คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิริรัตน์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12681/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ การพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำให้การและคำร้องขอฝากขัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท 1 เส้น พร้อมพระสมเด็จหลวงพ่อโสธร 1 องค์ ของ อ. ผู้เสียหายไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 335, 336 ทวิ ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกเอาข้อเท็จจริงตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2557 มาฟังว่าจำเลยใช้ยานพาหนะในการเดินทางไปมาเท่านั้น มิใช่ใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปมาเป็นเหตุยกฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12681/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์ – การพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพและคำร้องขอฝากขัง
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยลักสร้อยคอทองคำ หนัก 3 บาท 1 เส้น พร้อมพระสมเด็จหลวงพ่อโสธร 1 องค์ ของ อ. ผู้เสียหายไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 335, 336 ทวิ ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกเอาข้อเท็จจริงตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหามาฟังว่าจำเลยใช้ยานพาหนะในการเดินทางไปมาเท่านั้น มิใช่จำเลยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปมาเป็นเหตุยกฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12333/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษคดียาเสพติดและการพิจารณาโทษซ้ำเมื่อมีคดีอื่นถึงที่สุด ศาลฎีกาพิจารณาได้แม้ผู้เขียนฎีกาไม่มีใบอนุญาต
แม้ น. เป็นผู้เรียงและเขียนฎีกาของจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือ คำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้มาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วและปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ตามที่จำเลยฎีกา เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 133/2554 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี จำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12148/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความผิดตาม ม.336 ทวิ เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335, 336 ทวิ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 335 (7) (12) วรรคแรก และวรรคสอง ประกอบมาตรา 83 เท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12142/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นคำสั่งถึงที่สุด ห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งคดีมีมูลโดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วมีคำสั่งใหม่ ให้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. ป.วิ.พ. และ ป.อ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนกระบวนพิจารณาคำสั่งคดีมีมูล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป เพราะศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งหกต่อไป กรณีต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 196 ที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12142/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอาญา: การห้ามอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนกระบวนพิจารณาคำสั่งคดีมีมูล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของจำเลยเสร็จสิ้นไป เพราะศาลชั้นต้นยังต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไป จึงห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต้องเป็นผู้เสพก่อน แล้วจึงจำหน่ายยาเสพติดจำนวนน้อย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติดที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นผู้เสพยาเสพติดก่อน แล้วผู้เสพยาเสพติดจึงมาจำหน่ายยาเสพติดจำนวนเล็กน้อยในภายหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ต่อมาวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นเวลาที่อยู่ในระหว่างที่ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นความผิดฐานอื่นที่มีโทษจำคุก การเสพเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะส่งไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9952-9953/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ที่เกินกำหนดตาม ป.วิ.อ.
โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลล่างทั้งสองรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกา อุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงมิใช่อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ร่วม แต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งในเรื่องที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งหลังจากครบกำหนดแล้ว เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม กรณีเช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9889/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับผู้เสียหายและอำนาจฟ้อง ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยอ้างว่า ตามคำเบิกความและคำเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมรู้อยู่แล้วว่าการที่บุตรของโจทก์ร่วมจะเข้ารับราชการทหารได้จะต้องมีการนำเงินไปให้ผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยให้บุตรโจทก์ร่วมเข้าทำงานเป็นทหารได้ ซึ่งเป็นการวิ่งเต้นให้บุคคลที่เกี่ยวข้องช่วยให้เข้ารับราชการอันเป็นการผิดระเบียบของทางราชการ จึงเป็นกรณีที่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้จำเลยกระทำความผิดนั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรชายโจทก์ร่วมให้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อต้องการได้เงินจากโจทก์ร่วมเท่านั้น ดังนี้ ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยดังกล่าว ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยเพื่อนำไปให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุเข้ารับราชการทหารกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9888/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: การรับคำสารภาพ, การนับโทษต่อ, และการไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม 2558 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยข้อ 2.4 ซึ่งจำเลยอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงให้จำเลยทราบ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับว่าขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยข้อ 2.4 ชอบแล้ว และเมื่อฎีกาของจำเลยในข้อนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่วินิจฉัยมาแล้ว ประกอบกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาแล้ว จึงไม่เป็นการจำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบแต่อย่างใด
จำเลยฎีกาว่า จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาพิเศษใช้ยานพาหนะ เพื่อวัตถุประสงค์ในการขนย้ายทรัพย์หรือบรรทุกทรัพย์ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่วินิจฉัยให้นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ 1 คัน เป็นยานพาหนะบรรทุกทรัพย์ที่ลัก เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือพาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิด อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
แม้คำให้การจำเลย มีข้อความว่า จำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์หรือข้อหารับของโจรก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยดังกล่าวแล้ว โดยศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ด้านบนซ้ายของคำให้การจำเลยดังกล่าวว่า สอบสวนจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณา ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ แต่ให้การปฏิเสธข้อหารับของโจร โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อข้อหาลักทรัพย์มิใช่เป็นข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบให้ศาลฟังจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับมาในฎีกาแล้วว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้ในวันเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ซึ่งเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1104/2557 ของศาลชั้นต้นได้
of 27