คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนรถเช่าซื้อ: เลือกใช้สิทธิจากสัญญาหรือสิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
จำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกรถคืนโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือเรียกคืนรถโดยใช้สิทธิในฐานะเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความเรียกคืนทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แล้วแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเลือกฟ้อง โดยอาศัยมูลหนี้ใดที่เป็นประโยชน์แก่ตน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองคืนรถที่เช่าซื้อหรือหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086-2087/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก ขยายเวลาไถ่ และสิทธิในการไถ่ที่ดิน: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ และการครอบครองทำประโยชน์
สัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์ผู้ซื้อฝากทำกับจำเลยผู้ขายฝากมิได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากตามราคาที่ขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคแรก หากจำเลยมีเงินไถ่ที่ดินที่ขายฝากภายในกำหนดเวลาตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ไถ่ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากด้วยการนำเงินสินไถ่ไปวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าที่ดินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคแรก
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ แม้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลบังคับให้ผูกพันโจทก์ผู้รับไถ่ซึ่งลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่มิได้กำหนดเวลาไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 494 กล่าวคือ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินขายฝากภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยฟ้องขอไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก จำเลยจึงมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์
เมื่อจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ขายฝากหลังจากทำสัญญาขายฝากให้โจทก์แล้วโดยโจทก์ยินยอมและโจทก์ทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ดินที่ขายฝากให้จำเลย การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่ขายฝากต่อไปหลังจากครบกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาเดิมจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมและบทลงโทษคดียาเสพติด: เจตนา, กรรมเดียว, ความผิดใหม่, และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 20,000 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เมทแอมเฟตามีน 20,061 เม็ด ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่หลังจากที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 20,000 เม็ด เสร็จสิ้นไปแล้ว จำเลยทั้งสองยังร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการจำหน่ายอีก 61 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต่อไป จึงเป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นใหม่แยกต่างหากจากกัน คือฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนฐานหนึ่งและฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจลงโทษอีกกรรมหนึ่งได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยทั้งสองโดยโจทก์ไม่ได้ฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 212 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มีคำขอให้ริบรถยนต์และลูกกุญแจรถยนต์ของกลางซึ่งศาลชั้นต้นยกคำขอของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องการริบของกลางดังกล่าวย่อมยุติ จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบ มาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนาด้วยการแสดงท่าทางล้อเลียนพระพุทธรูป ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206
จำเลยแต่งกายเป็นภิกษุแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ โดยเท้าจำเลยอยู่บนส่วนหนึ่งของพระบาทพระพุทธรูปยกมือขวาขึ้นเลียนแบบพระพุทธรูป แสดงท่าทางล้อเลียนถลึงตาอ้าปาก นอกจากจะเป็นการไม่เคารพต่อพระพุทธรูปแล้ว จำเลยยังได้แสดงตนเสมอกับพระพุทธรูป จึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรและเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นศาสนา: การกระทำเลียนแบบพระพุทธรูปด้วยท่าทางล้อเลียน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206
พระพุทธรูปเป็นที่เคารพสักการะในทางศาสนาของประชาชนผู้นับถือศาสนาพุทธทั่วไป การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในภาพถ่าย จำเลยแต่งกายเป็นภิกษุแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ โดยเท้าจำเลยอยู่บนส่วนหนึ่งของพระบาทพระพุทธรูปยกมือขวาขึ้นเลียนแบบพระพุทธรูป ส่วนใบหน้าของจำเลยแสดงท่าทางล้อเลียนถลึงตาอ้าปากเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการไม่เคารพต่อพระพุทธรูปแล้ว จำเลยยังได้แสดงตนเสมอกับพระพุทธรูป จึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรและเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้องที่จำเลยอ้างว่า จำเลยทำพิธีรักษาโรคโดยนั่งเพ่งกระแสจิตเกิดตัวลอยขึ้นไปยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปไม่มีเจตนาล้อเลียนนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาตามจำนวนหนี้จริง แม้คำฟ้องระบุไม่ครบถ้วน สัญญาเช่าซื้อ
