พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นไม่เป็นผลผูกพันเมื่อคู่หมั้นไม่ได้ตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส และไม่ได้วางแผนชีวิตคู่ร่วมกัน
การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกันทั้งๆ ที่โจทก์กับจำเลยได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมายและโจทก์กับจำเลยก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง ทั้งโจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น เพราะต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัด แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยทั้งที่เวลาสู่ขอกันไม่มีการตกลงเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลย เพราะตามพฤติการณ์แสดงว่าต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงไม่อาจกล่าวโทษได้ว่า การที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: หนังสือร้องเรียนเรื่องชู้สาว ไม่ถือเป็นเหตุร้ายแรงพอให้ฟ้องหย่าได้
การที่จำเลยมีหนังสือร้องเรียนโจทก์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นไปยังผู้บังคับบัญชาและอาจารย์ผู้สอนของโจทก์ เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัวของโจทก์ซึ่งจำเลยในฐานะภริยาย่อมมีความรักและหึงหวงสามีมีสิทธิที่จะกระทำได้เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและอาจารย์ผู้สอนของโจทก์ว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ให้นึกถึงครอบครัว กรณีถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการประจานโจทก์ให้ต้องอับอายเสียชื่อเสียงแต่อย่างใด อีกทั้งโจทก์มิได้ถูกดำเนินการทางวินัยร้ายแรง จึงมีเหตุผลที่จะกระทำเพื่อรักษาสิทธิในครอบครัวมิให้หญิงอื่นมาทำให้เกิดความร้าวฉานในครอบครัวได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมภรรยาทำหนังสือร้องเรียนเรื่องชู้สาว ไม่ถือเป็นเหตุร้ายแรงพอฟ้องหย่าได้
จำเลยมีหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์และอาจารย์ผู้สอนโจทก์ในการศึกษาระดับปริญญาโทเรื่องความประพฤติส่วนตัวของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะภริยาย่อมมีความรักและหึงหวงสามีมีสิทธิที่จะกระทำได้ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาของโจทก์และอาจารย์ผู้สอนโจทก์ว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ให้นึกถึงครอบครัว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการประจานโจทก์ให้ต้องอับอายเสียชื่อเสียงอีกทั้งโจทก์มิได้ถูกดำเนินการทางวินัยร้ายแรง โจทก์จะอ้างเหตุดังกล่าวว่าเป็นกรณีจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิในการปลูกสร้างและให้เช่าช่วงเป็นไปตามข้อตกลงเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิกำหนดเวลาหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ข้อ 4 ที่ระบุว่าเช่าเพื่อปลูกสร้างตึกให้เช่าไม่มีเงินกินเปล่านั้น ต. ผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยทั้งสามไม่ได้กำหนดรายละเอียดและเวลาไว้ว่าจำเลยทั้งสามจะต้องปลูกสร้างตึกขึ้นจำนวนเท่าใดและในเวลาใด จึงต้องแปลความว่าเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสามที่จะปลูกสร้างตึกจำนวนเท่าใดและในเวลาใดก็ได้ หรือหากจะมีการตกลงกำหนดกันใหม่ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของ ต. กับจำเลยทั้งสาม หาใช่ว่า ต. ฝ่ายเดียวจะเป็นผู้กำหนดเวลานั้นใหม่ได้ การที่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ต. โจทก์ก็ต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ของ ต. มาด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสามปลูกสร้างตึกได้ฝ่ายเดียว การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามดำเนินการปลูกสร้างตึกโดยอ้าง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15147/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดียาเสพติดที่มีโทษจำคุกเกิน 10 ปี ศาลต้องดำเนินการโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร จะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง, 172 ทวิ คดีนี้ ในวันนัดฟังประเด็นกลับ จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลย แต่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 (เดิม) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลยและดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและให้ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงและโจทก์แถลงไม่สืบพยานปาก อ. นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง, 172 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15017/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544 เมื่อมีการโต้แย้งสิทธิและทำให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานได้รับความเสียหาย คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กู้เงินและทำสัญญากู้เงินไว้ให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวาน โดยจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งตามระเบียบกองทุนผู้กู้จะต้องชำระคืนภายใน 1 ปี พร้อมดอกเบี้ยและได้ทำหลักฐานสัญญากู้เงินไว้ หลังจากกู้เงินจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งเดียว 200 บาท หลังจากนั้นไม่เคยชำระเงิน จำเลยต้องชำระเงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ย 1,825 บาท และค่าปรับ 550 บาท เป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยฎีกาในทำนองว่า การกู้เงินยังไม่เกิดขึ้นจะนำมาฟ้องร้องไม่ได้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ เพราะในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กู้เงินและทำสัญญากู้เงินไว้ให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวาน โดยจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งตามระเบียบกองทุนผู้กู้จะต้องชำระคืนภายใน 1 ปี พร้อมดอกเบี้ยและได้ทำหลักฐานสัญญากู้เงินไว้ หลังจากกู้เงินจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งเดียว 200 บาท หลังจากนั้นไม่เคยชำระเงิน จำเลยต้องชำระเงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ย 1,825 บาท และค่าปรับ 550 บาท เป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยฎีกาในทำนองว่า การกู้เงินยังไม่เกิดขึ้นจะนำมาฟ้องร้องไม่ได้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ เพราะในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14944/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องในหลายท้องที่ และการพิจารณาโทษผู้กระทำผิดอายุต่ำกว่า 18 ปี
คดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนแล้วจำเลยทั้งสองได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป จึงเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และพาเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจดังกล่าวไปจับจำเลยทั้งสองที่ท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาครในทันทีทันใด แล้วนำจำเลยทั้งสองไปส่งมอบแก่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนดำเนินคดี เห็นได้ว่า ขณะที่ผู้เสียหายแจ้งความยังจับกุมตัวจำเลยทั้งสองไม่ได้ ท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนคือ สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนจึงมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10929/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์ และการลงโทษฐานหลบหนีจากเจ้าพนักงาน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ยกขึ้น
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 190 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างมาตรา 190 ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ฐานหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10905/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญาเกี่ยวกับโทษสำหรับเด็กในคดีอาญา และการใช้กฎหมายใหม่ที่มีผลต่อโทษจำเลย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10588/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทับซ้อนในสัญญากู้ยืม และขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์นำเอาต้นเงินกับดอกเบี้ยค้างชำระมารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับใหม่และคิดดอกเบี้ยในหนี้ต้นเงินใหม่ดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่นำมาทบต้นจึงเป็นการคิดดอกเบี้ยที่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง เมื่อดอกเบี้ยตามฟ้องได้รวมเอาดอกเบี้ยที่ต้องห้ามตามกฎหมายไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถแยกดอกเบี้ยที่ต้องห้ามดังกล่าวออกมาให้ทราบได้ ฉ. จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เฉพาะต้นเงินที่กู้ยืมเท่านั้น โดยให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญานับแต่เวลาที่ ฉ. ผิดนัด