คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานเดิมที่ทราบอยู่แล้ว
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องเป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ทั้งผู้ร้องเพิ่งจะยื่นฟ้อง ม. เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 56(1)
ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องบ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องบ้างและเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องซึ่งอยู่กับผู้ร้องในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องจะอ้างมาเป็นเหตุให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5(3) ได้ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการแต่งตั้งทนายความ – กระบวนการสอบถามก่อนพิจารณา – ความไม่ชอบของกระบวนพิจารณา
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวในวันสอบคำให้การของจำเลย แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นการแต่งตั้งทนายความหลังจากศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2), มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยโจทก์มีสัญญากู้ยืมมาแสดง ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจึงครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301-6304/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท, การบอกเลิกสัญญาเช่านา, และอำนาจฟ้องของมิสซัง
จำเลยทั้งสี่เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์และอ้างว่าได้ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์กับแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยทั้งสี่แล้ว จำเลยทั้งสี่จะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้แสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการครอบครองเกิน 1 ปี มายันโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การเป็นประเด็นไว้มาด้วยก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. ว่าด้วยลักษณะ ฐานะ ของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ข้อ 5 บัญญัติว่า มิสซังจะร้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินได้แต่ในชื่อของมิสซังเองนั้น มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการห้ามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้เช่าที่ดินของโจทก์ หรือบุคคลที่มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในหนังสือสำหรับที่ดินหรือโฉนดที่ดินในเรื่องที่เกี่ยวกับที่ดินนั้น แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มาเบิกความรับรองต้นฉบับและส่งสำเนาเป็นพยานหลักฐานแทนโดยรับต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงคืนไป จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้ถามค้านหรือโต้แย้งคัดค้าน จึงยังไม่ได้ความว่าต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไว้เป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกส่วนหนึ่ง แต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสี่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่าการเช่าที่ดินพิพาทเป็นการเช่านาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และโต้แย้งค่าเสียหายของโจทก์ไม่เกินปีละ 500 บาท ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ข้อโต้แย้งดังกล่าวอยู่ในส่วนคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และเป็นคดีที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยทั้งสี่ฎีกาคำสั่ง โดยขอให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเพิ่มเติมมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่าได้เปลี่ยนลักษณะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ประกอบกับฎีกาของจำเลยทั้งสี่ข้ออื่นไม่มีปัญหาโต้แย้งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาท ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเพิ่มเติมมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ให้จำเลยทั้งสี่ กรณีเป็นไปตามคำขอของจำเลยทั้งสี่แล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาคำสั่งของจำเลยทั้งสี่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการฎีกา: การตรวจสอบขอบเขตอำนาจตามใบแต่งทนายความ
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาคดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่จำเลยปฏิเสธการเช่าและอ้างที่ดินสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จะให้การมาด้วยว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้องซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทกับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่เข้าข่ายข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะอ้างว่าพิพาทเรื่องประเภทที่ดิน
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะให้การมาด้วยว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริง เกินอำนาจศาลฎีกาในปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ขอรังวัดที่ดินปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระคืนค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด และแก้ไขค่าทนายความเกินอัตรา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกับที่ดินของจำเลย สิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้รุกกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว
of 32