พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990-991/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง การมอบอำนาจ และสิทธิการครอบครองห้องเช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 808 ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจให้ตัวแทนช่วงทำการได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ซ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนกับให้มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงคนเดียวหรือหลายคนเพื่อกระทำการแทนได้ ดังนั้น บริษัท ซ. มีอำนาจตั้ง ข. เป็นตัวแทนช่วงให้ทำการฟ้องคดีแทนต่อไป แต่ ข. ต้องดำเนินการตามที่ได้รับมอบอำนาจด้วยตนเอง เนื่องจากตามหนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความระบุว่า โจทก์ให้อำนาจผู้รับมอบอำนาจช่วงตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนช่วงทำการแทนต่อไปอีกได้ แม้ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า ให้ ข. มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงคนเดียวหรือหลายคนเพื่อให้มีอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจช่วง ก็เป็นเรื่องนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ ข. ไม่มีอำนาจตั้งให้ อ. เป็นตัวแทนช่วงดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายมานั้นแทนตน อ. ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ในคดีนี้เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้
แม้การเช่าของจำเลยถือเป็นการเช่าช่วงโดยชอบเพราะโจทก์ร่วมตกลงให้บริษัท ว. นำห้องเช่าพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ว. ได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในห้องเช่าพิพาทต่อไป เนื่องจากจำเลยเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าบริษัท ว. ผู้เช่าเดิม และเหตุที่ห้องเช่าพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นไปตามข้อตกลงการเช่า ไม่ใช่เป็นกรณีโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เช่าไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 จำเลยไม่อาจยกสัญญาเช่าช่วงขึ้นอ้างต่อโจทก์เพื่อครอบครองห้องเช่าพิพาทได้ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทได้ แต่โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากตามคำร้องขอของโจทก์ร่วมมิได้ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหาย
โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ในคดีนี้เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้
แม้การเช่าของจำเลยถือเป็นการเช่าช่วงโดยชอบเพราะโจทก์ร่วมตกลงให้บริษัท ว. นำห้องเช่าพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ว. ได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในห้องเช่าพิพาทต่อไป เนื่องจากจำเลยเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าบริษัท ว. ผู้เช่าเดิม และเหตุที่ห้องเช่าพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นไปตามข้อตกลงการเช่า ไม่ใช่เป็นกรณีโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เช่าไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 จำเลยไม่อาจยกสัญญาเช่าช่วงขึ้นอ้างต่อโจทก์เพื่อครอบครองห้องเช่าพิพาทได้ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทได้ แต่โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากตามคำร้องขอของโจทก์ร่วมมิได้ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์หลายกรรมต่างกัน & หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหาย มีหน้าที่รับเงินผู้เสียหายไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายหลายครั้ง แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายรวม 260,597.80 บาท ไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต แม้ระยะเวลาที่จำเลยยักยอกเงินในแต่ละครั้งจะไม่ห่างกันมาก แต่การที่จำเลยยักยอกเงินผู้เสียหายในแต่ละครั้งก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
หนังสือรับสภาพหนี้มีเนื้อความว่าจำเลยเป็นหนี้เนื่องจากยักยอกเงินของผู้เสียหายไป โดยจำเลยตกลงจะผ่อนชำระคืนให้เป็นงวดๆ ซึ่งมีผลผูกพันกันในทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่ง เมื่อไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้มีเนื้อความว่าจำเลยเป็นหนี้เนื่องจากยักยอกเงินของผู้เสียหายไป โดยจำเลยตกลงจะผ่อนชำระคืนให้เป็นงวดๆ ซึ่งมีผลผูกพันกันในทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่ง เมื่อไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน การยอมความ และเหตุรอการลงโทษในคดีอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในการกระทำความผิดสำเร็จแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานยักยอกในแต่ละครั้งตามที่โจทก์บรรยายฟ้องแล้ว แม้พฤติการณ์และรูปแบบในการกระทำความผิดจะเป็นอย่างเดียวกัน และระยะเวลาในการกระทำผิดไม่ห่างกันมากก็ตาม แต่การที่จำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายในการกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์แต่ละข้อย่อมเป็นความผิดสำเร็จแต่ละครั้งแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องโจทก์แต่ละข้อแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายเนื่องจากได้กระทำทุจริตยักยอกเงินค่าไม้และวัสดุก่อสร้างของผู้เสียหายไป เป็นเงิน 260,597.80 บาท จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 100,000 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้ผู้เสียหายเรียกเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 และยินยอมให้แจ้งความดำเนินคดีฐานทุจริตยักยอกเงินของผู้เสียหาย ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายในเงินที่จำเลยยักยอกไปและจะชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหายโดยวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น ซึ่งมีผลผูกพันกันทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายเนื่องจากได้กระทำทุจริตยักยอกเงินค่าไม้และวัสดุก่อสร้างของผู้เสียหายไป เป็นเงิน 260,597.80 บาท จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 100,000 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้ผู้เสียหายเรียกเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 และยินยอมให้แจ้งความดำเนินคดีฐานทุจริตยักยอกเงินของผู้เสียหาย ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายในเงินที่จำเลยยักยอกไปและจะชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหายโดยวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น ซึ่งมีผลผูกพันกันทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19694/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแลกเปลี่ยนที่ดินราชพัสดุต้องครบถ้วนตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้แล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 238
