คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: กรมในรัฐบาลประกอบธุรกิจให้เช่ามีอายุความ 2 ปี
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการบริหารความถี่วิทยุ ดำเนินการด้านใบอนุญาตวิทยุคมนาคมตรวจสอบและเฝ้าฟังวิทยุ และดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมก็ตาม แต่โจทก์รับเป็นผู้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมแก่เอกชนด้วย โดยให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการของเอกชนผู้เช่า ซึ่งเอกชนผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าตามประกาศที่โจทก์กำหนด ทั้งมีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุแก่โจทก์อีกด้วยตามประกาศของโจทก์ เรื่องการปรับอัตราค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุ ต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ ดังนี้ การที่โจทก์ให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์จึงเป็นกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ ซึ่งโจทก์จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารความถี่วิทยุอันเป็นภารกิจของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าเช่าจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เงิน – การเริ่มต้นนับอายุความ – เหตุสะดุดอายุความ – การพิสูจน์หลักฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เงิน - การสะดุดหยุดของอายุความจากการชำระดอกเบี้ย - การฟ้องข้ามอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ดังนี้ ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ย่อมเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้หาถือว่าเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8051/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: สัญญาเลิกแล้ว การนำเงินฝากมาชำระหนี้ไม่สะดุดอายุความ
การที่โจทก์นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยมาชำระหนี้หลังจากสัญญาบัตรเครดิตและข้อตกลงในสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วจึงเป็นการกระทำของโจทก์เอง หาใช่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วนไม่ กรณีย่อมไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับพินัยกรรม vs. ผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเหนือกว่า
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดกของ ป. แต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้คัดค้านที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการมรดก ป. ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว การที่ ป. อนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกไม่มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7895/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้เป็นข้อพิพาทโดยตรง ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินกู้ ส. และได้โอนที่ดินพิพาทใช้หนี้เงินกู้ต่ำกว่าราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ทำให้การโอนตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ส. ตกลงจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง จึงมีการถอนฟ้อง แต่ ส. กลับโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์รับโอนไว้โดยไม่สุจริจ ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์และอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 17 และมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่นในการทำบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาปรับบทและลดโทษ
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ และแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการและสังคมส่วนรวมและยังกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศชาติ นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว ก็ไม่เป็นเหตุที่จะรอการโทษให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุมากถึง 62 ปี และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับเป็นโทษจำคุกระยะสั้นเห็นสมควรเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบและการแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้น หาใช่เป็นตัวการตามที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ล้วนแล้วแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวคือเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทของศาลอุทธรณ์ และการหักชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามแถลงสละประเด็นตามคำให้การและตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพียงใด ดังนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เนื่องจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ที่ 1 สำหรับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยตามประเด็นที่ถูกต้อง โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเพียงว่า ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ: อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(5) และการรับรองการชำระหนี้จากการส่งมอบสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้โจทก์ผู้ขายได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อแล้ว โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การคิดค่าเสียหาย ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลดค่าเสียหายลงนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้นและชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น ฎีกาในส่วนดอกเบี้ยโจทก์เพิ่งยกเป็นประเด็นขึ้นว่าในชั้นฎีกาจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้
of 32