พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเคาะไม้ขายทอดตลาดเมื่อราคาเสนอซื้อต่ำกว่าราคาเดิม
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนเท่านั้นไม่ เพราะการขายทอดตลาดในครั้งต่อมา อาจเกิดข้อขัดข้อง เช่น เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบทำให้ราคาที่ดินตกต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือลูกหนี้อาจสมคบกับบุคคลอื่นสร้างราคาซื้อขายในครั้งก่อนไว้สูงกว่าราคาปกติมาก ๆ จึงยากจะมีผู้มาเสนอราคาที่ไม่น้อยกว่าครั้งก่อนได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าราคาที่เสนอครั้งหลังเป็นราคาที่สมควรหรือไม่ และไม่มีอำนาจเคาะไม้ขายหากเป็นราคาที่ต่ำกว่าครั้งก่อน การขายทอดตลาดก็จะเนิ่นช้าไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเจตนารมณ์ตามกฎหมายไม่น่าจะประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองแล้วพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของโจทก์ และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาว่าขายไปในราคาต่ำเกินสมควร การวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสุดท้าย สมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองแล้วพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของโจทก์ และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาว่าขายไปในราคาต่ำเกินสมควร การวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสุดท้าย สมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการตีความมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาความสมเหตุสมผลของราคาขายทอดตลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัด ๆ มานั้น หากมีผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้เลย โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองรายนี้ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทบัญญัติ ป.วิ.พ. ในคดีอาญา และการพิจารณาอายุความตาม ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่า จะนำบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้นและให้นำมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสองและมาตรา 193/17 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงแห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. จึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในคดีอาญาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่าจะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้น และให้นำมาใช้บังคับเพียงเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 193/17 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติในมาตรา 185 วรรคหนึ่ง ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องคดีภาษีอากร การรับเงินค่าขึ้นศาลคืนถือเป็นการสละสิทธิ
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โดยแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องให้แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลภาษีอากรกลางในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 โดยบรรยายความว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์และสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โจทก์จึงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืน เป็นที่แจ้งชัดว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ไม่รับคำฟ้องตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้รับเงินค่าขึ้นศาลคืนจากศาลในวันเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้น หากโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 คือภายในวันที่ 19 ธันวาคม 2544 โดยต้องนำค่าขึ้นศาลที่รับคืนไปแล้วกลับมาชำระให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 29
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 19 ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อกรณีไม่มีความจำเป็นจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งนั้น แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 19 ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อกรณีไม่มีความจำเป็นจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งนั้น แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ย, การผิดนัดชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ
แม้สัญญากู้ยืมเงินเลิกกันไปแล้วตามการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ เพราะจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินกู้ยืมก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ซึ่งเป็นอัตราลอยตัวได้ ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิมตามข้อสัญญาต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กับยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาได้ด้วยเช่นกัน ตามข้อสัญญาและ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ แต่สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เป็นเบี้ยปรับ อันได้แก่ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 กับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 ถึง 3.25 ต่อปี นั้น เมื่อได้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของโจทก์ประกอบกับภาวะดอกเบี้ยในตลาดการเงินในปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลงแล้วเห็นว่าสูงเกินไป จึงสมควรกำหนดให้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นเบี้ยปรับได้อีกเพียงร้อยละ 0.50 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ต่อปี หรือเท่ากับดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2.50 ต่อปี
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2547)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน: อำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้เสนอโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด & หน้าที่แบ่งแยกที่ดินเกินอาคาร
สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและบันทึกข้อตกลงมีข้อตกลงให้ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่มีอาคารปลูกสร้างรุกล้ำของแต่ละฝ่ายให้แก่กันและกัน และจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เกินจากอาคารของจำเลยทั้งสองให้แก่ฝ่ายโจทก์อีกด้วย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากบังคับฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ก็ต้องบังคับให้อีกฝ่ายชำระหนี้ตอบแทนได้ แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องเสนอขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ฝ่ายโจทก์จะต้องโอนให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญาก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคู่ความเข้ามาในคดี: เหตุผลความจำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์ทางสิทธิและการใช้สิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนอาคารพาณิชย์พร้อมสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา และยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ตามคำร้องระบุเพียงว่าจำเลยให้การว่าวัดเจ้าของที่ดินมอบสิทธิการเช่าที่ดินและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยร่วม กรณีไม่สามารถทราบได้ชัดแจ้งว่าเจ้าของที่ดินมอบสิทธิให้แก่ผู้ใด จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าโจทก์อาจฟ้องหรือถูกจำเลยร่วมฟ้องได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณาให้จำเลยร่วมแพ้คดี เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ปล่อยคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร
ขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ตรวจคนโดยสารขาออกนอกราชอาณาจักร จ. คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนโดยสารขาออกถือหนังสือเดินทางมาให้จำเลยตรวจเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อจำเลยตรวจพบว่า จ. มีเพียงหนังสือเดินทางโดยไม่มีตราประทับขาเข้ากับไม่มีเอกสารการเดินทางครบถ้วน แต่จำเลยไม่ได้ยึดหนังสือเดินทางและควบคุม จ.ไว้เพื่อให้นายตำรวจสัญญาบัตรมารับตัวไปดำเนินคดีตามระเบียบปฏิบัติ กลับปล่อยให้ จ. ผ่านช่องตรวจของจำเลยเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก