พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในการออกหมายเรียกตรวจสอบและขยายเวลาประเมิน
ในกรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าผู้ประกอบการแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) ซึ่งตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) เท่านั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องขออนุมัติภายในกำหนดเวลา 2 ปี ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินย่อมขออนุมัติอธิบดีประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี แม้ขณะขออนุมัติจะเกิน 2 ปี แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาการรับผิดชอบจากการทุจริตบัตรภาษี: ศาลยืนยันผลบังคับใช้สัญญา แม้ผู้รับโอนสุจริต
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีว่าในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนยินยอมรับผิดต่อโจทก์โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ กรณีมิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีรายพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีรายพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาการรับโอนบัตรภาษีที่มีข้อตกลงรับผิดชอบการทุจริตของผู้โอนสิทธิ ถือเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายห้าม
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริตบัตรภาษี เป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ และการคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาที่มีการวินิจฉัยตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์ อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวได้ หามีบทกฎหมายห้ามแต่อย่างใด
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4798/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา..." การที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินตามฟ้องแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเสน่หา แม้การให้โดยเสน่หาจะถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่การที่บุพการีให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร การให้โดยเสน่หาดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาตรา 91/2 แห่ง ป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากวัตถุดิบขาดหาย: พิจารณาเป็นยอดขายสินค้าสำเร็จรูปได้
ในการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แม้ ป.รัษฎากรฯ ลักษณะ 2 หมวด 3 ส่วน 3 จะมิได้มีบทบัญญัติว่ากรณีที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือว่าเป็นการขาย แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริง และแม้ ป.รัษฎากรฯ มาตรา 77/1 (8) (จ) จะบัญญัติให้ถือว่าการที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือเป็นการขายวัตถุดิบนั้น แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือว่าเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริงเช่นเดียวกัน การผลิตและขายทั้งสองกรณีนี้ย่อมจะต้องเสียภาษีจากราคาสำเร็จรูปของสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ขาดหายนั้น โจทก์มี ส. ผู้ตรวจสอบบัญชีเบิกความอ้างเหตุวัตถุดิบขาดหายว่าเกิดจากการสูญเสียในระหว่างการผลิตหรือเกิดจากการลงรายการในบัญชีคุมสินค้าและวัตถุดิบผิดพลาด ไม่ได้ยืนยันว่าเหตุขาดหายนั้นเกิดจากกรณีใดในสองกรณีนั้น แม้โจทก์จะมี ก. ผู้จัดการโรงงาน และ ธ. ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานของโจทก์เบิกความถึงขั้นตอนในการผลิตตู้ลำโพงเพื่อแสดงให้เห็นว่าผ้าเน็ท (SPEAKER CLOTH) อาจเกิดการสูญเสียได้ในขณะนำไปประกอบเพื่อผลิตตู้ลำโพงแต่พยานโจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถหาหลักเกณฑ์แน่นอนได้ว่ามีการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิตมากน้อยเพียงใด พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าเหตุที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีมิได้เกิดจากการนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีเกิดจากการที่โจทก์นำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่าย การที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มโดยถือราคาสินค้าสำเร็จรูปเป็นฐานจึงถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรภาษีเท็จชำระภาษีอากรทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินและดอกเบี้ย
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิด ซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินชดเชยภาษีอากรโดยเท็จถือเป็นการทำละเมิด จำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยนับจากวันที่ธนาคารได้รับบัตรภาษี
การที่จำเลยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรโดยอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นความเท็จ จนได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีไปจากโจทก์นั้น เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิด จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและข้อยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ: การโอนที่ดินจำเป็นเพื่อการเวนคืน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร
แม้ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงเทศบาลสายรามคำแหง ตอนสะพานข้ามคลองลาดบัวขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ฯ และการที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ก็ตาม ก็ยังเป็นการโอน จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4)
ที่ดินพิพาทของโจทก์จำเป็นต้องมีไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมี พ.ร.ฎ.ออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ
ที่ดินพิพาทของโจทก์จำเป็นต้องมีไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมี พ.ร.ฎ.ออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) บัญญัติความหมายของคำว่า "ขาย" ว่า หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อหรือจำหน่าย จ่าย โอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามบทนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหงตอนสะพานข้ามคลองลาดบัวขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ พ.ศ.2537 และการที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็ตาม ก็ยังเป็นการโอนจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)