คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอยืดเวลาฎีกาคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินประกัน ศาลไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยไม่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล อ้างว่าจำเลยเป็นคนอนาถาไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะวางประกันต่อศาล คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องชำระต่อศาลในการยื่นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการขอดำเนินคดีอย่างอนาถาตามมาตรา 155, 156 และเป็นคำขอที่ขัดต่อมาตรา 234 ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้อยู่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยดำเนินสืบเนื่องมาจากคำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลยเพราะหากได้รับการขยายระยะเวลาศาลก็ไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้ จึงไม่มีเหตุสมควรขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและการแก้ไขคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. การเปลี่ยนแปลงหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้มีการหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นเดือน เมื่อหักทอนบัญชีในเดือนสุดท้ายที่มีการเลิกสัญญา คือ วันที่ 30 กันยายน 2539 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ จำนวน 2,529,015.86 บาท แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นหนี้ที่คำนวณถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าหลังจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งความจริงโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ โจทก์ไม่อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้จึงมิใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: ศาลตีความคำขอท้ายฟ้อง และการเพิ่มโทษกระทงความผิด
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 159 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยได้กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ให้กล่าวมาในฟ้อง มิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมาย ที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษโดยมีคำขอท้ายฟ้องแต่เพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่เนื่องจากคำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุก มิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: การตีความคำขอท้ายฟ้อง และขอบเขตการเพิ่มโทษในกระทงต่างๆ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 159 กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบให้กล่าวมาในฟ้อง มิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมายที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ โดยมีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่คำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้ เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุกมิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ จำคุก 5 ปี ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืน ฯ จำคุก 1 ปี ความผิดของจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้แล้วย่อมต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดกระทงอื่นได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเกินดุลพินิจ - คดีขาดนัด - การคืนค่าธรรมเนียมศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าซึ่งมีหลายวิธี ทั้งการให้กู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรือด้วยวิธีอื่นใดที่สามารถทำได้ในการให้สินเชื่อหรือหลักประกันแก่ลูกค้า โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่น จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าโจทก์สามารถทำธุรกรรมการเงินกับโจทก์โดยไม่จำกัดวิธีหนึ่งวิธีใดเพียงอย่างเดียว การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ทำหนังสือรับรองวงเงินกู้ระยะสั้น และออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ซึ่งล้วนเป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อขึ้นทั้งหมดกับโจทก์ โดยมิได้แบ่งแยกว่าเป็นประกันหนี้รายใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละรายการจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบด้วยมาตรา 132 บทบัญญัติสองมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่า ให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ก็เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่มีระเบียบให้ต้องคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายรับรถเช่าซื้อ: ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจทำสัญญา หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด มีหน้าที่ส่งมอบรถและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์และลงลายมือชื่อรับมอบรถยนต์ไว้ในสัญญาเช่าซื้อล่วงหน้าโดยยังไม่ได้รับรถยนต์ไป การที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่เช่าซื้อจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบให้เป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาจดทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์จากโจทก์ โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียน ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันให้โจทก์มีหน้าที่จดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาแล้ว 9 เดือน โจทก์ยังไม่ไปดำเนินการจดทะเบียน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่งมอบรถยนต์บรรทุกโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ได้ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาและอำนาจฟ้องคดีหลักทรัพย์: การกระทำผิดสัญญาและขาดเจตนาทุจริต
ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่กำหนดให้บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ผู้กู้ยืมหรือลูกค้าวางเป็นประกันไว้ในวันทำการถัดจากวันที่อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นกรรมการไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อประกาศนั้นย่อมเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ของโจทก์ที่วางเป็นประกันลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกจะต้องดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจกท์ผู้เป็นลูกค้าในวันทำการถัดจากวันดังกล่าวตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดไป โดยจำเลยที่ 1 มีหนังสือฉบับลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ และในระหว่างนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้บริษัทสมาชิกใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบังคับขายหลักทรัพย์ของลูกค้าได้ ต่อมาวันที่ 11 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไปโดยโจทก์ไม่ได้สั่งให้ขาย โจทก์จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 กรรมการได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป แม้ในขณะที่ขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าการขายหลักทรัพย์ของโจทก์เป็นผลมาจากผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้ความว่าการขายหลักทรัพย์ของโจทก์นั้น จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่กรณีการเอาไปเสีย ทำให้เสียหายทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 309 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การไม่บังคับขายหลักทรัพย์, และความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการ โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 โดยทำสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน เมื่อมีอัตราส่วนระหว่างมูลค่าหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันทำการถัดจากวันที่มูลค่าลดลงในอัตราดังกล่าว ประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกและผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือลูกค้าโดยรวม การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ว่าหลักทรัพย์ของโจทก์ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2539 มีอัตราส่วนลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ให้โจทก์ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม โดยไม่บังคับขายหลักทรัพย์ เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าว ย่อมก่อความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับข้อหานี้จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยขณะขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นผลมาจากการผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่การเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 309 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4917-4918/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดขอบเขตฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, ทายาทรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่ฟ้องขอ, และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
การที่จำเลยร่วมอุทธรณ์ว่า ผู้ตายเป็นผู้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อแต่เพียงผู้เดียว เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นที่ฟังว่า ย. ลูกจ้างจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย อุทธรณ์ของจำเลยร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสำนวนที่ 2 มีเพียงคนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ และสมควรแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ถูกต้อง เหตุที่รถยนต์บรรทุกที่ ย. ขับเสียหลักแล่นไปชนรถยนต์โดยสารของโจทก์ที่ 1 เป็นเพราะผู้ตายขับรถยนต์เก๋งแล่นล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถเข้าไปชนรถยนต์บรรทุกก่อน ดังนั้น ย. จึงไม่ได้ขับรถประมาท เหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดความประมาทเลินเล่อของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่ ย. ขับรถด้วยความเร็วสูง หรือขับรถยนต์บรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 32