คดีนี้แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อเพียง 120,186 บาท แต่จุดประสงค์หลักของโจทก์ต้องการชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมด เพื่อให้จำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อจำนวน 185,186 บาท ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระที่แท้จริงดังกล่าวให้จำเลยทั้งสองและให้จำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้ได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
สัญญามีข้อความโดยสรุปว่า จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนในการติดต่อและจัดหาผู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย และให้มีการต่อรองราคากันได้ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ได้รับค่าบำเหน็จในอัตราร้อยละ 3 ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้ จำเลยยินยอมให้โจทก์โฆษณาเผยแพร่ข่าวสารด้านการตลาดเพื่อจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินและจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิรับเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจากผู้เสนอซื้อและถือไว้แทนจำเลย เมื่อจำเลยตกลงคำเสนอซื้อแล้ว เงินดังกล่าวให้โจทก์ชำระให้จำเลยและถือเป็นเงินค่ามัดจำส่วนหนึ่ง หากต่อมาผู้เสนอซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในคำเสนอซื้อ จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง และตามสัญญาข้อ 10 ยังระบุว่าในระหว่างข้อตกลงยังมีผลใช้บังคับ หากมีบุคคลอื่นติดต่อขอซื้อทรัพย์สินตามสัญญา จำเลยตกลงมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการให้การซื้อขายเสร็จสิ้นและตกลงชำระค่าบำเหน็จตามข้อ 2 เห็นได้ว่า ตามสัญญาดังกล่าวนอกจากจำเลยจะตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินของจำเลยแล้วยังมีข้อตกลงแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการจัดการซื้อขาย และดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายทรัพย์ของจำเลยกับบุคคลภายนอกโดยให้บำเหน็จด้วย ดังนั้น แม้ตอนท้ายของสัญญาข้อ 10 ที่ระบุว่า ส่วนในกรณีจำเลยได้ขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นการขายด้วยตัวเอง หรือให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนติดต่อขายให้ก็ตาม จำเลยยังมีหน้าที่จะต้องชำระค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามที่ระบุในข้อ 2 ซึ่งข้อตกลงนี้คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใดย่อมบังคับระหว่างคู่สัญญาได้ และหลังจากทำสัญญา โจทก์ได้ดำเนินการประกาศขายทรัพย์สินของจำเลยตามสื่อต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่ของตัวแทนตามข้อตกลงแล้วเมื่อจำเลยายสินทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกในระหว่างอายุสัญญายังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หาใช่เป็นสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบไม่เป็นธรรม หรือโจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามกฎหมายไม่ สัญญาจึงบังคับได้ตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 27,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาของให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 27,000 บาท รวมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องอีก 693.49 บาท รวมเป็น 27,693.49 บาท จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 692.50 บาท แต่จำเลยเสียมาเป็นเงิน 2,380 บาท ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เกินไป 1,687.50 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมจากโรงแรมกรณีรถหาย: 6 เดือนนับจากผู้พักอาศัยเช็คเอาท์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ที่ผู้พักอาศัยพามาจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างคำฟ้องว่าลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายรถยนต์ในโรงแรม: เจ้าของโรงแรมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันแขกออก
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จาก บ. เจ้าของรถยนต์ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์หายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามมาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี เมื่อเหตุรถยนต์สูญหายเกิดขึ้นวันที่ 2 สิงหาคม 2540 โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2541 เกินกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ ต. ออกจากโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การรับของโจรและการใช้เอกสารราชการปลอม - สิทธิในการฟ้องคดีอาญา
ข้อเท็จจริงที่ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้แล้วจำเลยทั้งสองยังได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์อีกจำนวน 3 คัน ซึ่งถูกคนร้ายลักเอาไป มิได้เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองรับของโจรรถยนต์ทั้งสี่คันในคราวเดียวกัน อันจะถือได้ว่าเป็นความผิดกรรมเดียว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ
of 32