คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกจากความผิด พ.ร.บ.จราจรและขนส่งทางบก อ้างอิงโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติด และการพิจารณาโทษปรับและรอการลงโทษ
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง กำหนดโทษให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง กำหนดโทษให้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ แต่ผู้กระทำผิดเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีความหมายอยู่ในตัวว่า กฎหมายกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง โดยอาศัยโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งมีโทษจำคุกด้วย มิใช่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุก เมื่อจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก กรณีจึงไม่อาจดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ข้อมูลนำไปยึดยาเสพติดเป็นประโยชน์ต่อการปราบปราม สมควรลดโทษจากอัตราขั้นต่ำ
การที่จำเลยให้ข้อมูลและนำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซุกซ่อนไว้ ทำให้ได้พยานหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีแก่จำเลยรวมทั้งยังทำให้เมทแอมเฟตามีนของกลางไม่มีโอกาสแพร่ระบาดต่อไปอีก นับว่าได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงการจำหน่ายยาเสพติด: จำเลยต้องมีความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายจริง จึงจะถือว่ามีการจำหน่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จากนั้นได้บรรยายความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันนั้นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ทำให้เข้าใจได้ว่าความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เกิดเพราะมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่ในทางนำสืบของโจทก์ยังไม่พอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และศาลชั้นต้นเพียงพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ยกฟ้องข้อหาอื่น ซึ่งมีความหมายว่า ยกฟ้องข้อหาจำหน่าย เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ในข้อหานี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ย่อมฟังเป็นยุติ แสดงว่ายังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่จำเลยอื่นแล้วตามฟ้องโจทก์ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจึงยังอยู่กับจำเลยที่ 1 จำเลยอื่นจึงไม่อาจมีความผิดตามฟ้องโจทก์ และข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ผู้มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอื่นไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2543) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ข้อ แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้มีปริมาณการจำหน่ายจำนวนมาก หรือมีการใช้หรือโฆษณาเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของการมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ดังนั้น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Carpro" ของจำเลยที่ 1 ที่แม้จะมีเสียงเรียกขานเป็นภาษาไทยเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ก็ไม่ขัดต่อมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของเครื่องหมาย, ลักษณะสินค้า และผลกระทบต่อการสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "SOFT CARE" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านเป็นรูปผู้หญิงโอบกอดทารกและมีอักษรโรมันคำว่า "CARE" และอักษรไทยคำว่า "แคร์" ประกอบอยู่ด้วย รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าและเสียงเรียกขานทั้งสองฝ่ายจึงแตกต่างกัน แม้จะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน แต่เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นแปรงสีฟัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขอจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นที่จ่ายสบู่เหลว รายการสินค้าของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจึงไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านหรือสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงไม่เกิดขึ้น แม้คำว่า "SOFT" จะแปลว่า "อ่อนนุ่ม" แต่เมื่อรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นที่จ่ายสบู่เหลว คำดังกล่าวจึงมิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ โจทก์จึงไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "SOFT CARE" จนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดตามมาตรา 7 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพราะกรณีที่จะต้องพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำกัดเฉพาะกรณีที่คำที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความแตกต่างของเครื่องหมาย, ลักษณะบ่งเฉพาะ, และรายการสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "SOFT CARE" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านเป็นรูปผู้หญิงโอบกอดทารกและมีอักษรโรมันคำว่า "CARE" และอักษรไทยคำว่า "แคร์" ประกอบอยู่ด้วย รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าและเสียงเรียกขานจึงแตกต่างกัน แม้จะใช้กับสินค้าจำพวก 21 เหมือนกัน แต่ผู้คัดค้านจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นแปรงสีฟัน ส่วนโจทก์ขอจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นที่จ่ายสบู่เหลว จึงไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านหรือสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงไม่เกิดขึ้น แม้คำว่า "SOFT" จะแปลว่า "อ่อนนุ่ม" แต่เมื่อรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นที่จ่ายสบู่เหลว คำดังกล่าวจึงมิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ โจทก์จึงไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "SOFT CARE" จนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดตามมาตรา 7 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: คำว่า ‘CREATING-CONCEPT’ ไม่บ่งเฉพาะ ต้องสละสิทธิ
อักษรโรมันคำว่า CREATING - CONCEPT เมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน ย่อมแปลได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ แม้จะมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่นอยู่ตรงกลางของคำทั้งสองก็ไม่ทำให้คำทั้งสองซึ่งมีความหมายอยู่แล้วกลายเป็นคำไม่มีความหมายไปได้ เมื่อเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้วจึงมิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นและไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) ประกอบมาตรา 80 อย่างไรก็ตาม คำที่มิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นอาจเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะได้ หากคำนั้นมิได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรง แต่บริการของโจทก์ตามรายการบริการในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเสนอความคิดให้แก่ลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ คำว่า CREATING - CONCEPT จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง
แม้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือองค์การค้าโลกจะรับจดทะเบียนคำว่า CREATING - CONCEPT การจดทะเบียนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย เพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้น ๆ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80
ส่วนการ์ตูนใบหน้าคล้ายรูปไข่หลับตาและยิ้ม มีลักษณะท่าทางเหมือนกำลังก้าวเดินขึ้นไปบนสายรุ้ง และที่ปลายสายรุ้งมีรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นภาพที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายบริการในส่วนนี้จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน หากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้วมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ แต่เครื่องหมายบริการดังกล่าวมีส่วนหนึ่งคือคำว่า CREATING - CONCEPT มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์สละสิทธิที่จะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาฐานความผิดและขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างประจำของกรมชลประทาน ตำแหน่งพนักงานผู้รักษาอาคารชลประทาน จำเลยมิใช่พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยโดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า การโอนสิทธิ และการละเมิดเครื่องหมายการค้า
จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้มีการดำเนินการจดทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องว่ากล่าวเอาจากอีกฝ่ายหนึ่งต่อไปฐานะที่เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงนั้น ไม่มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงเรื่องการเข้าร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเสียไป
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟังว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ร่วมกันเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาท ย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) และไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50
of 21