คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ทาวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินปลอม การกู้เงินจริงไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุในสัญญา ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวและแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 ฎีกายกเหตุดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมปลอมและผลต่อการบังคับคดี การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้โดยไม่ยินยอม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์เพียง 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลังเกินกว่าจำนวนเงินกู้ที่แท้จริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายเช็คและการปฏิเสธความรับผิด
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 เมื่อจำเลยทั้งสองปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน: การฟ้องแย้งความเป็นเจ้าของและข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ประเด็นที่โจทก์ จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมโต้เถียงกันในชั้นฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณประโยชน์ โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์ จำเลยร่วมย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาและจัดการตามกฎหมาย อันมีผลให้จำเลยทั้งห้ามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการด้วย ดังนั้น ประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมได้ตามคำให้การ รวมทั้งประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยึดครองที่ดินสาธารณะมีขึ้นตลอดระยะเวลาการครอบครอง แม้จะเกิน 10 ปี ก็ไม่ขาดอายุความ
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมมีขึ้น ตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินอยู่ แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน 10 ปี คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต่อเนื่อง และไม่ขาดอายุความ
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมมีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่ เมื่อปรากฏว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ ดังนั้น แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากเด็กเพื่อการอนาจารและการกระทำชำเราเด็ก โดยการอุ้มเด็กจากที่สาธารณะเข้าบ้าน
ป.อ. มาตรา 317 วรรคหนึ่ง มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล แม้ผู้เสียหายที่ 1 นั่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านของจำเลย แต่ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิจะพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังที่ใดโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม การที่จำเลยมาอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านพาไปห้องนอนแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อวัยวะเพศจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ผู้เสียหายอยู่ใกล้ผู้ปกครองแล้ว
ป.อ. มาตรา 371 วรรคแรก มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล การที่จำเลยอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านพาไปห้องนอนแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 และได้ความจากแพทย์ผู้ตรวจพิสูจน์ผู้เสียหายที่ 1 ว่าพบเยื่อพรหมจารีฉีกขาด ดังนี้ แสดงว่าอวัยวะเพศของจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ แต่โจทก์ไม่ต้องอาศัยสัญญาเป็นหลักฐาน จึงใช้ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยตามสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าและครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยให้การว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าโดยเข้าใจว่าเป็นสัญญาเช่านา คำให้การของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าจริง แม้สัญญาเช่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากรฯ ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ไม่จำต้องอาศัยสัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐาน จึงไม่จำต้องติดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อบุพการี: การตีความมาตรา 1562 ป.พ.พ.
จำเลยที่ 1 กับมารดาโจทก์ทั้งสองอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2480 อันเป็นเวลาภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
of 32