พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เนื่องจากอุทธรณ์เรื่องวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนขัดต่อกฎหมายเฉพาะ
คดีนี้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์โดยแยกเป็นฐานความผิด คือความผิดฐานฆ่าผู้อื่นอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดขอให้ยกฟ้อง ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ เท่ากับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในกระทงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามมาตรา 121 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับพิจารณาและมีคำพิพากษาในส่วนนี้ก็ไม่เป็นเหตุให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 แม้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะอนุญาตให้ฎีกา แต่ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาขอให้รอการลงโทษซึ่งเป็นฎีกาวิธีการสำหรับเด็กซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายเฉพาะไม่มีบทบัญญัติใดที่อนุญาตให้ฎีกาในเรื่องดังกล่าวได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ประเด็นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน & การลดโทษจากความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 ว่า หลังจากจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจออกตรวจที่เกิดเหตุเห็นเหตุการณ์จึงเข้าระงับเหตุ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 โดยเจตนาฆ่า แต่ลูกระเบิดไม่ระเบิด ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ถึงแก่ความตาย ซึ่งถ้อยคำที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนนี้มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยกับพวกรู้แล้วว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจกำลังจะมาจับกุมจำเลยกับพวกจากการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการต่อสู้และขัดขวางมิให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตนได้ โจทก์ไม่ต้องบรรยายถ้อยคำว่า "ต่อสู้" หรือ "ขัดขวาง" ที่มีความหมายอย่างเดียวกันซ้ำในคำฟ้องอีก คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 จึงครบองค์ประกอบความผิดและเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริงกับการป้องกันตน ศาลฎีกายกเหตุสำคัญผิดให้จำเลย ไม่ผิดฐานฆ่า
จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเพราะผู้ตายใช้อาวุธปืนเด็กเล่นเล็งมายังกลุ่มของจำเลยก่อน ทำให้จำเลยสำคัญผิดว่ากำลังจะถูกผู้ตายใช้อาวุธปืนยิง จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกันตนอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เหตุที่จำเลยเพิ่งยกข้อต่อสู้นี้ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัย ก็เนื่องมาจากจำเลยเพิ่งทราบข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนอันเป็นประโยชน์แก่จำเลย เพราะหลังจากเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งสำนวนการสอบสวนคดีนี้มาประกอบการวินิจฉัย ซึ่งเอกสารในสำนวนการสอบสวนนั้นมีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวน ศาลจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากสำนวนการสอบสวนที่โจทก์ไม่ได้อ้างส่งศาลเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องมีเจตนาและวางแผนร่วมกัน การกระทำโดยไม่ได้วางแผนเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่า
วันเกิดเหตุพวกของจำเลยทั้งสองมีเหตุทะเลาะวิวาทกับกลุ่มคนที่เล่นสาดน้ำสงกรานต์ที่ปากซอยที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุพร้อมกับพวกที่มีเหตุทะเลาะวิวาทดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าที่จำเลยที่ 2 พกอาวุธปืนไปด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 2 กับพวกอีกคนหนึ่งจึงใช้อาวุธปืนยิงไปยังกลุ่มคนที่กำลังเล่นสาดน้ำสงกรานต์หลายนัดเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตายและผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายสาหัสและอันตรายแก่กายแล้วพากันหลบหนีไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาใช้อาวุธปืนในการวิวาท จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวก อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การจะเป็นตัวการร่วมฐานความผิดดังกล่าวจะต้องมีลักษณะมีการวางแผนและคบคิดมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น โดยคิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด อันเป็นเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำตามแต่ละคนและไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน แต่สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน โดยได้ความจากคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ว่า ฉ. มีสาเหตุทะเลาะวิวาทกับผู้ตายและได้แจ้งเหตุทางโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ช่วยเหลือโดยไม่ปรากฏว่าได้ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ มีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายและพบ ฉ. จำเลยที่ 1 ก็ถามว่าจะไปไหนกัน ฉ. ตอบว่า "ไปเลียบคลอง" อันแสดงว่าในตอนแรกขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบว่าจะขับรถจักรยานยนต์ไปที่ใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 ไปใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวกในที่เกิดเหตุจึงมีลักษณะเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอยู่ร่วมในการสอบสวนด้วยเป็นผู้ตอบคำถามพนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์แทนผู้เสียหายที่ 1 ดังฎีกาของจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวม 8 ปี 12 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12008/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีอาญาเด็ก – ศาลใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน – การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ – การแก้ไขบทกฎหมายอาญา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ กำหนดว่า จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 12 ปีเศษ ยังไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) (2) (3) ศาลชั้นต้นได้ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วมอบตัวให้ผู้ปกครองรับไปอบรมดูแล โดยวางข้อกำหนดผู้ปกครองต้องระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายอีกภายใน 2 ปี นับแต่วันพิพากษา มิฉะนั้นผู้ปกครองของจำเลยต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 3,000 บาท และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 อันจะเข้ากรณียกเว้นที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยไม่ได้กระทำโดยประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น มิใช่อุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็เป็นการชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 เพราะผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะรับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความที่จะจับใจความได้ว่าได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และจำเลยก็มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี จึงถือว่าคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้นชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาใหม่อีก ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11087/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - ความผิดกรรมเดียว - การแก้ไขบทลงโทษ - อำนาจปกครอง
ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า ธ. นำผู้เสียหายมาฝากไว้กับ ส. ภริยาของจำเลยช่วยดูแลเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาของผู้เสียหาย ดังนั้น อำนาจปกครองยังคงอยู่กับ ธ. ผู้เป็นบิดาของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 285
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8646/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ความผิดหลายกรรมต่างกันและการลดโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 7,500 บาท จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ เนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน เป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8257/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเด็กและเยาวชน: การพิจารณาโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการใช้วิธีการสำหรับเด็กแทนการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 33, 58, 83, 91, 288, 289, 371 และขอให้กำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แม้ศาลจะพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 371, 83 ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่ง ลดโทษให้หนึ่งในห้า คงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี และปรับ 40 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจจนกว่าจำเลยทั้งสองมีอายุครบ 24 ปีบริบรูณ์ หากจำเลยมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ส่งจำเลยทั้งสองไปจำคุกในเรือนจำมีกำหนดคนละ 10 ปี โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) และวรรคท้าย แต่การส่งจำเลยที่ 1 ไปจำคุกต่อตามมาตรา 104 วรรคท้ายดังกล่าว มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยแท้ แต่เป็นหนึ่งในวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษจำคุกซึ่งเป็นโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ศาลจึงไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกตาม ป.อ. มาตรา 58 ได้