คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กำธร โพธิ์สุวัฒนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. - ความเชื่อโดยสุจริต, คุณสมบัติผู้สมัคร
จำเลยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่รู้ว่าจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามกฎหมายนอกจากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจังหวัดเลยได้ตรวจคุณสมบัติของจำเลยแล้วเห็นว่าจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีหนังสือรับรองของกระทรวงมหาดไทยรับรองว่าจำเลยเคยรับราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเลยครบ 2 ปี ด้วย เมื่อจำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและข้อยกเว้นการระงับหนี้ แม้มีข้อตกลงที่เป็นโมฆะ
จำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงให้ฝ่ายโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติทั้งหมด 10 ข้อ ในส่วนที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องเป็นเรื่องที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง 1 คดี จำเลยกับพวกถอนฟ้องคดีอาญา 1 คดี คดีแพ่ง 2 คดี และตกลงประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งอีก 1 คดี คดีแพ่งทั้ง 4 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้จะฟังว่าข้อตกลงในส่วนที่ให้ฝ่ายจำเลยถอนฟ้องคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท จากจำเลยและจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งเป็นหนี้เดิมจึงระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของข้อตกลงประนีประนอมยอมความ และการระงับหนี้เดิม
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในส่วนที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง 1 คดี จำเลยกับพวกถอนฟ้องคดีอาญา 1 คดี คดีแพ่ง 2 คดี และตกลงประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งอีก 1 คดี คดีแพ่งทั้ง 4 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ฝ่ายจำเลยต้องถอนฟ้องคดีอาญาในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามมาตรา 173 จึงไม่เกี่ยวกับส่วนที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท จากจำเลยและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
ประเด็นข้อพิพาทตั้งขึ้นได้โดยคำคู่ความ ซึ่งหมายความรวมถึงคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5),183 เมื่อจำเลยให้การว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องระงับไปด้วยการทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาว่าบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพราะมีผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย ทั้งโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากการซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ต่อมา ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวโดยฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเป็นจำเลย ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยในคดีดังกล่าว และให้จำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่ ส. พร้อมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ผลของคดีดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์หมดสิ้นไปทันที ทั้งที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ฝ่ายจำเลยผู้ขายไปครบถ้วนแล้ว กรณีจึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของฝ่ายจำเลยผู้ขาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. โจทก์ในคดีดังกล่าวยังมิได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยในคดีดังกล่าวจะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์คดีนี้ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขาย, การเพิกถอนสิทธิกรรมสิทธิ์, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองแล้ว ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ส. อันมีผลทำให้ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 5 ในคดีดังกล่าวหมดสิ้นไปทันที โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนยังมิได้ชำระเงิน ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยทั้งห้าจะต้องไปว่ากล่าวกันต่อไปในคดีดังกล่าว หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากผู้ชำระบัญชี: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแทนลูกหนี้ได้หรือไม่?
ขณะที่มีการชำระบัญชี บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างแก่โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นการที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไป ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1269 และถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินส่วนแบ่งดังกล่าวมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินส่วนแบ่งดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
กรณีที่บริษัท ท. โดยผู้ชำระบัญชี ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่ได้รับไปคืน หรือเพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้ โดยต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัทดังกล่าว โดย ส. ผู้ชำระบัญชีได้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 1 รับไปโดยมิชอบแก่บริษัท ท. หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว รวมทั้งมิได้ขอหมายเรียกบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234 แต่ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรม หรือมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งเงินชำระบัญชีบริษัทก่อนชำระภาษี: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้รับส่วนแบ่ง
ขณะที่มีการชำระบัญชีอยู่บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างกรมสรรพากรโจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องจากเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องครบถ้วน การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยไป ไม่ว่าจำเลยจะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 ถือได้ว่าจำเลยได้รับเงินส่วนแบ่งมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้จึงถือว่าเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยจำต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตามมาตรา 406
บริษัท ท. หรือผู้ชำระบัญชีมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงิน ส่วนแบ่งซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ท. ในฐานลาภมิควรได้และหากบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้น เป็นเหตุให้กรมสรรพากรโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้โดยโจทก์จะต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 และมาตรา 234แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยรับไปโดยมิชอบหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมทั้งโจทก์มิได้ขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดี จึงต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์เองโดยตรง ซึ่งโจทก์หามีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยเช่นนั้นไม่ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้คืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องคดีเลือกตั้งเนื่องจากฟ้องพ้นกำหนดและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกคำร้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลา ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเลือกตั้งเกินกำหนดเวลาและขาดคุณสมบัติผู้ฟ้องร้อง ศาลไม่รับฟ้องและยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: สิทธิการใช้ทาง และข้อจำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ล. ก่อสร้างตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ลงบนที่ดินแปลงย่อยซึ่งแบ่งจากที่ดินแปลงใหญ่รวม 121 คูหา เรียงติดต่อกัน การที่ อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยมีทางเท้าและถนนผ่านหน้าตึก โครงการ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะจึงถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้น ทางเท้าที่ดินพิพาทของโจทก์ ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปัญหานี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะ มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
of 18