คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิริรัตน์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลพร้อมอุทธรณ์เป็นของผู้อุทธรณ์ การถอนอุทธรณ์ทำให้สิทธิกลับสู่เดิม
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ไปจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ หาใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้นไม่ จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของจำเลยผู้อุทธรณ์เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์ การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์จึงยังเป็นของจำเลย และต้องตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด โจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การไม่ส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความคัดค้านทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์และส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่โจทก์แต่เจ้าหน้าที่ศาลได้จ่ายหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่โจทก์ทางไปรษณีย์โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่โจทก์ เชื่อว่าโจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยที่ยังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ และถือได้ว่าเป็นกรณีไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการฎีกาคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีและมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้จำเลยทั้งสองจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นคำอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลทำให้ศาลไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ และไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถึงที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีความเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกนั้นชอบแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต่อไปอีก และเมื่อผู้ร้องไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลก็ชอบที่จะไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: พิจารณาจากอัตราโทษตามกฎหมายที่บัญญัติ ไม่ใช่โทษที่ศาลตัดสิน
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษสำหรับข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความ มิใช่ถือตามอัตราโทษที่จำเลยได้รับเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ มาตรา 55 วรรคหนึ่ง, 117 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ส. ประกาศผลการเลือกตั้งในวันที่ 23 สิงหาคม 2547 จำเลยต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ส. ภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2547 เมื่อจำเลยไม่ยื่นภายในกำหนด จำเลยจึงกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า: แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ แต่สิทธิฟ้องยังคงมีอยู่หากมีสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า จ. ซึ่งเป็นปู่ของโจทก์เช่าที่ดินแปลงที่ปลูกห้องแถวพิพาทมาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการปลูกห้องแถวนำออกให้เช่า จ. ได้ปลูกห้องแถวพิพาทแล้ว ต่อมา จ. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงได้เข้าเป็นคู่สัญญาเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทน และโจทก์มอบอำนาจให้ ส. มารดาของโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับจำเลยแทนโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทโดยซื้อมาจาก ค. แต่ยอมรับว่าทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทตามสัญญาเช่าที่โจทก์ระบุมาให้คำฟ้องจริง เนื่องจากที่ดินที่ปลูกห้องแถวเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องแถวพิพาทหรือไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์และสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปโดยชอบแล้ว จำเลยเพิกเฉย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท
จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าเหตุที่ต้องทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์เนื่องมาจากไม่สามารถทำสัญญญาโอนสิทธิการเช่าได้ เพราะที่ดินเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าต้องพิจารณาเหตุผลของการแยกกันอยู่ การบอกให้จำเลยย้ายออกไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
โจทก์กับจำเลยทะเลาะกันรุนแรงถึงขนาดโจทก์ตบตีจำเลยและโจทก์บอกให้จำเลยย้ายออกไปจากบ้านพักที่แฟลตตำรวจไปอยู่ที่บ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และจำเลย โดยโจทก์โทรศัพท์แจ้งบิดาจำเลยให้มารับจำเลยไป จำเลยได้พาบุตรสาวของโจทก์และจำเลยไปอยู่ด้วย แม้โจทก์และจำเลยจะไม่ได้ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี การกระทำของจำเลยยังไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งร้างโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายออกจากบ้านพักโดยได้รับคำบอกให้ย้าย ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้างเพื่อฟ้องหย่าได้
จำเลยซึ่งเป็นภริยาย้ายออกจากบ้านพักของโจทก์ซึ่งเป็นแฟลตตำรวจไปอยู่บ้านที่อำเภอน้ำปาดเนื่องจากโจทก์บอกให้ย้ายไป โดยโจทก์โทรศัพท์แจ้งบิดาจำเลยให้มารับจำเลยไป ทั้งบ้านที่อำเภอน้ำปาดก็เป็นที่ดินของโจทก์และจำเลยอันเป็นสินสมรสร่วมกัน การกระทำของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งร้างโจทก์ โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่จำกัดเฉพาะการโต้แย้งดุลพินิจวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เหมือนในชั้นอุทธรณ์ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงไม่รับวินิจฉัย
(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2553)
of 27