พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: สิทธิครอบครองจากการเข้าทำประโยชน์, อายุความ, และการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่ง
การฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ไม่มีอายุความ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่เป็นอายุความ
โจทก์ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงรังวัดที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไว้ โจทก์ได้ที่ดินเป็นที่พิพาท โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นสัดส่วนตลอดมา การแบ่งแยกเจ้าของรวมจึงไม่อาจจดทะเบียนแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ ถือว่าโจทก์ยึดถือที่ดินส่วนที่เข้าครอบครองเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ต่อมาทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ฮ. ถือกรรมสิทธิ์รวม โดยไม่ได้ระบุว่ามีส่วนคนละเท่าใดและตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่าใด โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามสัดส่วนที่ครอบครอง จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเจ้าของรวมยังคงมีส่วนเท่ากันหาได้ไม่
โจทก์ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงรังวัดที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไว้ โจทก์ได้ที่ดินเป็นที่พิพาท โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นสัดส่วนตลอดมา การแบ่งแยกเจ้าของรวมจึงไม่อาจจดทะเบียนแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ ถือว่าโจทก์ยึดถือที่ดินส่วนที่เข้าครอบครองเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ต่อมาทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ฮ. ถือกรรมสิทธิ์รวม โดยไม่ได้ระบุว่ามีส่วนคนละเท่าใดและตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่าใด โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามสัดส่วนที่ครอบครอง จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเจ้าของรวมยังคงมีส่วนเท่ากันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองประโยชน์ใช้สอย การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงก่อนมีหลักฐานหนังสือ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 บุรกรุกเข้าไปแย่งทำนาในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตามแผนที่โดยประมาณท้ายฟ้องมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งแผนที่ท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและได้ระบุบริเวณที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 บุกรุกไว้อย่างชัดเจนพอให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ซึ่งการฟ้องเช่นนี้มีอายุความ ส่วนมาตรา 1363 วรรคสอง นั้น เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่อายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ซึ่งการฟ้องเช่นนี้มีอายุความ ส่วนมาตรา 1363 วรรคสอง นั้น เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่อายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
โจทกฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าห้องแถวพิพาทอีกต่อไป จึงบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยกับบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องแถวพิพาท ตอนแรกจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อห้องแถวพิพาทจาก ซ.ในราคา 38,000 บาท จำเลยได้รับมอบการครอบครองมาแล้ว แต่ในตอนต่อมาจำเลยกลับให้การว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพากจาก ส. มารดาโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ยืนยันในข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นไปทางหนึ่งทางใด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าห้องแถวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยและวินิจฉัยตามนั้น จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นขึ้นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกอุทธรณ์ของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเยาวชนที่เกิดขึ้นก่อนมีแผนกคดีเยาวชน และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีข่มขืน
ในขณะจำเลยถูกฟ้องคดีนี้ยังไม่มีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาจึงมีอำนาจพิจารณาคดีของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตอำนาจได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 58 (3) เดิมก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติความว่า ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีอาญาธรรมดาตาม ป.วิ.อ. มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น แม้ต่อมาปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาคดีนี้ได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลชั้นต้นก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ยังคงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้จนเสร็จสำนวนได้ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้วต้องโอนคดีไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้น การพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีผลผูกพันเมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์การจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ได้จริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน เท่ากับวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอ้างเหตุใหม่ว่าสัญญากู้ตามที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับสัญญากู้ที่โจทก์นำสืบโดยไม่ได้ให้การในข้อนี้ไว้หาได้ไม่ เนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในชั้นอุทธรณ์และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดทรัพย์สินอย่างครบถ้วน แม้เป็นบัญชีร่วม ต้องส่งเงินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิจะได้รับจากบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อธนาคาร ท. ได้รับหนังสืออายัดเงินฝากบัญชีของจำเลยทั้งสองจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่คัดค้าน ถือว่าการอายัดมีผลเป็นการอายัดเงินฝากของจำเลยทั้งสองที่ฝากอยู่ที่ธนาคาร ท. ทุกสาขาและทุกบัญชี ธนาคาร ท. จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดโดยการอายัดและส่งเงินที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองทุกบัญชีที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิเบิกจากธนาคารซึ่งรวมทั้งที่มีชื่อในบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นด้วยให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคท้าย การที่ธนาคาร ท. ไม่อายัดและส่งเงินฝากที่จำเลยที่ 2 มีชื่อร่วมกับบุคคลอื่นจนได้รับหนังสือยืนยันการอายัดและส่งเงินที่เหลือในบัญชีหลังจากได้รับหนังสืออายัดครั้งแรกเป็นเวลาถึง 4 เดือน นั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนโดยอ้างว่าผู้แทนโจทก์แถลงว่า ขณะที่ธนาคาร ท. ได้รับหนังสืออายัด จำเลยที่ 2 มีเงินอยู่ในบัญชีประมาณ 2,000,000 บาท ซี่งหากเป็นความจริงธนาคาร ท. จะต้องส่งเงินตามหนังสืออายัดจนครบจำนวนที่อายัดไว้จำนวน 1,038,609 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือถ้าได้ข้อเท็จจริงเป็นประการอื่นก็ให้มีคำสั่งไปตามรูปคดี เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนข้อเท็จจริงให้ปรากฏชัดว่า ขณะธนาคาร ท. ได้รับหนังสือแจ้งอายัด จำเลยทั้งสองมีเงินฝากอยู่ในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารจำนวนเท่าใดและเป็นความจริงดังที่โจทก์แถลงหรือไม่ก่อน กลับด่วนวินิจฉัยว่า ธนาคาร ท. ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดแล้ว ให้ยกคำขอของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นไม่ชอบ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าเป็นความจริงดังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5488/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าพิสูจน์แนวเขตที่ดิน และผลผูกพันตามข้อตกลง หากมีส่วนหนึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยต้องรื้อถอนส่วนนั้น
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันว่าให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ ถ้าปรากฏว่าบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยยินยอมรื้อถอนบ้านออกไปและยอมชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องให้โจทก์ หากบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของกรมชลประทานโจทก์จะถอนฟ้อง คู่ความตกลงกันด้วยว่าให้ถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นยุติ คำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบ้านของจำเลยแม้เพียงบางส่วนปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านเฉพาะส่วนที่ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไปซึ่งเท่ากับว่าจำเลยชนะคดีบางส่วนคือไม่ต้องรื้อถอนออกไปทั้งหมดทั้งหลังตามคำขอของโจทก์ เมื่อตามแผนที่พิพาทปรากฏว่าบ้านของจำเลยส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าตรงกับคำท้าของโจทก์และจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้เลยโดยไม่จำต้องสืบพยานคู่ความอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากความขัดแย้งรุนแรงและการขาดความไว้วางใจ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกสัญญา แม้มีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและการยึดรถ หากผู้ให้เช่าซื้อยอมผ่อนผันและยินยอมให้ใช้สัญญาต่อไป
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วงแสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดเวลาพอสมควรก่อน ตาม ป.พ.พ มาตรา 387 แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุดังกล่าว ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน แต่ภายในเดือนเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 ได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ รวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 นำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ทั้งผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อ: สัญญาไม่เลิกทันทีแม้มีการยึดรถ หากมีการผ่อนผันและชำระหนี้ต่อเนื่อง
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วง แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แม้จำเลยจะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยเพราะเหตุผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ดังนี้ การที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่หลังจากนั้นจำเลยได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยค่าปรับรวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยนำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยโดยไม่ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที โจทก์และจำเลยยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์และจำเลยยังคงบังคับกันตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป