พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีอาญา ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมอันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มารา 104 (2) แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะเนื่องจากข้อห้ามโอนที่ดิน ผู้ขายต้องคืนเงิน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินพิพาทและนิติกรรมดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินที่เหลือแก่จำเลยที่ 1 อีก การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก็เพราะต้องการได้ที่ดินพิพาทโดยไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่กำหนดข้อห้ามโอนไว้ การที่โจทก์ชำระราคาที่ดินให้จำเลย จึงไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหรือกระทำการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตามป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411
โจทก์อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จริงไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
โจทก์อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จริงไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากมีข้อห้ามโอน ผู้ขายต้องคืนเงิน
ขณะโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินพิพาท นิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินที่เหลือแก่จำเลยที่ 1 อีก การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะต้องการที่ดินพิพาทโดยไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่กำหนดข้อห้ามโอนไว้ กรณีดังกล่าวไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหรือกระทำการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินที่ค่าที่ดินที่ได้ชำระมาแล้วให้แก่โจทก์
โจทก์อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
โจทก์อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาท และอำนาจโจทก์
ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์กระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตาย ขณะเดียวกันผู้ตายก็ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของจำเลยประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกันเช่นนี้ จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปได้
ผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงหนี้ไม่ใช่ประนีประนอมยอมความ สัญญาจำนองยังผูกพันทายาท
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เกินกำหนดเวลาฟ้องร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 181 บัญญัติกำหนดเวลาที่จะบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะว่าจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของผู้ตายทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือมอบอำนาจอันเป็นโมฆียะให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2507 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทได้
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิ และสามารถฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความนั้น คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องและคำให้การว่าโจทก์บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 หรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิโดยไม่มีกำหนดอายุความตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็นถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิ และสามารถฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความนั้น คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องและคำให้การว่าโจทก์บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 หรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิโดยไม่มีกำหนดอายุความตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็นถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานโดยไม่ระบุเอกสารเฉพาะเจาะจง และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานโดยอันดับ 7 มิได้อ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ เพียงระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไร แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารในสำนวนคดี – ศาลรับฟังได้หากจำเลยมีสิทธิซักค้านและหักล้าง
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ แต่ยื่นบัญชีระบุพยานระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับ โดยไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไรบ้างก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย โดยพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วตามที่ระบุในคำฟ้อง ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเอกสารที่โจทก์ประสงค์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวล้วนเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบสวนในคดีนี้ทั้งสิ้น โจทก์มีอำนาจนำพยานเอกสารดังกล่าว เข้าสืบได้ เมื่อจำเลยซึ่งถูกอ้างเอกสารดังกล่าวมายันย่อมซักค้านได้ และถ้าเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมนำพยานที่เกี่ยวข้องมานำสืบหักล้างพยานเอกสารที่โจทก์นำเข้าสืบได้ มิได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างไร การยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9765/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: พยานหลักฐานจากพยานบุคคลมีน้ำหนักกว่าทะเบียนการครอบครองดินที่ไม่มีเอกสารอ้างอิง
ปัญหาว่าที่ดินเป็นของผู้ใด ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงสามารถนำสืบได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินและสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารทะเบียนการครอบครองที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพเจ้าของที่ดินจากการไม่โต้แย้ง และขอบเขตการต่อสู้คดีการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องโดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองกับบริวารขนย้ายหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าว แต่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องมาจากการขายทอดตลาด แต่การยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิเสธข้อที่ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ดังนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยาน ส่วนเรื่องการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีที่จำเลยทั้งสองต้องร้องขอเข้าไปในคดีที่มีการบังคับคดีนั้นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง คำให้การของจำเลยจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว