คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิริรัตน์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12124/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนและการไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่ควรยกขึ้นต่อสู้ในคดีเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันทั้งในคดีของศาลแพ่งและศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และอยู่ในชั้นบังคับคดี คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยทั้งสองคดีได้ ประกอบกับตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้หาใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ กรณีจึงไม่ได้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ เป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้โดยชอบ จึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหากโจทก์เห็นว่ามูลหนี้ที่จำเลยนำมาฟ้องมีข้อบกพร่องประการใดหรือไม่มีมูลหนี้อยู่จริง หรือโจทก์มีข้ออ้างข้อเถียงประการใดที่จะทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อจำเลยแล้ว โจทก์ก็สามารถยกขึ้นต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่จำต้องมาฟ้องเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ หรือโจทก์มีความจำเป็นประการใดที่จำต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12102/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม vs. ทางจำเป็น: การใช้ทางโดยอาศัยความสัมพันธ์เครือญาติไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิ ป.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทอันเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินจึงไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม หลังจากจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของทางพิพาท โจทก์ทั้งสามมิได้มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าใช้ทางพิพาทโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอม โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะอาศัยความเกี่ยวพันในทางเครือญาติ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทในลักษณะเป็นปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แม้โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแต่ประการเดียว แม้คำฟ้องบรรยายว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะประโยชน์ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นด้วย ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรื้อถอนประตูเหล็กและรั้วออกไปหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลยกฟ้องโจทก์ทั้งสามด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสามจะฟ้องใหม่ในเรื่องทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11570/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 4 บัญญัติว่า "วิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า "วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค..." การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สั่งจ่ายยารักษาให้แก่สายลับหลังจากจำเลยที่ 1 ตรวจและวินิจฉัยโรคให้แก่สายลับแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่จัดยาให้ตามใบสั่งแพทย์ของจำเลยที่ 1 และเก็บเงิน ล้วนเป็นการกระทำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 อีกกระทงหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11294/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์จากสัญญาเช่าซื้อ: อำนาจฟ้อง, การไม่ระงับคดี, และการพิสูจน์ความผิด
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้นใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย
การที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีแพ่งมิได้เป็นการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลากลางคืน จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กข 3228 พัทลุง ของผู้เสียหาย จำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำการเบียดบังยักยอกรถยนต์ไปอย่างไร เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้เสียหายเพียง 2 งวดแล้วไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเลย และจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปตีใช้หนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถที่เช่าซื้อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อ จ. ไปติดตามยึดรถที่เช่าซื้อแต่จำเลยบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความร่วมมือ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11274/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนรับบุตรเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี และสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุตร
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิใช่บิดาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 แต่ที่จดทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรเพราะสำคัญผิด หากเป็นจริงตามคำฟ้อง โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1554 ที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเพราะเหตุว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนนั้นมิใช่บิดา แต่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดระยะเวลาให้ฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้การจดทะเบียน และห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องอันเป็นอายุความที่ศาลจะยกมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตร และถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ได้ตามกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายฟ้องคดีหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: ศาลไม่รับฎีกาหากทนายไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ตามคำร้องของทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2 ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผู้เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10870/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบ กรณีภูมิลำเนาไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ศาลต้องไต่สวนก่อนวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าบ้านซึ่งโจทก์อ้างมาในคำฟ้องว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยนั้น ไม่มีสภาพเป็นบ้านที่สามารถอยู่อาศัยได้ คงมีเพียงเสาบ้านเท่านั้นและจำเลยไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว จึงไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยและภายหลังแต่นั้นมาย่อมไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แม้จำเลยจะยื่นคำขอโดยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ก็ไม่ทำให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าเป็นไปตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและระยะเวลาฝึกอบรมเยาวชนในคดีอาญา: อำนาจศาลในการแก้ไขโทษและปรับบทกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมโดยกำหนดระยะเวลาให้อบรมในเวลาขั้นต่ำไม่น้อยกว่ากี่ปี และขั้นสูงไม่เกินกว่ากี่ปีนับแต่วันพิพากษานั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาตามที่ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ประกอบมาตรา 143 ให้อำนาจไว้เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงความประพฤติของจำเลย แต่การจะส่งจำเลยไปจำคุกหลังจากอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 142 วรรคท้าย มิใช่เป็นกำหนดระยะเวลาของการฝึกอบรม จึงกำหนดระยะเวลาเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงอย่างเดียวกับการฝึกอบรมไม่ได้ เพราะจะเป็นการกำหนดเวลาที่ไม่ชัดเจนแน่นอน เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
การที่จำเลยแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบา หากมีโทษจำคุกก็ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจะขอมาในรูปของคำแก้ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10334/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากจำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตได้
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมกับคำร้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยแล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของโจทก์มายังศาลฎีกา จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10171-10182/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ไม่ขอให้ลงโทษตามบทเฉพาะมาตรา และบททั่วไป ทำให้จำเลยพ้นผิด
นอกจากจำเลยมีหน้าที่รังวัดที่ดินแล้ว ผู้บังคับบัญชายังได้มอบหมายหน้าที่ให้จำเลยมีหน้าที่รับคำขอ ลงบัญชี รับทำการ เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม และออกใบเสร็จรับเงินด้วย การที่จำเลยรับเงินค่าธรรมเนียมรังวัดที่ดินจากผู้เสียหายทั้งสิบสองแม้ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงที่ได้ตามทางพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่หรือแสดงตนว่ามีหน้าที่เรียกเก็บหรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือเงินนั้นโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 154 แต่ก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยได้ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 154 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย นอกจากนี้ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไป โจทก์ก็มิได้อ้างมาในฟ้องทั้งมิได้ยกขึ้นฎีกา จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
of 27