พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6325/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้สั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์หลายครั้ง แต่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. และธนาคาร ก. ได้ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 เกินกว่าค่าสินค้าที่ได้สั่งซื้อ ถือเป็นคำให้การที่ยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ชำระหนี้หมดแล้ว ซึ่งเป็นการยอมรับในมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่าได้ชำระหนี้หมดแล้วเพื่อไม่ต้องรับผิดตามฟ้องภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าได้ชำระหนี้หมดแล้วอย่างไร เช่นเดียวกัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้การรับว่าทำสัญญาค้ำประกันจริงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้บอกเลิกการค้ำประกันซึ่งโจทก์ได้ยอมรับและให้บุคคลอื่นเข้าค้ำประกันแทนแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 5 ย่อมมีภาระการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อไม่ต้องรับผิด เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามฟ้องเสร็จสิ้นกับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้มีการยกเลิกการค้ำประกันโดยโจทก์รับเอาบุคคลอื่นเข้าค้ำประกันแทนแล้วตามที่มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีการควบคุมมาตรฐานสูงเข้าข่ายสัญญาจ้างทำของ
แม้สัญญาซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะมีรายละเอียดของแบบสินค้า จำนวนชุด ราคา วันจัดส่งและระบุด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อ ส่วนโจทก์เป็นผู้ขาย แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผ้า วัสดุอุปกรณ์ กรรมวิธีการผลิต หีบห่อ และเศษวัสดุจากการตัดเย็บและสินค้าคุณภาพรองไว้ โดยสินค้าจะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของโรงงานและเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนด อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้าจะต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 เสียก่อน และก่อนลงมือผลิตสินค้า โจทก์จะต้องส่งตัวอย่างสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อทำการอนุมัติและทดสอบก่อน หากไม่ผ่านการทดสอบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าได้ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้แก่จำเลยที่ 1 โดยผ้าและวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานและได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 ก่อน ทั้งจำเลยที่ 1 จะต้องส่งชุดต้นแบบไปให้แก่โจทก์เพื่อทำชุดตัวอย่างสำหรับลองขนาด สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยทั่วไปที่โจทก์ได้ผลิตสินค้าไว้เรียบร้อยแล้ว หรือโจทก์สามารถผลิตสินค้าขึ้นตามแบบที่โจทก์คิดขึ้นได้เอง แต่เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยผ้า วัตถุดิบ รูปแบบการตัดเย็บ และขั้นตอนการผลิตล้วนอยู่ในการควบคุมมาตรฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบทบังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 7 ในเรื่องจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนสินค้าทางทะเล: การพิจารณาประเภทมูลคดี (สัญญาขนส่ง vs. การติดตามทรัพย์คืน) มีผลต่ออายุความ
การอ้างมูลแห่งการฟ้องร้องที่ต่างกันระหว่างมูลตามสัญญารับขนของทางทะเลกับมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนนั้นย่อมมีผลต่อรูปคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ต่างกัน โดยในมูลที่ฟ้องว่า ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนนั้น โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่งมีหน้าที่นำสืบเพียงว่า สินค้าได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง และเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งจะต้องสืบแก้ว่า ความสูญหายนั้นเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 52 (1) ถึง (13) แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ แต่ในการฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่ง ไม่ได้สูญหายไปแล้วนั้น โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า ทรัพย์ยังคงอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งได้ยึดถือทรัพย์ไว้โดยมิชอบ
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5031/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ครอบครอง-จำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตเถื่อนและปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแยกบรรยายฟ้องข้อ 2 (ก) ในส่วนของการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบซิกาแรตเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) จำนวน 190 ซอง ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ ซึ่งเกินกว่า 500 กรัม และไม่ใช่ยาเส้นที่ทำจากใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ข้อ 2 (ข) ในส่วนของการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) ปลอมที่ผู้อื่นทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย และข้อ 2 (ง) ในส่วนของการจำหน่ายหรือขายซึ่งสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรต ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายและเป็นสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) อันเป็นเครื่องหมายการค้าปลอม ที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายตามข้อ (ก) และ (ข) จำนวน 20 ซอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินค้ายาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และเป็นสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ดังกล่าว คดีย่อมเป็นอันรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่ายหรือขายสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตตามฟ้อง (ง) อีกกระทงหนึ่งด้วย เพราะการมีสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตมีลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามคำพิพากษา: อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้โจทก์รื้อถอนเสาคอนกรีต แนวรั้วและปรับที่ดินของจำเลยให้อยู่ในสภาพเดิมและขนสิ่งของทั้งหมดที่โจทก์นำไปวางไว้ที่บริเวณใต้ถุนบ้านและในที่ดินของจำเลยออกให้หมด ถ้าโจทก์ไม่กระทำให้จำเลยดำเนินการโดยให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนักแสดงที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนักแสดงก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ได้รับความคุ้มครอง การที่โจทก์รับจ้างขับร้องเพลงโดยบันทึกเสียงในห้องบันทึกระหว่างปี 2496 - 2510 ไม่ว่าจะมีสิทธิของนักแสดงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การคุ้มครองงานที่จัดทำขึ้นก่อนมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการฟ้องละเมิด
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ และไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเห็นได้ว่า มาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่ลิขสิทธิ์ของนักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียง (Related Rights หรือ Neighboring Rights) ของลิขสิทธิ์ แม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่สิทธิอย่างเดียวกันกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธิของนักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงระหว่างประเทศ และมาตรา 62 - 66 ในหมวด 6 ว่าด้วยคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง นอกจากนี้ในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิของนักแสดง ก็มีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับประเภทของสิทธินักแสดง เงื่อนไขแห่งการได้มาซึ่งสิทธิ อายุแห่งการคุ้มครอง การโอนสิทธิ การละเมิดสิทธิของนักแสดงและข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิตามมาตรา 44 ถึงมาตรา 52 แม้กฎหมายจะบัญญัติให้นำบทบัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิ์มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลมตามมาตรา 53 ก็ตาม ฉะนั้น การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง การที่โจทก์รับจ้างขับร้องเพลงโดยบันทึกเสียงในห้องบันทึกระหว่างปี 2496 - 2510 ไม่ว่าจะมีสิทธิของนักแสดงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ ไม่ใช่ละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) และไม่ใช่กรณีพิพาทกันในเรื่องลิขสิทธิ์ในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) ที่เก็บไว้ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง มาสเตอร์เทป) พิพาทจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ ไม่ใช่ละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) และไม่ใช่กรณีพิพาทกันในเรื่องลิขสิทธิ์ในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) ที่เก็บไว้ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง มาสเตอร์เทป) พิพาทจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาโอนสิทธิบัตร
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นสัญญาโอนขายสิทธิบัตร โดยมีข้อกำหนดว่าผู้โอนคือโจทก์ทั้งสี่ที่เป็นผู้ขายจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับโอนคือจำเลยด้วย จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่มีหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์ทั้งสี่ ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสี่รับว่ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยจริง และแจ้งให้จำเลยหักชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระแก่จำเลย ต่อมาจำเลยส่งใบหุ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ ย่อมแสดงว่าจำเลยยอมรับการชำระหนี้ค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยอมรับว่ายังไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่จำเลย โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ป. ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมส่วนในคดีแพ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ แล้วจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. ทั้งนี้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและให้เอกสารปลอมแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เพราะคดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญานั้น หมายความถึงการที่จำเลยไปกระทำความผิดในทางอาญาและก่อให้เกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวพันโดยตรงขึ้นมา เมื่อมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญาแล้ว จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนอาญามาผูกพันทางแพ่ง