คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรภพ ปัทมะสุคนธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน ศาลมีอำนาจบังคับคดีจากทรัพย์สินของลูกหนี้ทุกรายได้
โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นว่าตามหมายบังคับคดีโจทก์ไม่สามารถยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หลังการขายทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่ มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมมีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอว่า ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกัน การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดีกับจำเลยที่ 4 มีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองนำที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของกฎหมายควบคุมเทปวิดีโอ: การลงโทษเฉพาะผู้ประกอบการ ไม่รวมลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 4, 6, 34 และตาม ป.อ. มาตรา 287 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากจำเลยได้ความว่า จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างรับจ้างจำหน่ายจึงไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 ที่ประสงค์จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นสอบโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: เงินบริจาคเพื่อโครงการตำรวจเป็นสิทธิของกรมตำรวจ ไม่ใช่ของข้าราชการตำรวจ
กรมตำรวจได้จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี เพื่อจำหน่ายนำรายได้มาส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจและสมทบเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาสถานีตำรวจทั่วประเทศ โดยมีการออกคำสั่งวางแนวปฏิบัติในการรับเงินจากการจำหน่ายและนำเงินเข้าบัญชี ซึ่งตามบันทึกข้อความเรื่องวิธีปฏิบัติและควบคุมการรับเงินบริจาคในการสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี ระบุให้หน่วยที่รับผิดชอบใบสั่งจองและรับเงินบริจาค จัดเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาคและจัดทะเบียนคุมการรับเงินบริจาคและทะเบียนคุมการสั่งจองพระ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเป็นสารวัตรการเงินของหน่วย ฯลฯ เมื่อรับเงินบริจาคแล้วให้นำเงินฝาก ธนาคาร ท. ตามชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินของหน่วย จึงมีหน้าที่รับเงิน แล้วนำฝากเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเงินที่จำเลยรับไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับไว้แทนกรมตำรวจ สิทธิในเงินรับบริจาคย่อมตกแก่กรมตำรวจแล้วตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินไว้ หาใช่เงินของเจ้าพนักงานตำรวจแปดนายดังที่โจทก์ฟ้องไม่ เจ้าพนักงานตำรวจทั้งแปดนายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเงินดังกล่าว ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนแล้วไม่ชำระคืน ถือเป็นคำให้การขัดแย้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และภริยาโจทก์ช่วยชำระค่าปรับ 1,451,450 บาท ในข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม ต่อกรมสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองตกลงจะร่วมกันนำเงินดังกล่าวมาชำระคืนให้แก่โจทก์และภริยาในภายหลัง จำเลยทั้งสองให้การในตอนแรกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ขอให้โจทก์ชำระหนี้ค่าปรับแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระค่าปรับเองแต่จำเลยทั้งสองกลับให้การในตอนหลังว่า หนี้ค่าปรับมิใช่เงินของโจทก์ ถ้าทางพิจารณาฟังได้ว่าเป็นเงินของโจทก์ซึ่งเป็นการชำระหนี้แทน ฟ้องโจทก์ก็ขาดอายุความ กรณีจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าหนี้ค่าปรับที่ชำระแก่กรมสรรพสามิตเป็นเงินของจำเลยที่ 1 หรือเป็นเงินของโจทก์ และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่มีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 121 จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 76 กึ่งหนึ่ง จำคุก 9 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 (จังหวัดราชบุรี) มีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 อันจะเข้ากรณียกเว้นที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น มิใช่อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 122 ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 121 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นในอันที่จะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อมูลทะเบียนราษฎรไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของนาง พ. ตราบใดที่แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรยังระบุว่า นาง พ. เป็นมารดาของจำเลย ย่อมเกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของนาง พ. เพราะจำเลยสามารถนำเอกสารดังกล่าวไปใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานดำเนินการในกิจการต่าง ๆ อันอาจทำให้สิทธิประโยชน์หรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลงไป การกระทำตามคำฟ้องจึงเกิดการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยไม่ให้ใช้ชื่อนาง พ. เป็นมารดาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดียาเสพติด: โทรศัพท์, รถจักรยานยนต์ และเงินสดที่ได้จากการจำหน่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่าย และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการติดต่อซื้อขายและนำเมทแอมเฟตามีนออกไปเพื่อจำหน่าย เป็นของกลาง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เงินสด 1,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้มาจากการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยทั้งสองได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในคดีนี้ซึ่งจะทำให้ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) กรณีจึงไม่อาจริบเงินสดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำรับสารภาพของจำเลย และการริบของกลางที่ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้าง หรือร่วมกันรับของโจรและจำเลยพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง และบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาต่อท้ายคำให้การของจำเลยว่าอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องและมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมต่อจากข้อความดังกล่าวว่าในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง เมื่อพิจารณาแล้วพอแปลความหมายคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้างหรือร่วมกันรับของโจร การที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมต่อท้ายว่า ในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดระหว่างความผิดในสองข้อหาดังกล่าว กรณีจึงพอถือได้ว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง และพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งก็ตรงกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนด้วย ทั้งการแปลความหมายเช่นนี้ ย่อมเป็นการตีความตรงตามเจตนาที่แท้จริงของจำเลยและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระเป๋าของกลางในการปิดบังซุกซ่อนทรัพย์ที่คนร้ายลักมาเท่านั้น จำเลยมิได้ใช้กระเป๋าเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่ากระเป๋าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบมานั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำรับสารภาพของจำเลยในคดีลักทรัพย์และพกพาอาวุธ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำรับสารภาพครอบคลุมความผิดทั้งสองฐาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้าง หรือร่วมกันรับของโจรและพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยโดยใช้แบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง และมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมต่อจากข้อความดังกล่าวว่าในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ดังนี้ พอแปลความหมายของคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้างหรือร่วมกันรับของโจร ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมต่อท้ายว่า ในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดระหว่างความผิดในสองข้อหาดังกล่าว กรณีจึงพอถือได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างและพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามฟ้องแล้ว ซึ่งการแปลความหมายเช่นนี้ย่อมเป็นการตีความให้ตรงตามเจตนาที่แท้จริงของจำเลยและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย
of 19