พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ประกอบการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานซึ่งมีการให้บริการสาธารณูปโภค ซึ่งการประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) ส่วนการประกอบกิจการให้บริการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน แต่เมื่อกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวโจทก์คิดค่าตอบแทนในอัตราเท่ากับกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน และผู้เช่าที่มีสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวมีสิทธิใช้บริการทุกประเภทได้เช่นเดียวกับผู้เช่าที่มีสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นการประกอบกิจการทั้งที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกันโจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การประเมินจากลักษณะกิจการที่ให้บริการควบคู่กับการเช่า และการกำหนดมูลค่าตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 88 (2) ประกอบมาตรา 88/2 (4) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีแสดงภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดมูลค่าที่ควรได้รับโดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบการหรือสถิติการค้าของผู้ประกอบการเอง หรือของผู้ประกอบการที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงมูลค่าที่ได้รับได้โดยสมควร โจทก์เป็นผู้ประกอบการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานซึ่งมีการให้บริการสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟท์ กับการรักษาความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย ซึ่งการประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 81 (1) (ต) ส่วนการประกอบกิจการให้บริการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการทั้งกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น โจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน ส่วนกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวโดยมิได้มีการแยกค่าบริการนั้น โจทก์ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เมื่อกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวโจทก์คิดค่าตอบแทนเท่ากับกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน และผู้เช่าที่มีสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวมีสิทธิใช้บริการทุกประเภทได้เช่นเดียวกับผู้เช่าที่มีสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน กรณีเช่นนี้ เห็นได้ว่า แม้มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวแต่เป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์และบริการด้านไฟฟ้า น้ำประปา และสิ่งอำนวยความสะดวกด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการทั้งที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการแยกต่างหากจากกัน กรณีที่มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เมื่อกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าเพียงฉบับเดียวเป็นการประกอบกิจการทั้งที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือการให้บริการนั้นโจทก์มิได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์จึงเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 88 (2) ที่จะประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ดอกเบี้ยตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยรวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร หมายถึงเงินได้ที่มีลักษณะเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ประธาน โดยคำนวณจากหนี้ประธานในอัตราและตามระยะเวลาที่กำหนดโดยนิติกรรมสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งฝ่ายที่เป็นลูกหนี้หรือตกเป็นลูกหนี้เป็นผู้จ่ายหรือชำระเพิ่มขึ้นจากหนี้ประธานตามข้อตกลงของนิติกรรมสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมายให้แก่ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้
ข้อตกลงตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยระหว่างสถาบันการเงินกับโจทก์ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน เพราะสถาบันการเงินไม่ได้ส่งมอบเงินกู้ยืมจำนวนใดให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ต้องชำระเงินจำนวนใดที่ได้รับไปคืนให้ เพียงให้โจทก์มีโอกาสได้รับประโยชน์ตามสัญญาโดยเฉพาะต่างหากจากสัญญากู้ยืมเงิน หากโจทก์มีผลกำไรที่ได้รับจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยแล้วนำเงินนั้นไปหักกลบลบหนี้กับจำนวนดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินก็เท่ากับเป็นการนำรายได้จากแหล่งอื่นไปชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืม มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินที่โจทก์ได้รับตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกลายเป็นรายได้ประเภทดอกเบี้ยของผู้ให้กู้ซึ่งทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับโจทก์ไปได้ และในกรณีกลับกันเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายต้องจ่ายเงินส่วนต่างแก่สถาบันการเงินคู่สัญญา เงินที่โจทก์จ่ายก็เป็นรายรับแก่คู่สัญญาโดยผลของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะเช่นกัน มิใช่เงินได้จากดอกเบี้ย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 70
