพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้ แม้มีสิทธิฟ้องผู้ชำระบัญชี
บริษัทซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง ทำให้ผู้ร้องซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากนายทะเบียน แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นฟ้องกรรมการของบริษัทดังกล่าวในฐานะผู้ชำระบัญชีให้ชำระหนี้ของบริษัทได้ เพราะผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 ก็ตาม ก็หาเป็นการตัดสิทธิของเจ้าหนี้ของบริษัทที่รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากทะเบียน จะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บริษัทดังกล่าวกลับจดชื่อคืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อดำเนินการเรียกร้องหนี้สินจากบริษัทโดยตรงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – การโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ และเหตุผลที่ไม่ได้รับประโยชน์ในการปราบปรามยาเสพติด
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะกำหนดโทษ โดยไม่แก้บทความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
เมื่อจำเลยถูกจับ เจ้าพนักงานตำรวจย่อมนำจำเลยไปค้นหายาเสพติดให้โทษที่บ้านจำเลยอยู่แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจในขณะจับกุมว่าจำเลยยังมีเมทแอมเฟตามีนอีก 800 เม็ด ที่บ้านจำเลย จึงไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้
เมื่อจำเลยถูกจับ เจ้าพนักงานตำรวจย่อมนำจำเลยไปค้นหายาเสพติดให้โทษที่บ้านจำเลยอยู่แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจในขณะจับกุมว่าจำเลยยังมีเมทแอมเฟตามีนอีก 800 เม็ด ที่บ้านจำเลย จึงไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้