คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการแจ้งเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสัญชาติไทยก็ไม่ทำให้ขาดองค์ประกอบความผิดเพราะมิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการกระทำความผิดที่ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7699/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำขอท้ายฟ้องหลังมีคำพิพากษาต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้น การเพิ่มความรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาเดิมทำไม่ได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และฟ้องบังคับจำนองสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ด้วย โดยมีคำขอในส่วนบังคับจำนองว่า ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำขอดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขข้อความเป็นว่า หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน ย่อมเป็นการเพิ่มความรับผิดในการบังคับจำนองให้แก่จำเลยอื่นนอกจากจำเลยที่ 5 มากกว่าคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้นจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ แต่เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7658/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อเบิกจ่ายเงินให้ผู้อื่นโดยไม่ตรวจสอบบัตรประจำตัว ถือเป็นการผิดสัญญา
ตามข้อตกลงในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ระหว่างโจทก์กับธนาคารจำเลยกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ถอนเงินแต่เพียงผู้เดียว เมื่อจำเลยเบิกจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปย่อมเป็นการผิดจากข้อตกลงดังกล่าว การที่จำเลยถือเอาสมุดคู่ฝากและใบถอนเงินประกอบกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยเป็นหลักฐานให้บุคคลที่มาถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ไปย่อมไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอสมกับฐานะของผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ทั้งลายมือชื่อของผู้ถอนเงินในใบถอนเงินนั้นไม่มีลายมือชื่อของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานสอบสวนละเว้นหน้าที่ เมื่อไม่รับแจ้งความร้องทุกข์คดีทำร้ายร่างกาย แม้คดีเดิมเปรียบเทียบปรับแล้ว
โจทก์ทั้งสองเมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน แต่โจทก์ทั้งสองได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ทั้งสองถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่า จ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ได้กระทำความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษเช่นนี้ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ทั้งสองถูกกล่าวหาว่าเมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ทั้งสองไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไปการที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ทั้งสองในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย
การพิจารณาคดีในข้อหาทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นหลังจากจำเลยไม่ยอมรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ทั้งสองแล้ว จนโจทก์ทั้งสองต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนคนอื่นในเวลาต่อมา แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องก็ไม่มีผลลบล้างการกระทำของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเวลากระทำผิดตามฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้ความเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียด ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงฟังข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานสอบสวนละเว้นหน้าที่รับคำร้องทุกข์คดีทำร้ายร่างกาย อ้างคดีก่อนหน้านี้เลิกกันแล้ว
โจทก์เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7611/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่อายุความค่าเช่าซื้อ แต่เป็น 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อมีอายุความ 10 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7610/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: ไม่ใช่หนี้เงินกู้ แต่เป็นค่าบริการ มีอายุความ 2 ปี
การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตกับโจทก์ก็มีความประสงค์เพื่อการชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตรวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องจากการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น ดังนั้น หนี้ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้บัญชีเดินสะพัดโดยตรง แต่เป็นการที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่จำเลยที่เป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7573/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมถือเป็นมูลหนี้ใหม่ได้
มูลคดีนี้เกิดจากที่โจทก์ยึดรถคืนมาได้โดยรถไม่อยู่ในสภาพใช้การได้ดี ซึ่งตามคำพิพากษาคดีก่อนให้จำเลยส่งมอบแก่โจทก์ในสภาพดี และราคาที่โจทก์ขายได้ก็ต่ำกว่าราคาที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนอยู่ 370,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ ความเสียหายของโจทก์ตามคำฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับต่างกัน และมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แต่เป็นมูลหนี้อันใหม่และอาศัยเหตุใหม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง: นับจากประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกที่ไม่มีผู้ประมูล จนถึงการประกาศขายใหม่
การขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่เป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดแล้ว ส่วนวันที่ 18 สิงหาคม 2543 เป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศให้มีการขายทอดตลาดครั้งแรกเท่านั้น โดยไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวจริง จะถือว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น, การบังคับจำนอง, การคิดดอกเบี้ยผิดนัด, และระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพื่อใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอด เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนวันที่ประกาศขายทอดตลาดใหม่ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายกำหนด
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 มีผลเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำนองและตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 (1) ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ย ทั้งสัญญาจำนองที่ดินก็ระบุให้ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้ง ดังนี้ วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นไม่รวมถึงหนี้ดอกเบี้ย ผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้แต่หนี้จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ การบังคับจำนองได้เพียงใดต้องพิจารณาจากหนี้ประธานว่ามีจำนวนเท่าใด ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน
of 32