ข้อตกลงตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยระหว่างสถาบันการเงินกับโจทก์ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน เพราะสถาบันการเงินไม่ได้ส่งมอบเงินกู้ยืมจำนวนใดให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ต้องชำระเงินจำนวนใดที่ได้รับไปคืนให้ เพียงให้โจทก์มีโอกาสได้รับประโยชน์ตามสัญญาโดยเฉพาะต่างหากจากสัญญากู้ยืมเงิน หากโจทก์มีผลกำไรที่ได้รับจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยแล้วนำเงินนั้นไปหักกลบลบหนี้กับจำนวนดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินก็เท่ากับเป็นการนำรายได้จากแหล่งอื่นไปชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืม มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินที่โจทก์ได้รับตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกลายเป็นรายได้ประเภทดอกเบี้ยของผู้ให้กู้ซึ่งทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับโจทก์ไปได้ และในกรณีกลับกันเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายต้องจ่ายเงินส่วนต่างแก่สถาบันการเงินคู่สัญญา เงินที่โจทก์จ่ายก็เป็นรายรับแก่คู่สัญญาโดยผลของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะเช่นกัน มิใช่เงินได้จากดอกเบี้ย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: การยกเว้นสำหรับพื้นที่ที่ผู้แทนอยู่ ไม่ครอบคลุมกรณีที่เจ้าของเป็นนิติบุคคล
โรงเรือนส่วนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 ต้องเป็นโรงเรือนส่วนที่เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบกิจการอุตสาหกรรม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทเป็นนิติบุคคล มีฐานะ สิทธิและหน้าที่ของตนต่างหากจากบุคคลธรรมดา และมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งที่ทำการอันเป็นสถานประกอบการเป็นที่อยู่ แม้ ว. จะเป็นผู้แทนของโจทก์ แต่ก็เป็นบุคคลธรรมดา การที่ ว. อยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เองที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากบัตรภาษีชดเชยค่าภาษีออก: การคืนเงินเมื่อรับโอนโดยสุจริตและนำไปใช้ชำระภาษีแล้ว
ในการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนี้ แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ยกเว้นใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกต่อโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ขอโอนสิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 โจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เอกสารที่จำเลยที่ 1 ยื่นประกอบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเอกสารเท็จและเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามคำขอที่จำเลยที่ 1 ยื่นต่อโจทก์และไม่มีสิทธิขอโอนบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 จำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่มีสิทธิได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่ปรากฏว่ามีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์จึงเป็นการได้บัตรภาษีไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 3 และที่ 6 ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีแก่โจทก์ในมูลลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ในการรับโอนบัตรภาษีจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้ยื่นคำร้องขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์ระบุว่า "กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากร (โจทก์) ไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 3 และที่ 6) ยินยอมรับผิดต่อกรมศุลกากร (โจทก์) ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น" จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่ได้ให้คำรับรองไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้แสดงเจตนายินยอมรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและเป็นคนละข้อหากับความผิดฐานละเมิดและลาภมิควรได้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหานี้มาในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางจะได้ยกความข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ในคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
บัตรภาษีออกให้แทนการคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเงินสดเพื่อให้ผู้รับนำบัตรภาษีไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือภาษีอากรอื่นตามมูลค่าของบัตรภาษีตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มาตรา 4 และ 18 จึงถือได้ว่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งและ ป.พ.พ. มาตรา 412 บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน" เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับโอนบัตรภาษีโดยสุจริต จึงต้องคืนบัตรภาษีตามมูลค่าที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 นำบัตรภาษีที่ได้รับไปชำระค่าภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกต่อโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ขอโอนสิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 โจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เอกสารที่จำเลยที่ 1 ยื่นประกอบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเอกสารเท็จและเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามคำขอที่จำเลยที่ 1 ยื่นต่อโจทก์และไม่มีสิทธิขอโอนบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 จำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่มีสิทธิได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่ปรากฏว่ามีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์จึงเป็นการได้บัตรภาษีไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 3 และที่ 6 ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีแก่โจทก์ในมูลลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ในการรับโอนบัตรภาษีจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้ยื่นคำร้องขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์ระบุว่า "กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากร (โจทก์) ไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 3 และที่ 6) ยินยอมรับผิดต่อกรมศุลกากร (โจทก์) ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น" จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่ได้ให้คำรับรองไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้แสดงเจตนายินยอมรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและเป็นคนละข้อหากับความผิดฐานละเมิดและลาภมิควรได้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหานี้มาในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางจะได้ยกความข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ในคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
