พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและข้อยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ: การโอนที่ดินจำเป็นเพื่อการเวนคืน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร
แม้ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงเทศบาลสายรามคำแหง ตอนสะพานข้ามคลองลาดบัวขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ฯ และการที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ก็ตาม ก็ยังเป็นการโอน จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4)
ที่ดินพิพาทของโจทก์จำเป็นต้องมีไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมี พ.ร.ฎ.ออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ
ที่ดินพิพาทของโจทก์จำเป็นต้องมีไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมี พ.ร.ฎ.ออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด กรณีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า
มาตรา 88 (2) และ 88/6 แห่ง ป. รัษฎากร บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีแสดงรายการภาษีโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง หรือไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง การที่เจ้าพนักงานประเมินพบหลักฐานว่า สินค้าไม้แปรรูปที่โจทก์ขายนั้นโจทก์เป็นผู้นำเข้า และได้เสียอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามประมวลรัษฎากรโดยราคาสินค้าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวสูงกว่าราคาตลาดที่โจทก์ขายและใช้เป็นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานและมีเหตุอันสมควรเชื่อว่า โจทก์ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร และมีอำนาจทำการประเมินได้ราคาสินค้าที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนดเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประเมินอากรขาเข้าเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง และราคาเช่นว่านั้นอาจเท่ากับราคาตลาดของการขายสินค้าในขณะนั้นก็ได้ เมื่อโจทก์รับข้อเท็จจริงว่า สินค้าไม้แปรรูปรายพิพาทโจทก์เป็นผู้นำเข้าและเสียอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรกับเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามประมวลรัษฎากร โดยถือราคาตามที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนดเป็นเกณฑ์ประเมินอากรขาเข้าเป็นฐานในการคำนวณอากรขาเข้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในเบื้องต้นได้ว่า สินค้าไม้แปรรูปนั้นมีราคาในวันที่โจทก์นำเข้าตามที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนด การที่โจทก์ปฏิเสธราคาเช่นว่านั้นว่าไม่ถูกต้อง ความจริงราคาตลาดต่ำกว่านั้น โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ความดังที่อ้าง เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายอาคารให้กรมสรรพากร ทำให้เสียสิทธิหักภาษีซื้อ
การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารห้างสรรพสินค้าบนที่ดินเช่าด้วยทุนทรัพย์และสัมภาระของโจทก์และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันทีที่ลงมือปลูกสร้าง แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าวมีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนาได้รับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามสัญญาเช่าใช้สิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่เช่า อาคารที่สร้างขึ้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ประกอบมาตรา 144 วรรคสอง กรมการศาสนาจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด การที่โจทก์ตกลงให้อาคารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนานั้นถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ อันต้องตามบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวให้แก่กรมการศาสนา
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอาคารให้กรมการศาสนาและการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม กรณีเช่าที่ดินสร้างอาคาร
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมการศาสนาเพื่อปลูกสร้างอาคารห้างสรรพสินค้า โดยตกลงว่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันที แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าว 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนารับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยทางนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ ต้องด้วยบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อโจทก์ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป. รัษฎากร ไม่ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้อีกเพราะเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก แม้จะมีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียก่อน
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อและมีข้อพิรุธในข้อมูล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย วันที่ 11 มกราคม 2548 ซึ่งตามกฎหมายพรรคไทยช่วยไทยจะต้องแจ้งรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนภายในเดือนมกราคมของปีรุ่งขึ้น พรรคไทยช่วยไทยจึงมีหน้าที่แจ้งชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกเพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มกราคม 2549 แต่พรรคไทยช่วยไทยไม่ได้แจ้งชื่อผู้ร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ทำให้ผู้ร้องไม่มีชื่อในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง ดังนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง หัวหน้าพรรคการเมืองต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา พร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่สมาชิกดังกล่าวตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี การที่พรรคไทยช่วยไทยไม่แจ้งรายชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด ทั้ง ๆ ที่พรรคไทยช่วยไทยก็มีการแจ้งจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาต่อนายทะเบียน จึงเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทยของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะอ้างว่า มีการแจ้งชื่อผู้ร้องให้นายทะเบียนทราบเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ก็ไม่ปรากฏเหตุผลว่า เหตุใดพรรคไทยช่วยไทยจึงต้องแจ้งชื่อผู้ร้องในภายหลังเช่นนั้น นอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับสมัครสมาชิกพรรคจำนวน 66 คน ดังกล่าว