พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็ก/เยาวชน: จุดเริ่มต้นระยะเวลาผัดฟ้อง เริ่มเมื่อถูกจับกุม ไม่ใช่แค่มอบตัว
การฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 บัญญัติให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม ถ้าฟ้องไม่ทันก็จะต้องมีการขอผัดฟ้องต่อศาลตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กฎหมายมาตรานี้กำหนดไว้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 51 พนักงานอัยการจะฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดตามที่มาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนไว้เป็นพิเศษต่างหากจากการฟ้องคดีอาญาต่อผู้ใหญ่ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฟ้องคดีกำหนดไว้ไม่ปล่อยให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนเมื่อใดก็ได้ตามอำเภอใจ แต่จุดเริ่มของการนับระยะเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนแล้วเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนแล้ว ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูกควบคุมตัว พนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2547 และปล่อยตัวจำเลยไปในวันเดียวกัน พนักงานสอบสวนไม่ได้ผัดฟ้องจำเลยต่อศาล เนื่องจากไม่ได้จับกุมและไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้ ดังนี้ การนับระยะเวลาตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 จึงยังไม่เกิดขึ้น เพราะการเข้ามอบตัวของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ซึ่งจะต้องผัดฟ้องและได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดให้ฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเลิกบุตรบุญธรรม: การละทิ้งต่อเนื่องจนกว่าจะกลับมาอยู่ด้วยกัน
จำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โดยกลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลย การจงใจละทิ้งโจทก์ของจำเลยจึงมีพฤติการณ์ต่อเนื่องกันตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมยังคงมีอยู่ อายุความยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเลิกบุตรบุญธรรมและการเริ่มนับอายุความเมื่อบุตรบุญธรรมจงใจละทิ้งผู้รับ
โจทก์และภริยาของโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์จึงเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องขอเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมได้
จำเลยซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมจงใจละทิ้งโจทก์กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงโดยไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลยเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องกัน ตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมก็ยังคงมีอยู่ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี แล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมจงใจละทิ้งโจทก์กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงโดยไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลยเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องกัน ตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมก็ยังคงมีอยู่ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี แล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่าจากพฤติการณ์เลี้ยงดูภรรยาใหม่ และสิทธิในการดูแลบุตรหลังการหย่า
โจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1 ยังคงอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) จึงยังคงมีอยู่ตลอดมาและโจทก์ย่อมยกเป็นเหตุหย่าได้ โดยไม่สำคัญว่าโจทก์จะรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนฟ้องเกิน 1 ปีหรือไม่ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขับรถประมาทเฉี่ยวชนเจ้าพนักงาน แต่เจตนาไม่ใช่ฆ่า เป็นความผิดพยายามทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่พยายามฆ่า
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นได้ว่า รถที่จำเลยที่ 1 ขับอาจเฉี่ยวชนผู้เสียหายให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อ แม้จะระบุคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อก็เป็นคำขอที่ไม่มีข้อเท็จจริงในคำฟ้องเพราะคำฟ้องมิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อข้อความที่โจทก์ระบุมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอื่นที่มิได้ระบุว่าขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนดังกล่าวเป็นเพียงคำอธิบายและเหตุผลของโจทก์ในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายมาในคำฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ถือเอาคำขอท้ายฟ้องซึ่งมีข้อเท็จจริงนอกเหนือไปกว่าที่กล่าวไว้ในฟ้องไปนับโทษติดต่อกันเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อ แม้จะระบุคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อก็เป็นคำขอที่ไม่มีข้อเท็จจริงในคำฟ้องเพราะคำฟ้องมิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อข้อความที่โจทก์ระบุมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอื่นที่มิได้ระบุว่าขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนดังกล่าวเป็นเพียงคำอธิบายและเหตุผลของโจทก์ในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายมาในคำฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ถือเอาคำขอท้ายฟ้องซึ่งมีข้อเท็จจริงนอกเหนือไปกว่าที่กล่าวไว้ในฟ้องไปนับโทษติดต่อกันเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังจดทะเบียนสมรส: สิทธิในการบอกล้างและการเรียกร้องทรัพย์สินคืน
เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันในขณะจดทะเบียนสมรสว่า ไม่ประสงค์จะให้บันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน แม้ภายหลังในวันเดียวกันทั้งสองฝ่ายจะมาขอบันทึกเพิ่มเติ่มว่าจำเลยมีที่ดิน 1 แปลงจะยกให้โจทก์ บันทึกครั้งหลังนี้ก็มิใช่สัญญาก่อนสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันตามมาตรา 1469 ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกล้างได้ในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการสุจริต การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอเลิกสัญญาถือเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะยังเป็นสามีภริยากันอยู่แล้ว จำเลยมีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: มูลหนี้ใหม่แม้สาเหตุเดิม ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำหากยอดหนี้ต่างกันและยังไม่ถึงกำหนด
แม้ในคดีเดิมของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูมาทั้งหมดโดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า อ้างเหตุว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบถ้วนตามข้อตกลงในสัญญา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดรับชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบางส่วนเฉพาะงวดหนี้ที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมี่อหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดชำระจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาดังกล่าวอีกจึงเกิดมูลหนี้ใหม่แม้จะโดยสาเหตุจำเลยผิดนัดเหมือนกันกับคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยตามสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าและอ้างเหตุจำเลยผิดนัดสัญญาเช่นเดิมแต่ก็เป็นเพราะจำเลยไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาในยอดหนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ายอดหนี้ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละจำนวนกัน เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีเดิมจำเลยยังมิได้ผิดนัดสัญญาในยอดหนี้คงค้างที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยในคดีนี้เพราะเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวและศาลชั้นต้นในคดีเดิมยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นหรือเนื้อหาแห่งคดีในส่วนยอดหนี้ดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีเดิม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้เหตุเดิมแต่เป็นหนี้ต่างจำนวน ศาลฎีกาตัดสินไม่เป็นฟ้องซ้ำได้
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งหมดโดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า อ้างเหตุว่าจำเลยผิดนัดไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบถ้วน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบางส่วนเฉพาะงวดหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมื่อหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดชำระจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาดังกล่าวอีกจึงเกิดมูลหนี้ใหม่ แม้จะโดยสาเหตุจำเลยผิดนัดเหมือนกันกับในคดีเดิม แต่ก็เป็นเพราะจำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาในยอดหนี้ส่วนที่เหลือ จึงเป็นหนี้คนละจำนวนกัน เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีเดิมจำเลยยังมิได้ผิดนัดในยอดหนี้คงค้างที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยในคดีนี้เพราะเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวและศาลชั้นต้นในคดีเดิมยังมิได้วินิจฉัยประเด็นหรือเนื้อหาแห่งคดีในส่วนยอดหนี้ดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีเดิม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิในการปลูกสร้างและให้เช่าช่วงเป็นไปตามข้อตกลงเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิกำหนดเวลาหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ข้อ 4 ที่ระบุว่าเช่าเพื่อปลูกสร้างตึกให้เช่าไม่มีเงินกินเปล่านั้น ต. ผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยทั้งสามไม่ได้กำหนดรายละเอียดและเวลาไว้ว่าจำเลยทั้งสามจะต้องปลูกสร้างตึกขึ้นจำนวนเท่าใดและในเวลาใด จึงต้องแปลความว่าเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสามที่จะปลูกสร้างตึกจำนวนเท่าใดและในเวลาใดก็ได้ หรือหากจะมีการตกลงกำหนดกันใหม่ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของ ต. กับจำเลยทั้งสาม หาใช่ว่า ต. ฝ่ายเดียวจะเป็นผู้กำหนดเวลานั้นใหม่ได้ การที่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ต. โจทก์ก็ต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ของ ต. มาด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสามปลูกสร้างตึกได้ฝ่ายเดียว การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามดำเนินการปลูกสร้างตึกโดยอ้าง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15147/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดียาเสพติดที่มีโทษจำคุกเกิน 10 ปี ศาลต้องดำเนินการโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร จะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง, 172 ทวิ คดีนี้ ในวันนัดฟังประเด็นกลับ จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลย แต่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 (เดิม) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลยและดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและให้ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงและโจทก์แถลงไม่สืบพยานปาก อ. นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง, 172 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225