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2220 ของจำเลยที่ 2 มีสภาพเป็นที่ราชพัสดุการจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เอกชนจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามนัยของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 การที่เจ้าของที่ดินเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 31645 กับโรงเรียนบ้านโนนสังข์ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกันถือเป็นเพียงการปฏิบัติในเบื้องต้นอันเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจะโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น เพราะเหตุยังต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนอื่นๆ ตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการอีกหลายประการให้ครบถ้วนเสียก่อน เมื่อยังไม่มีการดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการจนครบถ้วน โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาการแลกเปลี่ยนที่ดินได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2220 ของจำเลยที่ 2 มีสภาพเป็นที่ราชพัสดุการจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เอกชนจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามนัยของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 การที่เจ้าของที่ดินเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 31645 กับโรงเรียนบ้านโนนสังข์ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกันถือเป็นเพียงการปฏิบัติในเบื้องต้นอันเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจะโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น เพราะเหตุยังต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนอื่นๆ ตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการอีกหลายประการให้ครบถ้วนเสียก่อน เมื่อยังไม่มีการดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการจนครบถ้วน โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาการแลกเปลี่ยนที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ต้องยื่นแก้ไขก่อนกำหนด หากไม่เป็นเหตุสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจ
การแก้ไขข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงที่เสนอต่อศาลแต่แรก ผู้คัดค้านต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนนั้น หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) และ 180 คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน หากผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอแก้ไขพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำคัดค้านจึงต้องยื่นก่อนวันสืบพยานในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 จึงล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าเพิ่งค้นพบพินัยกรรมฉบับใหม่ในเดือนมีนาคม 2552 หากผู้คัดค้านประสงค์จะเปลี่ยนพินัยกรรมตามคำคัดค้านเป็นพินัยกรรมฉบับใหม่ก็สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลังทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของ ม. ตามพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน และมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรและไม่ใช่กรณีขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านชอบแล้ว
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47526 จำเลยที่ 1 เพียงมีชื่อในโฉนดแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินดังกล่าว ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 มีการติดต่อระหว่างจำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้ธนาคารดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์และมีสิทธิที่จะยึดที่ดินดังกล่าวมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แต่ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคาร ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ก็ต่อเมื่อธนาคารดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ต้องเข้าชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 และขอรับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองจากธนาคารเป็นการตอบแทน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นกระบวนการในการชำระหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดเพราะเป็นการโอนที่ดินของโจทก์ชำระหนี้ของโจทก์เอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20896/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และการอนุญาตให้ทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนในคดีแพ่ง
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สำหรับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ป. เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยผู้ตาย จึงอนุญาตให้ ป. เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14941/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้กับการโอนสิทธิเรียกร้อง: การชำระหนี้ที่ถูกต้องและการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่สมเหตุผล
การโอนสิทธิเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้โอนมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือบุคคลที่สาม และไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวด้วยตนเอง จึงขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้รับโอนสิทธิ แต่ตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ได้โอนภาระการชำระหนี้ของตนที่มีต่อโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระแทน ส่วนการโอนกิจการและที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็หาใช่สิทธิอันจะพึงเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกิจการและที่ดินในโครงการจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงหามีสิทธิอันใดที่จะเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ทำการค้ำประกันค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในกิจการที่รับโอนมาได้ กรณีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่เห็นได้ว่าเป็นการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้เท่านั้น หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงหามีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13756/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบัตรเครดิต: ข้อเท็จจริงต้องปรากฏในสำนวน - ศาลฎีกา
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองนั้น ต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้สืบพยาน การที่ศาลหยิบยกเอาประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสำหรับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต มาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้มีหนังสือเตือนจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฏในสำนวนคดี ศาลไม่อาจรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18311/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโฉนดที่ดินที่คลาดเคลื่อน ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ใช่จำเลยที่ดินติดกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นำสำรวจแบ่งแยกที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณเนื้อที่ผิดพลาดเป็นเหตุให้เนื้อที่ที่ดินขาดหายไปเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย กับมีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนแก้ไขทำเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ทับซ้อนที่ดินของโจทก์ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโฉนดที่ดินของโจทก์ออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ของเจ้าพนักงานที่ดินทำไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยประการใดจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ต้องดำเนินการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์โดยตรง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยกระทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโฉนดที่ดินของโจทก์ อันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดินที่จะดำเนินการโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขโฉนดที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องของโจทก์ได้