ก็พบพิรุธในเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารพรรคไทยช่วยไทยครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2548 เพราะตามรายงานการประชุม เอกสารหมาย ค.2 ซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจพบ ณ ที่ทำการพรรคไทยช่วยไทยนั้น ในระเบียบวาระที่ 5 เป็นเรื่องการรับสมาชิกพรรค ณ วันที่ 11 มกราคม 2548 ซึ่งรวมถึงหมายเลข กศ 000053 อันเป็นหมายเลขสมาชิกของผู้ร้องด้วย แต่รายงานการประชุม เอกสารหมาย ค.1 ซึ่งเป็นเอกสารรายงานการประชุมครั้งเดียวกัน และพรรคไทยช่วยไทยได้จัดส่งให้นายทะเบียนนั้น ระเบียบวาระที่ 5 ระบุว่า เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับผู้ร้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทยจึงเป็นพิรุธไม่อาจรับฟังได้ว่า พรรคไทยช่วยไทยได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2548 ดังนั้น ลำพังข้อมูลที่ว่า ผู้ร้องมีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองจึงไม่พอรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2548 จริง เมื่อข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 109 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาจ้างทำของและการรับรองใบกำกับภาษี แม้ไม่มีต้นฉบับสัญญา
ต้นฉบับสัญญาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ โจทก์จึงต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 และมาตรา 125 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 เมื่อโจทก์ไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง และมิใช่กรณีที่จะนำสำเนามาสืบแทนต้นฉบับได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 สำเนาสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานไม่ได้
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์: การบังคับใช้กฎหมายหลังการยกเลิก พ.ร.ฎ.เดิม
พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 3 เพียงแต่บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 เท่านั้น มิได้บัญญัติว่า รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นในระหว่าง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เจ้าพนักงานประเมินจึงเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากโจทก์โดยอาศัย พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 เพราะรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เกิดขึ้นในระหว่างที่ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับอยู่ เมื่อโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา จึงเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม การประเมิน การอุทธรณ์ และดอกเบี้ยที่จำเลยต้องจ่าย
การที่โจทก์กู้เงินจากธนาคารในต่างประเทศไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท อ. โดยโจทก์เสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้แล้วบริษัท อ. นำเงินทุนทั้งหมดไปให้บริษัท ท. กู้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยเจตนาทำให้ต้นทุนของบริษัท ท. ต่ำลงและมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าผลกำไรย่อมเกิดขึ้นแก่บริษัท ท. ซึ่งเป็นอีกนิติบุคคลหนึ่งต่างหากจากโจทก์ รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายเพื่อให้เกิดกำไรแก่นิติบุคคลอื่น เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) ส่วนค่าจ้างผู้สอบบัญชีและนักกฎหมายในต่างประเทศที่โจทก์จ่ายไปในการตรวจสอบฐานะและทรัพย์สินของบริษัท ท. เพื่อให้บริษัท ฮ. และบริษัท อ. เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท ท. เป็นรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ฮ. และบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นต่างหากจากโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) เช่นเดียวกัน
ตามสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าของอีเอ็ม 2 มีความว่า โจทก์จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการให้บริการด้านการตลาดและการค้าอันเกี่ยวกับลูกค้า โดยบริษัทอีเอ็ม 2 ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลที่จำเป็นของลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 และอื่น ๆ แก่โจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์ ข้อสัญญาดังกล่าวต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเลิกสัญญาผู้จัดจำหน่ายกับบริษัทอีเอ็ม 2 ก่อนครบกำหนดเวลาและเพื่อให้โจทก์สามารถเข้าไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่เป็นการผิดสัญญาผู้จัดจำหน่ายระหว่างโจทก์กับบริษัทอีเอ็ม 2 ข้อตกลงการเลิกสัญญาจึงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ส่วนสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าฯก็ทำให้โจทก์ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับลูกค้า เป็นต้นว่า ชื่อ ที่อยู่ ราคาและข้อตกลงทางการค้าของสิ่งที่บริษัทอีเอ็ม 2 จำหน่ายแก่ลูกค้า อันเป็นข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมของบริษัทอีเอ็ม 2 การที่โจทก์จ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับข้อมูลข้อสนเทศเกี่ยวกับการตลาดและลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แต่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 และการที่โจทก์จ่ายเงินค่าสิทธิอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งพร้อมยื่นรายการตามแบบตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง
ตามอนุสัญญาฯระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ข้อ 2 และ 11 เห็นได้ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ฝ่ายคู่สัญญาผู้กู้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยคือโจทก์ส่งไปให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ ต่อเมื่อผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์นั้นเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องหนี้เช่นว่านั้น และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้ของผู้รับนั้นซึ่งต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสี่ให้เห็นว่าธนาคารสาขาในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ผู้รับเงินดอกเบี้ยจากโจทก์เป็นคู่สัญญาผู้ให้กู้และเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินดอกเบี้ยจากโจทก์ ลำพังแต่ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าผู้รับดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินดอกเบี้ยของโจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ
โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อของเดือนภาษีพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2538 มาคำนวณเป็นภาษีซื้อของเดือนมกราคม 2539 เนื่องจากความล่าช้าของฝ่ายบัญชีของโจทก์ ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เอง ใบกำกับภาษีซื้อมีผลโดยตรงต่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี ใบกำกับภาษีซื้อที่ล่วงเลยกำหนดเวลาการใช้ย่อมไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากนำมาใช้ย่อมมีผลทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีที่มีการใช้ลดน้อยลงจากที่ต้องชำระจริง อาจถึงขนาดได้รับคืนภาษีหรือได้รับคืนภาษีสูงกว่าที่มีสิทธิได้รับ จึงเป็นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับแก่โจทก์ ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 เหมาะสมแล้ว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ยกความว่า "แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอื่นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1" ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือแจ้งการประเมินเพราะโจทก์ไม่ยอมรับการประเมินและได้อุทธรณ์โต้แย้ง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้ ทั้งโจทก์ยังได้รับอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีในระหว่างการอุทธรณ์แล้ว ไม่ใช่ข้อที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
แม้ภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีนี้จะเป็นภาษีที่เกิดจากรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 เพียงปีเดียว แต่ภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับเป็นภาษีคนละประเภทภายใต้บังคับกฎหมายคนละบทมาตรา คำนวณจากเงินคนละจำนวน มีวิธีการคำนวณและกำหนดเวลาชำระแตกต่างกัน ทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงเป็นคนละข้อหาคนละคดีแยกต่างหากจากกัน คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าของอีเอ็ม 2 มีความว่า โจทก์จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการให้บริการด้านการตลาดและการค้าอันเกี่ยวกับลูกค้า โดยบริษัทอีเอ็ม 2 ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลที่จำเป็นของลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 และอื่น ๆ แก่โจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์ ข้อสัญญาดังกล่าวต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเลิกสัญญาผู้จัดจำหน่ายกับบริษัทอีเอ็ม 2 ก่อนครบกำหนดเวลาและเพื่อให้โจทก์สามารถเข้าไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่เป็นการผิดสัญญาผู้จัดจำหน่ายระหว่างโจทก์กับบริษัทอีเอ็ม 2 ข้อตกลงการเลิกสัญญาจึงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ส่วนสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าฯก็ทำให้โจทก์ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับลูกค้า เป็นต้นว่า ชื่อ ที่อยู่ ราคาและข้อตกลงทางการค้าของสิ่งที่บริษัทอีเอ็ม 2 จำหน่ายแก่ลูกค้า อันเป็นข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมของบริษัทอีเอ็ม 2 การที่โจทก์จ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับข้อมูลข้อสนเทศเกี่ยวกับการตลาดและลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แต่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 และการที่โจทก์จ่ายเงินค่าสิทธิอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งพร้อมยื่นรายการตามแบบตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง
ตามอนุสัญญาฯระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ข้อ 2 และ 11 เห็นได้ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ฝ่ายคู่สัญญาผู้กู้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยคือโจทก์ส่งไปให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ ต่อเมื่อผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์นั้นเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องหนี้เช่นว่านั้น และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้ของผู้รับนั้นซึ่งต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสี่ให้เห็นว่าธนาคารสาขาในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ผู้รับเงินดอกเบี้ยจากโจทก์เป็นคู่สัญญาผู้ให้กู้และเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินดอกเบี้ยจากโจทก์ ลำพังแต่ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าผู้รับดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินดอกเบี้ยของโจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ
โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อของเดือนภาษีพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2538 มาคำนวณเป็นภาษีซื้อของเดือนมกราคม 2539 เนื่องจากความล่าช้าของฝ่ายบัญชีของโจทก์ ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เอง ใบกำกับภาษีซื้อมีผลโดยตรงต่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี ใบกำกับภาษีซื้อที่ล่วงเลยกำหนดเวลาการใช้ย่อมไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากนำมาใช้ย่อมมีผลทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีที่มีการใช้ลดน้อยลงจากที่ต้องชำระจริง อาจถึงขนาดได้รับคืนภาษีหรือได้รับคืนภาษีสูงกว่าที่มีสิทธิได้รับ จึงเป็นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับแก่โจทก์ ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 เหมาะสมแล้ว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ยกความว่า "แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอื่นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1" ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือแจ้งการประเมินเพราะโจทก์ไม่ยอมรับการประเมินและได้อุทธรณ์โต้แย้ง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้ ทั้งโจทก์ยังได้รับอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีในระหว่างการอุทธรณ์แล้ว ไม่ใช่ข้อที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
แม้ภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีนี้จะเป็นภาษีที่เกิดจากรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 เพียงปีเดียว แต่ภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับเป็นภาษีคนละประเภทภายใต้บังคับกฎหมายคนละบทมาตรา คำนวณจากเงินคนละจำนวน มีวิธีการคำนวณและกำหนดเวลาชำระแตกต่างกัน ทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงเป็นคนละข้อหาคนละคดีแยกต่างหากจากกัน คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว