คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรภพ ปัทมะสุคนธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดทางเพศต่อเด็กและการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนที่สอดคล้องกับคำพิพากษาในคดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยมิได้มีการพรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร การพิพากษาคดีส่วนแพ่งของจำเลยต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่าจำเลยไม่ได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากผู้เสียหายที่ 2 และที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจากความรุนแรงในครอบครัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครอง
แม้ขณะผู้ร้องยื่นฎีกา ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เนื่องจากศาลล่างมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ถูกร้องซึ่งเป็นบิดาจะพ้นจากภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้เยาว์ ดังนั้นเมื่อศาลเห็นว่า พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องอยู่ในภาวะที่สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองและได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีทักษะในการเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างเหมาะสม การเข้ารับการตรวจประเมินกับแพทย์ทางจิตเวชถือเป็นการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้ถูกร้องมีทัศนคติต่อตนเองและผู้เยาว์อย่างถูกต้อง ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้ถูกร้องไปรับการตรวจประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทักษะในการเลี้ยงดูบุตร โดยให้ผู้ถูกร้องอยู่ในกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 จึงนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกละเลยหน้าที่เบิกเงินให้คู่สมรส แม้คู่สมรสไม่ยินยอมเบิกเงินบางส่วน ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายจากการเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนผู้คัดค้านโดยอ้างว่า ผู้คัดค้านไม่ให้ความร่วมมือโดยไม่ยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินมรดกจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายโดยไม่มีเหตุอันสมควร ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านยอมลงชื่อถอนเงินฝากของผู้ตายแล้วบัญชีหนึ่ง โดยผู้ร้องตกลงว่าจะแบ่งเงินให้ผู้คัดค้าน 10,000 บาท แต่ผู้ร้องไม่แบ่งให้ตามตกลง การที่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินให้อีก ยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านละเลยไม่ทำตามหน้าที่ ไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่การที่ผู้ร้องเบิกเงินของผู้ตายออกจากบัญชีธนาคาร ก. ไปเพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งให้แก่ผู้คัดค้าน ถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านต่อไปจะล่าช้าติดขัดก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีเหตุสมควรให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมชิงทรัพย์-การใช้รถจักรยานยนต์-การลดโทษเยาวชน-การเปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรม
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนที่ถูกผู้อื่นหลอกลวงได้ง่ายและพฤติการณ์ในคดีก็ได้ความว่าอาของจำเลยเป็นผู้ใช้ให้จำเลยไปชิงทรัพย์ และอาของจำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปทิ้งให้อยู่ในที่เกิดเหตุ จนกระทั่งจำเลยมาชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไปเพียงลำพัง โดยอาของจำเลยไม่ได้กลับมาที่เกิดเหตุอีกเลย จำเลยกับอาของจำเลยจึงมิใช่ตัวการร่วมกันชิงทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 83 แต่เป็นกรณีจำเลยชิงทรัพย์ตามที่อาของจำเลยใช้เท่านั้น และตามพฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นชิงทรัพย์และปัญหาว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ปรากฏในฟ้องเดิม แม้การตายของผู้เสียหายจะเป็นผลจากการกระทำจำเลย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยถือเอาคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมทั้งสองด้วย ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวระบุว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส ต้องทุพพลภาพและเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ดังนั้น ที่โจทก์ร่วมทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายภายหลังโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นอุทธรณ์แล้ว การตายของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นความสัมพันธ์และเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการกระทำของจำเลยย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 อันมีผลทำให้จำเลยต้องได้รับโทษหนักขึ้นนั้น เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ระบุในฟ้องดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน และผลของการขาดอายุความในความผิดเล็กน้อย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานมีและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบจึงไม่สามารถลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมความประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ แต่ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 16 มกราคม 2548 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 กันยายน 2549 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998-1999/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมคดีและรับฟังพยานจำเลยได้ หากคดีเกี่ยวเนื่องกัน และประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีสำนวนแรกแล้ว ต่อมาจำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เป็นคดีสำนวนหลัง เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ว่าคู่ความในคดีทั้งสองสำนวนเป็นรายเดียวกัน หากรวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นการสะดวก โดยศาลเห็นสมควรเองก็ดี หรือคู่ความยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีรวมกันก็ดี เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่าคดีทั้งสองสำนวนเกี่ยวเนื่องกัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันได้ ทั้งคดีทั้งสองสำนวนนี้แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่ละสำนวนจะต่างกัน แต่ประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ข้อเท็จจริงจึงเกี่ยวพันกันมา ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยทั้งหมดที่นำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขังก็ยังคงทำได้ตามหลักกฎหมาย
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 22 เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษเป็นกักขัง ก็ยังสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ป.อ.
บทบัญญัติมาตาม 22 วรรคหนึ่งแห่ง ป.อ. นั้น เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งการที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นนั่นเอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 891/2550 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15504/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงต่อเนื่อง: ศาลฎีกายืนพยานหลักฐานน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยโดยมีเจตนาฆ่าใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 3 นัด จำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายและแพทย์รักษาบาดแผลผู้เสียหายได้ทันท่วงทีผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายเพียงแต่ได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 13 ปี 4 เดือน จำคุก 33 ปี 4 เดือน หรือจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องและจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานอื่นพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปีจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
of 19