พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการออกหมายจับ จำเลยต้องมีคำขอให้จับกุมและกักขัง จึงจะออกหมายจับได้
คำร้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ศาลจะออกหมายจับ หรือสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามความในวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยาย จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามา โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฉบับนี้เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ มิใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 จำเลยจึงไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – จำเลยไม่ได้โต้แย้งเหตุผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างเฉพาะเจาะจง
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น มิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แม้จำเลยจะมีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: ฟ้องขาดอายุความเมื่อฟ้องหลัง 3 ปีนับจากวันครบกำหนด 30 วันหลังทวงถาม
โจทก์บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. จากมูลหนี้สัญญากู้เงินระยะสั้น หาใช่ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเงินกู้แต่อย่างใดไม่โดยโจทก์มีเพียงภาพถ่ายตั๋วสัญญาใช้เงินแนบมาท้ายฟ้องเท่านั้น ไม่มีสัญญากู้เงินมาแนบด้วย และไม่อาจถือได้ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานการกู้เงิน เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตั๋วเงิน เป็นเอกสารคนละประเภทกับสัญญากู้เงิน ทั้งเมื่อโจทก์นำสืบก็ไม่มีสัญญากู้เงินระยะสั้นมาอ้างเป็นพยานด้วย มีเพียงตั๋วสัญญาใช้เงินมาอ้างเป็นพยานเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินแต่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงต้องนำอายุความตั๋วสัญญาใช้เงินมาบังคับใช้ ไม่ใช่อายุความตามสัญญากู้เงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม อายุความจึงเริ่มนับเมื่อทวงถามปรากฏตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามว่า บริษัท อ. ผู้รับเงินแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือฉบับนี้ จึงต้องเริ่มนับอายุความเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่โจทก์และจำเลยต่างไม่นำสืบว่าจำเลยได้รับหนังสือเมื่อไร เมื่อหนังสือทวงถามดังกล่าวลงวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงพออนุมานได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 25 เมษายน 2540 เริ่มนับ 30 วันตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2540 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ครบกำหนด 30 วันในวันที่ 25 พฤษภาคม 2540 อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2540 ไปเป็นเวลา 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 ครบกำหนด 3 ปีในวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เกินกว่า 3 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ณ สำนักงานตั้งอยู่ถนนสาธรใต้แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิทำให้เกิดอำนาจฟ้อง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท อ. จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม อายุความจึงเริ่มนับเมื่อทวงถามปรากฏตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามว่า บริษัท อ. ผู้รับเงินแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือฉบับนี้ จึงต้องเริ่มนับอายุความเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่โจทก์และจำเลยต่างไม่นำสืบว่าจำเลยได้รับหนังสือเมื่อไร เมื่อหนังสือทวงถามดังกล่าวลงวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงพออนุมานได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 25 เมษายน 2540 เริ่มนับ 30 วันตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2540 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ครบกำหนด 30 วันในวันที่ 25 พฤษภาคม 2540 อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2540 ไปเป็นเวลา 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 ครบกำหนด 3 ปีในวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เกินกว่า 3 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ณ สำนักงานตั้งอยู่ถนนสาธรใต้แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิทำให้เกิดอำนาจฟ้อง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท อ. จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องก่อสร้างดัดแปลงอาคาร และความสมบูรณ์ของฟ้องฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นนับแต่วันทำการก่อสร้างอาคารต่อเนื่องกันไปจนถึงวันปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องต้องนับถัดจากวันที่ก่อสร้างดัดแปลงเสร็จลง มิใช่เป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รื้ออาคาร ส่วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารที่ฝ่าฝืนยังคงอยู่ เป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชยกรรมขายอาหารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น จึงระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) เมื่อการก่อสร้างดัดแปลงอาคารได้เสร็จลงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินกว่า 5 ปี ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 ก่อนกล่าวคือกรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารก่อสร้างดัดแปลงโดยผิดกฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชยกรรมขายอาหารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น จึงระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) เมื่อการก่อสร้างดัดแปลงอาคารได้เสร็จลงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินกว่า 5 ปี ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 ก่อนกล่าวคือกรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารก่อสร้างดัดแปลงโดยผิดกฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491-1492/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ
