พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้เมื่อถูกกลุ่มผู้เสียหายที่มีอาวุธไล่ทำร้าย
พวกผู้เสียหายทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ติดตามจำเลยกับพวกไปโดยมีไม้ปลายแหลมและสนับมือติดตัวไปด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพวกของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เพื่อติดตามจำเลยกับพวกไปเพราะประสงค์จะไปหาเรื่องกับจำเลยเมื่อผู้เสียหายทั้งสองกับพวกติดตามจำเลยกับพวกจนทันแล้ว ผู้เสียหายทั้งสองกับพวกจะเข้ามาทำร้ายจำเลย พวกผู้เสียหายมีอาวุธติดตัวและมีจำนวนคนมากกว่าจำเลยกับพวกย่อมกลัวพวกผู้เสียหายทั้งสองจะใช้อาวุธดังกล่าวทำอันตราย จึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายอันใกล้จะถึง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงออกไปถึง 6 นัดนับว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์สินชั่วคราว ไม่เข้าข่ายชิงทรัพย์ แต่เป็นข่มขืนใจ
จำเลยรู้จักกับบุตรชายผู้เสียหายที่ 1 เจ้าของรถจักรยานยนต์ และผู้เสียหายที่ 2 มาก่อน ทั้งเคยประสบอุบัติเหตุได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง หากมีใครขัดใจจะแสดงอาการโวยวายคล้ายคนอารมณ์เสีย ก่อนนำรถจักรยานยนต์ไป จำเลยพูดขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้เสียหายที่ 2 ครั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ให้ จำเลยพูดขู่บังคับเอารถจักรยานยนต์โดยขู่ว่าจะตบ ผู้เสียหายที่ 2 เกิดความกลัวจึงให้รถจักรยานยนต์แก่จำเลยไป ดังนั้น การข่มขู่ว่าจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เป็นเพียงการแสดงลักษณะนิสัยจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการมุ่งหมายเพื่อจะเอารถจักรยานยนต์นั้นไปเป็นของจำเลย
แม้จะได้ความว่าต่อมาจำเลยนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปให้บุคคลอื่นยึดไว้เป็นประกันค่าอาหาร แต่ราคาอาหารไม่มากนัก เชื่อว่าจำเลยตั้งใจไถ่คืน จึงเป็นการบังคับเอาทรัพย์ผู้อื่นไปใช้ชั่วคราว ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ คงเป็นความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้น
แม้จะได้ความว่าต่อมาจำเลยนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปให้บุคคลอื่นยึดไว้เป็นประกันค่าอาหาร แต่ราคาอาหารไม่มากนัก เชื่อว่าจำเลยตั้งใจไถ่คืน จึงเป็นการบังคับเอาทรัพย์ผู้อื่นไปใช้ชั่วคราว ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ คงเป็นความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15984/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าใหม่หลังข้อตกลงเดิมไม่เป็นผล และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต รวมถึงอำนาจฟ้องแย้ง
คดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนหย่ากันและต่างฝ่ายจะถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้งซึ่งกันและกัน โดยศาลชั้นต้นจดข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว และโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ถอนฟ้องแล้วตามข้อตกลง แต่ต่อมาโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนหย่า ภายหลังกลับมาฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะมีเหตุใหม่และเป็นคนละประเด็นกับคดีเดิม ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15238/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีใบสั่งซื้อตอบรับใบเสนอราคา แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อต้องรับสินค้าและชำระราคา
การซื้อขายสินค้าประเภทอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางจะเกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีใบเสนอราคา แสดงว่าได้ทำคำเสนอไปยังจำเลยแล้วการที่จำเลยมีใบสั่งซื้อกลับไปยังโจทก์ โดยมีสาระสำคัญตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นชนิด รุ่น หรือราคาสินค้าที่โจทก์เสนอมา คงมีแต่รายละเอียดที่จำเลยกำหนดไว้ในใบสั่งซื้อว่าวางบิลได้ในเวลาใด ติดต่อพนักงานของจำเลยผู้ใดและที่อาคารชั้นไหนเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอันจะถือว่าเป็นคำเสนอขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นคำสนองถูกต้องตรงกับคำเสนอของโจทก์ ก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยและมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ใบสั่งซื้อของจำเลยส่งไปถึงโจทก์แล้ว ส่วนที่ต่อมามีพนักงานของโจทก์ติดต่อไปยังจำเลยขอให้ยืนยันการสั่งซื้อ ก็เป็นเพียงกลวิธีในการทำธุรกิจที่จะลดความเสี่ยงและเป็นการให้บริการแก่ลูกค้า โดยให้โอกาสแก่จำเลยว่าจะยังคงยืนยันการซื้อขายหรือไม่ หาใช่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้าจากโจทก์และไม่ยอมชำระราคา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ฉะนั้น โจทก์จะรับชำระค่าสินค้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยไม่ได้พิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือจะต้องพิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์และชำระราคา ส่วนการจะบังคับคดีอย่างไรนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247
ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ฉะนั้น โจทก์จะรับชำระค่าสินค้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยไม่ได้พิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือจะต้องพิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์และชำระราคา ส่วนการจะบังคับคดีอย่างไรนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14226/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องยาเสพติด - หน่วยการใช้ - ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 24 เม็ด (หน่วยการใช้) แม้จะเป็นการบรรยายคำว่าหน่วยการใช้ไว้ในวงเล็บหลังคำว่าเม็ด ก็ถือว่าเป็นการบรรยายคำฟ้องว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วยแล้ว กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป ถือว่าเป็นการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13745/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิเมื่อได้รับโต้แย้งความยินยอมจากมารดาและเด็กยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้
ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอม ก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้เท่านั้น เมื่อโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเพียง 7 ปี เป็นบุตรของตน แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบปฏิเสธและจำเลยที่ 2 อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การที่จะให้โจทก์ไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสือเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย หากจำเลยไม่ได้กระทำการโอนขายทรัพย์สิน การขอคุ้มครองจึงไม่ชอบ
การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) จะต้องเป็นการห้ามมิให้กระทำซ้ำซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หากกรณีไม่ใช่เรื่องดังกล่าว จะต้องเป็นการห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
คำร้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 พยายามจะให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขอจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อกระทรวงมหาดไทย หากดำเนินการจนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับความเสียหายยากที่จะดำเนินการให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ แม้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 คำร้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุดังกล่าวข้างต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้พยายามโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้
คำร้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 พยายามจะให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขอจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อกระทรวงมหาดไทย หากดำเนินการจนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับความเสียหายยากที่จะดำเนินการให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ แม้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 คำร้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุดังกล่าวข้างต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้พยายามโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12862/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานที่ไม่เชื่อมโยงกับการกระทำความผิดเฉพาะเจาะจง และหลักการห้ามรับฟังพยานหลักฐานอื่น
ในความผิดฐานฉ้อโกง คำเบิกความของ ท. ซึ่งเป็นพยานโจทก์ปากหนึ่งที่เบิกความว่า จำเลยมีพฤติการณ์พูดและกระทำการหลอกลวง ท. ทั้งในเรื่องการติดต่อซื้อที่ดินและการล่อลวงพา ท. ไปเล่นการพนันกับพวกของจำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยหลอกลวง ท. โดยตรงมิใช่พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย คำเบิกความของ ท. จึงเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นของจำเลย ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12852/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณะ: เจตนาสุจริตและเหตุผลในการป้องกันการบุกรุก
ที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วมอ้างว่ามีสิทธิครอบครองไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ และอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ร่วม มีสภาพเป็นป่าพรุ มีต้นไม้ขึ้นตามธรรมชาติ มีร่องน้ำไหลผ่านออกสู่ทะเลได้ แม้ที่เกิดเหตุมิได้จดทะเบียนเป็นที่สาธารณะหรือออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่ที่เกิดเหตุอาจเป็นที่สาธารณะได้หากเป็นทรัพย์สินที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1304 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเชื่อโดยสุจริตว่าที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณะอันเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม จึงใช้ให้จำเลยที่ 2 กับพวกเข้าไปปลูกต้นมะพร้าวในที่เกิดเหตุโดยมีเจตนาป้องกันมิให้โจทก์ร่วมบุกรุกเข้าถือครองที่เกิดเหตุ มิได้มีผลประโยชน์แอบแฝง การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงขาดเจตนายังไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12518/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ชื่อสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดิน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเสมอไป เพราะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องมีการกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการนั้น แต่ตามสัญญาพิพาทมีเนื้อหาสาระเพียงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมลงทุนซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 637 ในราคา 2,656,000 บาท วางมัดจำไว้ 1,000,000 บาท เป็นเงินของจำเลย 500,000 บาท และเงินของโจทก์ทั้งสองคนละ 250,000 บาท โดยตกลงกันให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามอัตราส่วนของจำนวนเงินที่ลงหุ้นวางมัดจำไว้เท่านั้น อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด
สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30