คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรภพ ปัทมะสุคนธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดและอาวุธปืน: พฤติการณ์ร้ายแรง, ประวัติอาชญากรรม, และการพิจารณาโทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยยังมีและพาอาวุธปืนพร้อมทั้งเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงทั้งจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำคุกอีก 7 คดี ซึ่งมีทั้งรอการลงโทษและไม่รอการลงโทษ แสดงว่าจำเลยมีลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย ไม่สำนึกหรือเกรงกลัวต่อโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ก็ตาม แต่มีผลเพียงให้ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้จำเลยถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ประกอบกับศาลฎีกาได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีนี้แล้ว กรณียังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ และการเพิ่มโทษจำเลยที่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักสายไฟฟ้าโดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ซึ่งมีข้อความว่า ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 335 โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพตามฟ้องกรณีก็หาได้ฟังเป็นยุติตามคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย แม้โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์เจตนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด น้ำหนัก 1.780 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.307 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณ 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป และมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัมขึ้นไป ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพว่า มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง แต่ปฏิเสธว่ามิได้มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจริง กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม ที่ให้ถือว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: รถจักรยานยนต์ใช้ส่งยาเป็นเหตุให้ริบได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามคำรับของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยตรง รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดีจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดโดยให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีน 1,800 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจริง พร้อมทั้งแจ้งว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวนหนึ่งอยู่ที่ห้องพักของจำเลย และพาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจนสามารถยึดเมทแอมเฟตามีนซึ่งซุกซ่อนอยู่ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้อีก 30 เม็ด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย นับว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เห็นสมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์มรดกเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ และผลของการตกลงระหว่างผู้รับมรดกกับผู้ให้หนี้
ส. กับ ม. ซึ่งเป็นทายาทของ ก. เอาเงินจำเลยไปคนละ 7,000 บาท แล้วบุคคลทั้งสองตกลงยกทรัพย์มรดกของ ก. ส่วนของตนตีใช้หนี้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. เช่นกัน ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงิน: การผ่อนชำระเป็นงวดๆ อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(2)
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยสัญญาว่าจะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) มิใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเปลี่ยนแปลงโทษตามกฎหมายใหม่หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด การไม่ปฏิบัติตามลำดับชั้นศาล และการวินิจฉัยเกินขอบเขต
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 ให้จำคุกจำเลย 20 ปี ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ให้ยกคำร้อง ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนี้ การที่จำเลยมายื่นคำร้องลงวันที่ 19 เมษายน 2550 ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณากำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) อีกนั้น จึงหาอาจทำได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เป็นไปตามลำดับชั้นศาล จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า คำร้องของจำเลยไม่เข้าลักษณะของการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ยกคำร้องนั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยต่อมาว่า กรณีตามคำร้องของจำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 และไม่มีผลอันจะก่อสิทธิให้จำเลยฎีกาโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอปรับโทษภายหลังมีกฎหมายใหม่ และการไม่ปฏิบัติตามลำดับชั้นศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 ให้จำคุกจำเลย 20 ปี ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ให้ยกคำร้อง หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 19 เมษายน 2550 ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณากำหนดโทษจำเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) อีก จึงหาอาจทำได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เป็นไปตามลำดับชั้นศาล จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการยิงปืนเข้าบ้านผู้เสียหาย ไม่ถือเป็นความพยายามฆ่า หากมีเจตนาข่มขู่แก้แค้น
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 83 โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
จำเลยกับ จ. ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงมาที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองในระยะห่าง 14 เมตร โดยเล็งปากกระบอกปืนไปที่ตัวบ้าน มิได้เล็งปากกระบอกปืนไปที่ผู้เสียหายทั้งสองหรือบุคคลใดซึ่งอยู่ในบ้าน พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยกับ จ. มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองหรือบุคคลใด อีกทั้งจำเลยให้ปากคำว่ายิงปืนเข้าไปในบ้านผู้เสียหายที่ 2 เพียงแค่ข่มขู่และแก้แค้นผู้เสียหายที่ 1 กับพวกที่ใช้ไม้ตีทำร้ายจำเลยกับ จ. เท่านั้น ไม่มีเจตนาฆ่าใคร พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกพยายามฆ่าผู้เสียหาย
of 19