บัตรภาษีออกให้แทนการคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเงินสดเพื่อให้ผู้รับนำบัตรภาษีไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือภาษีอากรอื่นตามมูลค่าของบัตรภาษีตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มาตรา 4 และ 18 จึงถือได้ว่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งและ ป.พ.พ. มาตรา 412 บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน" เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับโอนบัตรภาษีโดยสุจริต จึงต้องคืนบัตรภาษีตามมูลค่าที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 นำบัตรภาษีที่ได้รับไปชำระค่าภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8407/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดเชยค่าภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และความรับผิดจากบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) ที่ไม่ตรงกัน
บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) เป็นบัญชีแสดงรายละเอียดสินค้าที่ส่งออกเป็นเอกสารที่นายเรือทุกลำซึ่งบรรทุกสินค้าออกหรือตัวแทนมีหน้าที่ยื่นต่อศุลกสถานของโจทก์ภายใน 6 วันเต็ม นับแต่วันที่ได้ออกใบปล่อยเรือขาออก ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 51 บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) จึงเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่ามีการส่งสินค้าออกนอกราชอาญาจักรหรือไม่ เมื่อสินค้าที่ปรากฏในใบขนสินค้าขาออกทั้งสี่ฉบับไม่ตรงกับบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำสืบหักล้างว่าเหตุใดจึงไม่ตรงกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าไม่มีการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าขาออก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (กฎหมาย) แม้ไม่ได้ว่าความหรือฟ้องร้อง ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) และคณะบุคคลก็ประกอบวิชาชีพได้
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายมีเงินได้ที่โจทก์ได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตาม 40 (6) หามีบทบัญญัติว่าการประกอบอาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกับวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระทางกฎหมาย: คณะบุคคลประกอบวิชาชีพได้ แม้มิได้ว่าความ
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) บัญญัติว่า "เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย..." เห็นได้ว่า ป.รัษฎากร บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์ทั้งสองสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เงินได้รายพิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ทั้งสองได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) หามีบทกฎหมายบัญญัติว่าการประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของพนักงานสอบสวนในการดูแลของกลาง ทำให้ของกลางสูญหาย จำเลยต้องรับผิด
รถบรรทุกและข้าวสารบนรถบรรทุกของโจทก์ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีอาญาโดยจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ดูแลรักษารถบรรทุกและข้าวสารของกลางไว้ระหว่างสอบสวนโดยต้องใช้ความระมัดระวังดูแลเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเอง เฉพาะอย่างยิ่งมีข้าวสารบรรจุกระสอบถึง 200 กระสอบ มูลค่าหลายแสนบาทบรรทุกอยู่บนรถจะต้องระมัดระวังยิ่งขึ้นมิให้สูญหายหรือได้รับความเสียหาย การที่จำเลยที่ 3 นำรถบรรทุกไปจอดในรั้วของสถานีตำรวจได้ เป็นเพียงการนำรถบรรทุกไปจอดไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการดูแลรักษาทรัพย์สิน แม้จะได้เก็บกุญแจรถไว้ แล้วเอาโซ่และกุญแจล็อกระหว่างพวงมาลัยกับคลัตซ์และได้ตรวจดูบ่อยๆ แต่การจอดรถบรรทุกไว้ข้างถนนโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควรย่อมเปิดโอกาสให้คนร้ายลักรถบรรทุกและข้าวสารไปได้โดยง่าย จำเลยที่ 3 จึงมิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลรถบรรทุกและข้าวสารเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถบรรทุกและข้าวสารสูญหายไปถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์การประเมินอากรทำให้การประเมินเป็นที่ยุติ จำเลยต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์การประเมินนั้นก็เป็นยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เมื่อคดีนี้จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แต่ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากร แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินเป็นที่ยุติแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แต่ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากร แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินเป็นที่ยุติแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง