คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กำธร โพธิ์สุวัฒนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิจากการคัดเลือกของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินฯ และอำนาจในการเพิกถอน
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาก่อนมีการปฏิรูปที่ดินและมิได้เช่าจากโจทก์ แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาททั้งสองย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด เมื่อโจทก์ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลบังคับจำนอง: ศาลต้องพิจารณาตามอัตราที่จำเลยให้การหรือไม่ ให้ใช้ตามตารางค่าขึ้นศาล
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใดนั้น เป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226 (2) และแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ.
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องบังคับจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินอัตราค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องโดยไม่เกิน 100,000 บาท
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใด เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226(2) และถึงแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตามที่มาตรา 168บัญญัติไว้
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ในอัตราร้อยละ 1ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมายของตาราง 1 ข้อ 1(ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้ แม้ในระยะเวลาอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ซึ่งหาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนแล้วมีคำวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอย่างใดอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดนั้น เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องคดีก่อนแล้วว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ซึ่งถือได้ว่าศาลชั้นต้นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคท้าย และมาตรา 198 แต่โจทก์กลับมายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่ได้บรรยายฟ้องไว้ในคดีก่อนยืนยันว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจตนาประทุษร้าย และการลงโทษในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) อีกบทหนึ่งด้วย ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด วางโทษประหารชีวิตลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) มาเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4) และ 289(5) และยังคงจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง และข้อห้ามฎีกาดังกล่าวใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงศีรษะผู้ตาย กระสุนปืนเข้าทางขมับซ้ายทะลุออกขมับขวาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายให้ตายทันที แม้ผู้ตายไม่ได้ถึงแก่ความตายทันทีและจำเลยใช้มีดตัดศีรษะผู้ตาย ขณะที่ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย แต่จำเลยไม่มีเจตนาทำให้ผู้ตายได้รับความลำบากทรมานสาหัสก่อนตายและไม่ได้ความแจ้งชัดว่า จำเลยได้กระทำการอย่างไรอันเป็นการทรมานหรือทารุณโหดร้ายผู้ตาย การที่จำเลยใช้มีดตัดคอผู้ตายและใช้มีดชำแหละศพผู้ตายออกเป็นชิ้น ๆ แล้วทิ้งชิ้นส่วนศพบางส่วนลงในส้วมชักโครก กับนำชิ้นส่วนศพบางส่วนไปทิ้งที่แม่น้ำ จำเลยมีเจตนาทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายเท่านั้น มิใช่เพื่อให้ผู้ตายได้รับความเจ็บปวดทรมานจนกระทั่งขาดใจตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
จำเลยมีอาวุธปืนและมีดไว้ในห้องพักที่เกิดเหตุเพื่อตระเตรียมไว้สำหรับฆ่าผู้ตายและชำแหละศพผู้ตายส่วนของศพที่ชำแหละแล้วย่อมมีกลิ่นคาวและมีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลซึมออกมา การนำออกจากห้องพักไปทิ้งย่อมต้องใช้วัสดุสิ่งของสำหรับห่อหุ้มและบรรจุ เพื่อดูดซับน้ำเลือดน้ำเหลืองและกลิ่นคาว รวมทั้งปกปิดไม่ให้มีผู้พบเห็น การที่จำเลยสามารถนำชิ้นส่วนศพผู้ตายออกจากห้องพักไปทิ้ง นำอาวุธปืน มีดและทรัพย์ของผู้ตายไปซ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนนำเสื้อผ้าของผู้ตายไปเผาทำลายภายในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีผู้พบเห็น แสดงว่าจำเลยได้วางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและโดยทรมาน ศาลไม่อนุญาตลดโทษแม้เหตุมาจากความรัก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วย มาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม คงจำคุกตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (5) อีกบทหนึ่งด้วย ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม คงจำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) มาเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) และ 289 (5) และยังคงจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ซึ่งข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์ร่วมด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า จำเลยควรได้รับโทษประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองไม่ควรลดโทษให้จำเลยเพราะคดีไม่มีเหตุบรรเทาโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
การที่จำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์กันฉันคนรัก แต่ผู้ตายต้องการเลิกความสัมพันธ์กับจำเลยไปมีรักกับผู้ชายคนใหม่ เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยถ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งคืนที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังเลิกสัญญาเช่า สิทธิในการรื้อถอนเสาเข็ม
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้องบางส่วน แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ไม่ถูกต้องมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้ และจำเลยจะยกเอาความไม่ถูกต้องในคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาอ้างเพื่อลบล้างคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ถูกต้องหาได้ไม่
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รวมทั้งเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งระบุว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยยืนยันไม่ประสงค์จะใช้สิทธิรื้อถอนเสาเข็ม โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยได้และพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรื้อถอนเสาเข็มใต้ดินนั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างโครงเหล็กติดตั้งป้ายโฆษณา เมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกันแล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 คือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดซึ่งรวมถึงเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินตามมาตรา 146
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกันแล้วการที่จำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออกจากที่ดินเช่าและส่งมอบที่ดินเช่าคืนโจทก์ในสภาพที่จำเลยได้รับมา ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องในเรื่องค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2541 ถึงวันฟ้องวันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นเงินรวม 71,999.98 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ส่วนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องต่อไปอีกเดือนละ 10,000 บาท แต่รวมค่าเสียหายทั้งหมดแล้วไม่ให้เกิน20 เดือนนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจึงนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่ได้ ดังนั้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินแต่ละชั้นศาลจำนวน 1,800 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายมาด้วยจึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราชั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 71,999.98 บาท เกินกว่า 25,000 บาท ซึ่งมีค่าทนายความอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์เป็นเงินร้อยละ 3 ของทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คือเป็นเงินไม่เกิน 2,159.97บาท แต่สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์กำหนดค่าทนายความในอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไม่เกิน 1,500 บาท จึงต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีที่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตราสูงกว่าใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวเพื่อส่งมอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
จำเลยรับฝากหมีควายไว้จากผู้ใหญ่บ้านเพื่อส่งมอบให้แก่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า แต่ทางสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ายังก่อสร้างบ่อเลี้ยงหมีควายไม่แล้วเสร็จ จึงให้จำเลยเลี้ยงดูไปก่อน แต่การที่จำเลยจะมีความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษ จึงต้องถือว่าการครอบครองในกรณีนี้ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตนทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นการที่จำเลยรับเลี้ยงดูหมีควายซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามารับไปในภายหลัง จำเลยไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงหาใช่เป็นการมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง: การรับเลี้ยงชั่วคราวเพื่อส่งมอบ ไม่ถือเป็นความผิด
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษ ต้องถือว่ามีเจตนายึดถือเพื่อตนตามหลักกฎหมายทั่วไป การที่จำเลยรับเลี้ยงดูหมีควายหรือหมีดำของกลางซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้สถานีเพาะเลี้ยสัตว์ป่ามารับไปในภายหลังนั้น จำเลยไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงหาใช่เป็นการมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องไม่
of 18