พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในกรณีเพิกถอนคุณสมบัติผู้สมัครหลังเลือกตั้ง: ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำวินิจฉัยของ กกต. หลังวันเลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องของผู้สมัครในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กับมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งในกรณีที่ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่งทั้งสองกรณีผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น กรณีตามคำร้องของผู้ร้อง ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในวันเลือกตั้งอยู่ก่อนแล้ว และผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี แต่เพิ่งมาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) และมีคำสั่งให้งดการประกาศผลการเลือกตั้งกับให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายหลังจากวันเลือกตั้ง ในกรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลฎีกาที่จะสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะให้รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและพยายามส่งออกเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย ความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดและมาตรการปราบปราม
เฮโรอีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม ขึ้นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นการส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมื่อเฮโรอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 189.761 กรัม เกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกเพื่อจำหน่ายตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ไม่ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกายและเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติโดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหัก จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อนตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อนตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยถูกตัดสินลดโทษจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส
ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติ โดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหักจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12565/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2537 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ทวิ (2) คือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2537 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2542 พ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีบริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในต่างประเทศ โดยผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
แม้งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัท ฮ. จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวและอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40 (3) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำเป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท ฮ. เป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่าง ๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ฮ. แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แล้ว จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้ามประเทศ: อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1
แม้งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัท ฮ. จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวและอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40 (3) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำเป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท ฮ. เป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่าง ๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ฮ. แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แล้ว จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการภาษีอากรเสียก่อน
หนังสือทวงถามของโจทก์กรณีเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไป แม้จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือดังกล่าว ก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องนั่นเอง ข้อพิพาทในคดีนี้ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) ซึ่งจะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง และไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะฟ้องคดีได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีทุกเดือนภาษีหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีตาม ป.รัษภากร ฯ มาตรา 82/3 วรรคสาม โดยมีสิทธิขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้นตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 84 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไปจากโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามบทกฎหมาย และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 77
เจ้าพนักงานของโจทก์ออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร ฯ เพื่อตรวจสอบการชำระภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลยที่ 1 และพบว่าบางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน บางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 88/5
แม้หนังสือทวงถามของโจทก์จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) ซึ่งจะฟ้องในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องและไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่)
เจ้าพนักงานของโจทก์ออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร ฯ เพื่อตรวจสอบการชำระภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลยที่ 1 และพบว่าบางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน บางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 88/5
แม้หนังสือทวงถามของโจทก์จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) ซึ่งจะฟ้องในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องและไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา และการลงโทษตามคำฟ้องที่บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับกุมภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดการกระทำความผิดด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมื่องนนทบุรีพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เพียงแต่บังคับโจทก์ให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บังคับให้โจทก์ต้องระบุวรรคของบทมาตราในกฎหมายด้วยไม่
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เพียงแต่บังคับโจทก์ให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บังคับให้โจทก์ต้องระบุวรรคของบทมาตราในกฎหมายด้วยไม่