ห้องนอนที่พบเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นห้องนอนเล็กๆ มีที่นอนและตู้เสื้อผ้าสำหรับคนเพียงคนเดียว ซึ่งในบันทึการตรวจค้นจับกุมก็ระบุว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ที่ซับในหมวกนิรภัยซึ่งวางอยู่พื้นห้องนอนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเจ้าพนักงานตรวจค้น ทั้งกระสุนปืนขนาดต่างๆ ที่พบในห้องนอนดังกล่าวก็เป็นของจำเลยที่ 1 ประกอบกับบ้านเกิดเหตุมี 2 ห้องนอน จึงเชื่อว่าห้องนอนที่พบเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นห้องนอนของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ห้องนอนของจำเลยที่ 2 เมื่อเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ในซับในของหมวกนิรภัย บุคคลอื่นจึงไม่อาจมองเห็นได้จากภายนอก ดังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมไม่รู้ว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนในหมวกนิรภัย เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมอ้างว่า จำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดๆ หรือรูปถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์มีเพียงพยานเบิกความกล่าวอ้างลอยๆ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง พยานโจทก์อีกสองปากต่างก็เบิกความยืนยันว่า เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้น ไม่เคยซื้อจากจำเลยที่ 2 แม้ ร.ต.อ. ธ.พนักงานสอบสวนจะเบิกความประกอบคำให้การในชั้นสอบสวนของ ส. ว่า ได้สอบปากคำ ส. เพื่อร่วมงานของจำเลยทั้งสามและ ส. ให้การว่าเคยซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์ก็ไม่นำ ส. มาเบิกความเพื่อให้ทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านเพื่อพิสูจน์ พยานคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย นอกจากนี้แล้วโจทก์ไม่มีพยานอื่นใดมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์หรือร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ในการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่กับจำเลยที่ 1 ขณะเจ้าพนักงานจับกุมก็ไม่อาจสันนิษฐานเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ลำพังคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ทั้งจำเลยที่ 2 ก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 1 ก็เบิกความเป็นพยายจำเลยที่ 2 ยืนยันว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงไม่มีน้ำหนักพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
บัญชีของกลาง 2 แผ่น มิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัสดุอื่นซึ่งใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ และไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) จึงไม่อาจริบได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
บัญชีของกลาง 2 แผ่น มิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัสดุอื่นซึ่งใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ และไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) จึงไม่อาจริบได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า และการรอการลงโทษในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80, 83 จำคุก 5 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี กรณีเป็นการแก้ไขเฉพาะระยะเวลาการฝึกอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่าจะเกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายทั้งสองขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วไม่มาก ทำให้ผู้เสียหายทั้งสองไถลไปตามไหล่ทางที่มีหญ้าขึ้นปกคลุม และได้รับบาดแผลถลอกเป็นส่วนใหญ่ คงมีแต่ผู้เสียหายที่ 2 ที่นิ้วมือขวาฉีกด้วยเท่านั้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น
แม้จำเลยจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยหนักเกินไปย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษให้ได้
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่าจะเกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายทั้งสองขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วไม่มาก ทำให้ผู้เสียหายทั้งสองไถลไปตามไหล่ทางที่มีหญ้าขึ้นปกคลุม และได้รับบาดแผลถลอกเป็นส่วนใหญ่ คงมีแต่ผู้เสียหายที่ 2 ที่นิ้วมือขวาฉีกด้วยเท่านั้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น
แม้จำเลยจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยหนักเกินไปย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาท ศาลใช้ดุลพินิจประโยชน์ทายาทและกองมรดก
ผู้มีส่วนได้เสียตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง แม้ผู้คัดค้านเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันมานานสิบกว่าปีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คัดค้านกับผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดรวม 3 แปลง ซึ่งผู้ร้องทั้งสองเบิกความรับว่า ผู้คัดค้านกับผู้ตายประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ร่วมกัน โดยให้ผู้ร้องทั้งน้อง ๆ และหลานทำงานในอู่และรับเงินเดือนเป็นค่าจ้างผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ในการตั้งผู้จัดการมรดกนั้นศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก เมื่อเห็นว่าการให้ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกฝ่ายเดียว ศาลย่อมตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประกันชีวิตเมื่อผู้รับผลประโยชน์ถึงแก่กรรมก่อน: เงินตกแก่ทายาทผู้ตาย
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยระบุภริยาเป็นผู้รับประโยชน์ ปรากฎว่าภริยาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินระบุชื่อภริยาผู้ตายเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย ส่วนภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต สิทธิของภริยาผู้ตายที่จะได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่เกิดขึ้น เงินตามตั๋วแลกเงินจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของภริยาผู้ตาย
แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีชนท้าย: พยานหลักฐานไม่สอดคล้อง ศาลยกฟ้องข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
การที่ศาลจะรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของ ส. ยิ่งกว่าคำเบิกความต่อศาลนั้น จะต้องมีพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่า ส. เบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดแต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ส. ไม่ได้เป็นญาติของจำเลย และไม่เคยรู้จักกันมาก่อนทั้งยังมีภูมิลำเนาอยู่คนละอำเภอ เห็นเหตุการณ์เพราะมีบ้านอยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุเท่านั้น ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียกับฝ่ายใด โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองก็ไม่ได้ถามค้านหรือนำสืบให้เห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือในคำเบิกความของ ส. นอกจากนี้ก่อนเบิกความ ส. ได้สาบานตนแล้วเบิกความต่อหน้าศาลและคู่ความทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้มีการถามค้านได้แต่การให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้นเป็นการให้การสองต่อสอง อาจถูกพนักงานสอบสวนชี้นำให้ให้การตามแนวทางการสอบสวนของตนเองก็ได้ เชื่อว่า ส. เป็นพยานคนกลางเบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา